ข้ามไปเนื้อหา

เหล่านาวิกโยธินเนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหล่านาวิกโยธินเนเธอร์แลนด์
คอปส์มาริเนียส์
สัญลักษณ์และเครื่องหมายของเหล่านาวิกโยธิน
ประจำการ10 ธันวาคม ค.ศ. 1665 – ปัจจุบัน
(359 ปี)
ประเทศ เนเธอร์แลนด์
เหล่าNaval flag of เนเธอร์แลนด์ กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์
รูปแบบทหารราบทางเรือ
การปฏิบัติการพิเศษ
บทบาทกองกำลังนอกประเทศ
กองกำลังตอบโต้เร็ว
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
กำลังรบประมาณ 2,000 นาย
กองบัญชาการชุดรบนาวิกโยธิน 1 – ดอร์น
ชุดรบนาวิกโยธิน 2 – ดอร์น
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ – ดอร์น
ฝูงบินจู่โจมที่ 32 – อารูบา
ชุดจู่โจมผิวน้ำและการฝึก (SATG) – เทกเซล
สมญา"ปีศาจดำ", “คนเหล็ก”
คำขวัญกัวปาเตตอร์บิส ("เท่าที่โลกกว้าง")
สีหน่วยกรมท่า, แดง
วันสถาปนา10 ธันวาคม ค.ศ. 1665
ปฏิบัติการสำคัญสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง
สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
ยุทธนาวีที่เทกเซล
ยุทธการที่เซเนฟเฟ
ยุทธนาวีที่ดอกเกอร์แบงก์
การบอมบาร์ดที่แอลเจียร์
รอตเทอร์ดามบลิทซ์
ยุทธนาวีที่ทะเลชวา
ยุทธการที่เกาะชวา
สงครามอิรัก
สงครามในอัฟกานิสถาน
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบัน พลจัตวา เจฟ แมค มูทรี
ผบ. สำคัญวิลเลม โยเซฟ ฟอน เกห์น

เหล่านาวิกโยธินเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Korps Mariniers; อังกฤษ: Netherlands Marine Corps) เป็นส่วนเสริมของทหารราบชั้นยอดแห่งกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ หน่วยนี้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพิเศษ, ปฏิบัติการภายใต้สภาวะที่รุนแรงอย่างยิ่ง และการสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก เหล่านาวิกโยธินเนเธอร์แลนด์เป็นกองกําลังตอบโต้เร็วที่สามารถกรีธาพลสู่สถานที่ใด ๆ ในโลกภายในสูงสุด 48 ชั่วโมง คำขวัญของพวกเขาคือกัวปาเตตอร์บิส ("เท่าที่โลกกว้าง")

ประวัติ

[แก้]

เหล่าได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1665 ในช่วงสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองโดยนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐดัตช์ โยฮัน เดอ วิตต์ และพลเรือเอก มิชีล เดอ รายเตอร์ ในฐานะกรมนาวิกโยธิน ซึ่งมีผู้บัญชาการคือวิลเลม โยเซฟ ฟอน เกห์น ชาวดัตช์ประสบความสำเร็จโดยการใช้ทหารสามัญในเรือทางทะเลในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่ง โดยเป็นหน่วยนาวิกโยธินยุโรปหน่วยที่ห้าที่ได้รับการก่อตัว ที่มีก่อนหน้าโดยอินฟันเตริอาเดมารินาของสเปน (ค.ศ. 1537), เหล่านาวิกโยธินโปรตุเกส (ค.ศ. 1610), ทรูปเดอมารีนของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1622) และราชนาวิกโยธินของอังกฤษ (ค.ศ. 1664) แต่เป็นเหล่าแรกในประวัติศาสตร์มีความเชี่ยวชาญในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์มีหลายช่วงเวลาที่นาวิกโยธินถูกยุบ ซึ่งเนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การยึดครองหรือควบคุมของฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1810 ถึง ค.ศ. 1813 หน่วยนาวิกโยธินใหม่ได้รับการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1801 ในช่วงเวลาของสาธารณรัฐบาตาเวียน และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1806 เหล่าแกรนาเดียร์หลวงแห่งกองทัพเรือ (Korps Koninklijke Grenadiers van de Marine) ได้รับการตั้งขึ้นภายใต้กษัตริย์ หลุยส์ โบนาปาร์ต ส่วนเหล่านาวิกโยธินเนเธอร์แลนด์สมัยใหม่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1814 โดยได้มาซึ่งชื่อปัจจุบันในปี ค.ศ. 1817

การรบแห่งเกียรติยศตามธงของเหล่านาวิกโยธินนี้ได้แก่:

  • สเปน - แอลเจียร์
  • หมู่เกาะเวสต์อินดีส
  • เซเนฟเฟ
  • คิกดูอิน - ดอกเกอร์แบงก์
  • บาหลี - อาเจะฮ์
  • ชาแธม
  • รอตเทอร์ดาม
  • ทะเลชวา
  • เกาะขวาและเกาะมาดูรา
  • นิวกินี
  • เฮลมานด์, กันดะฮาร์ และอูรัสกัน
การตีโฉบฉวยชาแธม ซึ่งเป็นการปฏิบัติการครั้งแรกของนาวิกโยธินดัตช์ในปี ค.ศ. 1667

ในปี ค.ศ. 1667 เหล่าได้รับการนำโดยฟาน เกนต์ ซึ่งเป็นพลเรือเอกในขณะนั้น และผู้บัญชาการคนใหม่ของพวกเขาคือพันเอก ทอมัส ดอลมาน ที่เกิดในประเทศอังกฤษ กรมนาวิกโยธินมีบทบาทสำคัญในการตีโฉบฉวยของฝ่ายดัตช์ นั่นคือ "การตีโฉบฉวยเมดเวย์" ในประเทศอังกฤษ (วันที่ 10–14 มิถุนายน) ซึ่งการรบแห่งเกียรติยศของเหล่าที่ "ชาแธม" นับเป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่หน่วยต่างชาติเคยได้รับชัยชนะในประเทศอังกฤษ ส่วนการโจมตีป้อมปราการแลนด์การ์ดใกล้กับฮาร์วิชเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ปฏิบัติการโดยนาวิกโยธิน 1,500 นายหลังจากยกพลขึ้นบกที่วูดริชนั้น ได้ถูกกองทหารรักษาการณ์ของป้อมปราการขับไล่

อ้างอิง

[แก้]
  • Beknopte geschiedenis Korps Mariniers
  • Klein, Edwin,'The Dutch Marines and the Indonesian Problem', Marine Corps Gazette, Aug 1946.
  • Dorren, C.J.O., De geschiedenis van het Nederlandsche Korps Mariniers van 1665–1945, 's Gravenhage, 1948.
  • Coox, Alvin D., 'The Dutch Invasion of England: 1667', Military Affairs, Vol. 13 No. 4, Winter 1949, pp. 223–233.
  • Dorren, C.J.O., 'Een historische terugblik op de ontsluiting van Japan na de maritieme strafexpedities tegen Kagoshima en Simonoseki (1863–1864)', Marineblad, 1950.
  • Edwards, H. W., 'Netherlands Korps Mariniers', Marine Corps Gazette, Sep 1953.
  • Dorren, C.J.O., Onze mariniersbrigade (1945–1949). Een veelbewogen episode in de korpsgeschiedenis, 's Gravenhage, 1955.
  • Strandberg. Carl, 'Netherlands Marines', Marine Corps Gazette, Dec 1961.
  • Bosscher, Ph. M., 'De gezantschapswacht te Peking', Marineblad, Vol. 75, 1965, pp. 1145–1198.
  • Middelhoff, A.J.M., 'De geschiedenis van het 1ste Bataljon Marinetroepen', Marineblad, Vol. 79, 1969, pp. 627–642.
  • de Korver, Michael, 'Royal Netherlands Marines belong to the world's second oldest marine corps', Marine Corps Gazette, Feb 1979.
  • Scharfen, 'Het Korps Mariniers' (interview), Marine Corps Gazette, Oct 1987.
  • Schoonoord, D.C.L., De Mariniersbrigade 1943–1949 Wording en inzet in Indonesië, Instituut voor Maritieme Historie, The Hague, 1988.
  • van Holst-Pellekaan, R.E., de Regst, I.C. and Bastiaans, I.F.J, Patrouilleren voor de Papoea's: de Koninklijke Marine in Nederlands Nieuw-Guinea 1945–1960, Amsterdam, 1989.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]