เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในมารีอูปอล
เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาล ในมารีอูปอล | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การล้อมมารีอูปอล | |
ความเสียหายที่เกิดกับโรงพยาบาลหลังจากถูกโจมตี | |
สถานที่ | โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 3 มารีอูปอล ยูเครน |
พิกัด | 47°05′47″N 37°32′01″E / 47.09645°N 37.53373°E |
วันที่ | 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 ประมาณ 16:30 น.[1] (UTC+2) |
ประเภท | การโจมตีทางอากาศ |
อาวุธ | อาจเป็นระเบิดทางอากาศฟับ-1000[2] |
ตาย | 4 ราย กับทารกตายคลอด 1 ราย |
เจ็บ | อย่างน้อย 17 ราย |
ผู้ก่อเหตุ | กองทัพรัสเซีย |
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 ระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย กองทัพอากาศรัสเซียได้ทิ้งระเบิดใส่ โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 3 เมืองมารีอูปอล ประเทศยูเครน[3] โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นศูนย์การแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งโรงพยาบาลเด็กและหอผู้ป่วยสูติกรรม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 16 ราย และนำไปสู่การตายคลอดอย่างน้อย 1 ราย[4]
วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน,[5] ฌูแซ็ป บูร์เร็ลย์ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ[4] และเจมส์ ฮีปปีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมด้านกองทัพสหราชอาณาจักร[6] ระบุว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นอาชญากรรมสงคราม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียและกระทรวงกลาโหมรัสเซียแย้งว่าการโจมตี โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 3 มีเหตุอันสมควรเนื่องจาก โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 1 ถูกใช้เป็นฐานที่มั่นของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายยูเครน[7][8] ตามที่วาซีลี เนเบนเซีย ผู้แทนรัสเซียประจำสหประชาชาติ ได้อ้างไว้ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม[3][9] องค์การสื่อหลายแห่งพิจารณาว่าคำกล่าวอ้างต่าง ๆ ของรัสเซียเป็นเท็จ[10]
รายงานฉบับหนึ่งขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) สรุปว่าการโจมตีทางอากาศครั้งนี้เป็นอาชญากรรมสงครามของรัสเซีย
ภูมิหลัง
[แก้]ใน พ.ศ. 2565 ระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย กองกำลังรัสเซียและกองกำลังผู้สนับสนุนรัสเซียได้ปิดล้อมเมืองมารีอูปอล ในที่สุดก็มีการตกลงกันระหว่างทางการรัสเซียกับทางการยูเครนที่จะเปิดระเบียงมนุษยธรรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการอพยพพลเรือนออกจากมารีอูปอลและอีกสี่เมืองของยูเครนเมื่อวันที่ 9 มีนาคม[11][ต้องการการอัปเดต]
การทิ้งระเบิด
[แก้]โรงพยาบาลเด็กและผดุงครรภ์แห่งหนึ่งในมารีอูปอล (โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 3)[3] ถูกกองกำลังรัสเซียทิ้งระเบิดใส่หลายครั้งจากทางอากาศแม้จะมีข้อตกลงหยุดยิงอยู่ก็ตาม[11][12]
ทางการยูเครนบรรยายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลว่า "มหาศาล" คลิปวิดีโอต่าง ๆ หลังการโจมตีแสดงให้เห็น "ส่วนใหญ่ของด้านหน้าอาคาร ... ถูกทำลาย" และ "รถยนต์ถูกไฟไหม้และพังยับเยินอยู่ด้านนอก"[11] หอผู้ป่วยต่าง ๆ ในโรงพยาบาล "เหลือเพียงซากปรักหักพัง กำแพงถล่มลงมา อุปกรณ์การแพทย์ถูกเศษอาคารหล่นทับ หน้าต่างถูกระเบิด และเศษกระจกกระจายไปทั่ว"[12]
ผู้ประสบภัย
[แก้]เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 ผู้ว่าการแคว้นดอแนตสก์ระบุว่ามีผู้บาดเจ็บ 17 รายจากเหตุโจมตี ในจำนวนนี้มีหญิงที่รอคลอดรวมอยู่ด้วย[11][13] ออแลกซันดรา ชแชแบต นักประสาทวิทยา กล่าวว่า "ผู้หญิง ทารกแรกเกิด และเจ้าหน้าที่การแพทย์ถูกสังหาร"[12] เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ทางการท้องถิ่นระบุว่ามีเด็กหญิง 1 รายและผู้ใหญ่อีก 2 รายเสียชีวิตจากเหตุโจมตี[4]
อีรีนา กาลีนีนา[14] หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่ง ได้รับการเคลื่อนย้ายส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นหลังจากถูกถ่ายภาพหลังเกิดเหตุ เธอได้รับบาดเจ็บหลายแห่งรวมถึงกระดูกเชิงกรานหักและสะโพกหลุด แพทย์ต้องผ่าตัดช่วยชีวิตแม่ลูกใต้แสงเทียน[15] อย่างไรก็ตาม อาการบาดเจ็บเหล่านั้นส่งผลให้ทารกในครรภ์ตายคลอด[16] และกาลีนีนาก็เสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน
มารีอันนา วืยเชมีร์สกายา หญิงตั้งครรภ์อีกรายหนึ่งที่ถูกถ่ายภาพหลังเกิดเหตุ คลอดลูกสาวในวันรุ่งขึ้น[17] ในช่วงต้นเดือนเมษายน วืยเชมีร์สกายาได้ถ่ายวิดีโอการสัมภาษณ์ที่ซึ่งเธอกล่าวว่าโรงพยาบาลไม่ได้ถูกโจมตีทางอากาศ แต่ "ถูกยิงใส่" เอพีอธิบายว่าคำกล่าวของเธอขัดแย้งกับหลักฐาน[18] ต่อมาวืยเชมีร์สกายาให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีในเดือนพฤษภาคม เธอกล่าวว่าขณะนั้นโรงพยาบาลกำลังเปิดทำการและไม่มีทหารยูเครนประจำการอยู่ในตึกผดุงครรภ์ ซึ่งขัดแย้งกับคำกล่าวอ้างของรัสเซียที่ว่าโรงพยาบาลไม่ได้เปิดทำการและถูกทหารเข้าควบคุมอยู่ก่อนแล้ว[19]
การอ้างว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม
[แก้]ฌูแซ็ป บูร์เร็ลย์ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ กล่าวว่าเหตุโจมตีดังกล่าวเป็นอาชญากรรมสงคราม[4] เจมส์ ฮีปปีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมด้านกองทัพสหราชอาณาจักร กล่าวว่าไม่ว่าการโจมตีโรงพยาบาลจะมาจากการยิงโดยไม่เลือกเป้าหมายหรือมาจากการกำหนดเป้าหมายโดยเจตนา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ "เป็นอาชญากรรมสงคราม" อยู่ดี[6] บรรดาผู้นำยูเครนสะท้อนความรู้สึกคล้ายกัน[5]
ปฏิกิริยา
[แก้]ยูเครน
[แก้]แซร์ฮีย์ ออร์ลอว์ รองนายกเทศมนตรีนครมารีอูปอล กล่าวว่า "เราไม่เข้าใจว่าการทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไรในโลกปัจจุบัน"[12] สภานครมารีอูปอลกล่าวว่ารัสเซียจงใจใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาล[12] แซแลนสกึยอ้างว่าเหตุโจมตีครั้งนี้เป็น "ข้อพิสูจน์ว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยูเครนกำลังเกิดขึ้น"[5] แซร์ฮีย์ ออร์ลอว์ รองนายกเทศมนตรีนครมารีอูปอล บรรยายว่าเหตุโจมตีครั้งนี้เป็นทั้งอาชญากรรมสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[20]
รัสเซีย
[แก้]เมื่อวันที่ 10 มีนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าวว่าเหตุโจมตีครั้งนี้มีเหตุอันสมควร ตามคำกล่าวของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ อูกรายินสกาเปราดา นั้น เซียร์เกย์ ลัฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ยืนยันแล้วว่าการทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เขากล่าวว่า "เมื่อไม่กี่วันก่อน ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะผู้แทนของรัสเซียได้นำเสนอข้อมูลว่าโรงพยาบาลผดุงครรภ์แห่งนี้ถูกกองพันอะซอฟและกลุ่มหัวรุนแรงอื่น ๆ เข้ายึดครองไว้นานแล้ว และผู้หญิงทุกคนที่รอคลอด พยาบาลทุกคนและในภาพรวมเจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับแจ้งแล้วว่าให้ออกมา มันเป็นฐานที่มั่นของกองพันอะซอฟหัวรุนแรง"[7] อีกอร์ โคนาเชนคอฟ โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย กล่าวว่า "เครื่องบินทหารของรัสเซียไม่ได้ปฏิบัติภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินใด ๆ ในพื้นที่มารีอูปอล" และกล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็น "การจัดฉากยั่วยุเพื่อหล่อเลี้ยงเสียงโวยวายของสาธารณชนที่ต่อต้านรัสเซียในหมู่ผู้รับสื่อชาวตะวันตก"[8] ก่อนหน้านี้กองทัพรัสเซียอ้างว่ากองพันอะซอฟและกองพันอัยดาร์ได้ "ยิงอาวุธ" ออกมาจาก "โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงเรียนอนุบาล" ในมารีอูปอล[21]
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 บัญชีทวิตเตอร์ของสถานทูตรัสเซียประจำสหราชอาณาจักรได้ทวีตอ้างว่าเหตุโจมตีโรงพยาบาลในมารีอูปอลเป็น "เรื่องโกหก" และระบุว่ามารีอันนา วืยเชมีร์สกายา (หนึ่งในหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกถ่ายภาพหลังเกิดเหตุ) เป็น "นักแสดง" โดยอ้างถึงอาชีพบล็อกเกอร์ของเธอ ทวิตเตอร์ลบทวีตดังกล่าวออกโดยให้เหตุผลว่าละเมิดข้อบังคับของเครือข่าย บรรดานักการเมืองสหราชอาณาจักรยินดีกับการเคลื่อนไหวดังกล่าวและกล่าวหาสถานทูตรัสเซียว่าให้ข้อมูลเท็จ[18][22][23]
เว็บไซต์ข่าว เมดูซา ระบุว่าเมื่อวันที่ 7 มีนาคม วาซีลี เนเบนเซีย ผู้แทนรัสเซียประจำสหประชาชาติ ได้เอ่ยถึง โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 1 (47°08′20″N 37°36′12″E / 47.13892°N 37.60337°E) ว่าเป็นโรงพยาบาลที่เขาอ้างว่ากองกำลังติดอาวุธยูเครนใช้เป็นจุดยิงอาวุธ ไม่ใช่ โรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 3 (47°05′47″N 37°32′01″E / 47.09645°N 37.53373°E) เมดูซา อธิบายว่าลัฟรอฟเข้าใจสับสนระหว่าง โรงพยาบาลหมายเลข 1 ที่เนเบนเซียอ้างถึง กับโรงพยาบาลที่ถูกทิ้งระเบิดซึ่งก็คือ โรงพยาบาลหมายเลข 3[3][9]
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 อะเลคซันดร์ เนฟโซรอฟ นักข่าวชาวรัสเซีย ถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมาย "ข้อมูลเท็จ" ของรัสเซียหลังจากที่เขาเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่รัสเซียยิงใส่โรงพยาบาลในมารีอูปอล[24] ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม เขาอาจถูกตัดสินจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี[25]
นานาชาติ
[แก้]บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร บรรยายเหตุโจมตีครั้งนี้ว่า "เลวทราม"[11] เจน ซากี เลขาธิการสื่อมวลชนของประธานาธิบดีโจ ไบเดิน แห่งสหรัฐ กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่าสะเทือนขวัญที่ได้เห็น ... การใช้กำลังทหารอย่างป่าเถื่อนเพื่อไล่ล่าพลเรือนบริสุทธิ์ในประเทศเอกราช"[11] ฌูแซ็ป บูร์เร็ลย์ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ บรรยายว่าเหตุโจมตีครั้งนี้เป็น "อาชญากรรมสงครามที่ชั่วร้าย"[4] ปีเอโตร ปาโรลิน พระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งนครรัฐวาติกัน แสดงความไม่สบายใจกับเหตุทิ้งระเบิดโดยเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "การโจมตีพลเรือนที่ไม่อาจยอมรับได้"[26] อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่าเหตุโจมตีครั้งนี้เป็น "เหตุสะเทือนขวัญ" และ "ความรุนแรงที่ไร้เหตุผลนี้ต้องยุติ"[27]
เหตุทิ้งระเบิดครั้งนี้ได้รับการประณามอย่างกว้างขวางในสื่อต่างประเทศ เช่น เดลีมีร์เรอร์ และ ดิอินดีเพ็นเดนต์ กล่าวถึงการกระทำดังกล่าวว่า "ป่าเถื่อน" เดลีเอกซ์เพรสส์ และ เดลีเมล เรียกการกระทำนั้นว่า "เลวทราม" ในขณะที่ เดอะการ์เดียน, ไฟแนนเชียลไทมส์ และ เอลปาอิส บรรยายการกระทำนั้นว่า "โหดร้าย"[28][29] หนังสือพิมพ์อิตาลี อิลโจร์นาเล กล่าวว่าปูตินเป็น "อาชญากรสงคราม" ในขณะที่ ลาเรปุบบลีกา ประณาม "การตายของผู้บริสุทธิ์"[30][31]
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม จีร์ยาโกส มิตโซตาจิส นายกรัฐมนตรีกรีซ ทวีตว่ากรีซ "พร้อมที่จะสร้างโรงพยาบาลผดุงครรภ์ขึ้นใหม่ในมารีอูปอล ศูนย์กลางของชนกลุ่มน้อยชาวกรีกในยูเครน เมืองอันเป็นที่รักของพวกเรา และสัญลักษณ์ของความป่าเถื่อนของสงคราม"[32]
รายงานของโอเอสซีอี
[แก้]เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565 องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) เผยแพร่รายงานซึ่งครอบคลุมการโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในมารีอูปอล โดยยืนยันว่าโรงพยาบาลผดุงครรภ์หมายเลข 3 มีขอบเขตที่ตั้งระบุได้ชัดเจนและยังคงเปิดทำการในฐานะศูนย์การแพทย์ในขณะเกิดเหตุ ดังนั้นกองกำลังรัสเซียจึงได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น
... คณะทำงานจึงสรุปว่าโรงพยาบาลถูกทำลายจากการโจมตีของรัสเซีย เมื่อพิจารณาคำอธิบายของฝ่ายรัสเซียแล้ว การโจมตีครั้งนี้ต้องเกิดขึ้นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ไม่มีการเตือนล่วงหน้าอย่างเหมาะสมและไม่มีการกำหนดกรอบเวลา [สำหรับการอพยพ] การโจมตีครั้งนี้จึงเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างชัดเจน และผู้ที่รับผิดชอบการโจมตีดังกล่าวได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น[33]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Під час обстрілу пологового будинку в Маріуполі поранення отримали 17 людей" (ภาษายูเครน). Українська правда. 2022-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ "Вирва від удару некерованою бомбою по пологовому будинку в Маріуполі. Відео" (ภาษายูเครน). Цензор.нет. 2022-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Definitely not 'staged' – False allegations about the maternity hospital airstrike in Mariupol, debunked". Meduza. 2022-03-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-13. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Sandford, Alasdair (2022-03-10). "Ukraine war: Russian attack on Mariupol hospital a 'heinous war crime', says EU's Borrell". Euronews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Zelenskyy, Volodymyr (2022-03-10). "Everything that occupiers doing with Mariupol is beyond atrocities – Zelensky's address (full text)". Ukrinform. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ 6.0 6.1 Maloletka, Evgeniy; Chernov, Mstyslav (2022-03-10). "Russian airstrike on Mariupol children's hospital sparks global outrage". Global News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-11.
- ↑ 7.0 7.1 "Lavrov confirms Russia deliberately bombed maternity hospital in Mariupol". Ukrayinska Pravda. 2022-03-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ 8.0 8.1 "Russian troops don't hit hospital in Mariupol, it's Kyiv's information provocation - Russian Defense Ministry". Interfax. 2022-03-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ 9.0 9.1 Nebenzya, Vasily (2022-03-07). "Выступление и ответное слово Постоянного представителя В.А.Небензи на заседании СБ ООН по гуманитарной ситуации на Украине" [Statement and response by Permanent Representative Nebenzya to the UN Security Council meeting on the humanitarian situation in Ukraine]. Permanent Representative of Russia to the United Nations (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ Sadeghi, McKenzie. "Fact check: Baseless claims that Russian attack on Mariupol hospital was 'staged'". USA TODAY.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 "Ukraine accuses Russia of bombing children's hospital in Mariupol". Al Jazeera English. 2022-03-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Ward, Victoria (2022-03-09). "'Atrocity' as maternity hospital in besieged Mariupol destroyed by Russian air strikes". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ Sangal, Aditi; Vogt, Adrienne; Wagner, Meg; Ramsay, George; Guy, Jack; Regan, Helen (2022-03-10). "Russian forces bombed a maternity and children's hospital. Here's what we know about the siege of Mariupol". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-11.
Police in the Donetsk region said according to preliminary information at least 17 people were injured, including mothers and staff. Ukraine's President said authorities were sifting through the rubble looking for victims.
- ↑ "Ukraine War: Refugee tells of wife's death after maternity hospital bombing". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2023-05-12.
- ↑ Bogner, Matilda (25 March 2022). "Situation in Ukraine. Statement delivered by the Head of Human Rights Monitoring Mission in Ukraine on the situation in Ukraine". Office of the High Commissioner for Human Rights.
- ↑ "Ukraine war: Pregnant woman and baby die after hospital shelled". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-03-14. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
- ↑ "Ukraine war: Mariupol hospital attack: Pregnant woman hurt in bombing gives birth". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-03-14. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
- ↑ 18.0 18.1 Tulp, Sophia (2022-04-03). "Ukraine blogger video fuels false info on Mariupol bombing". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
- ↑ Spring, Marianna (17 May 2022). "Marianna Vyshemirsky: 'My picture was used to spread lies about the war'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 May 2022.
- ↑ Harding, Luke; Borger, Julian; Henley, Jon (2022-03-09). "Children under rubble after Russian airstrike on maternity hospital, says Zelenskiy". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ "Nationalists in Mariupol setting up emplacements in schools, hospitals — Russian top brass". TASS. 5 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022. สืบค้นเมื่อ 11 March 2022.
- ↑ Dan Milmo, Hibaq Farah (March 10, 2022). "Twitter removes Russian embassy tweet on Mariupol bombing". Guardian. สืบค้นเมื่อ March 11, 2022.
- ↑ Alexandra White in New York. "Pregnant woman caught in air strike on Mariupol hospital dies". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
- ↑ "Russia: Authorities launch witch-hunt to catch anyone sharing anti-war views". Amnesty International. 30 March 2022.
- ↑ "Top Russian Journalist Defiant in Face of Fake News Investigation". VOA News. 23 March 2022.
- ↑ "Ukraine: Cardinal Parolin 'dismayed' at bombing of children's hospital - Vatican News". Vatican News (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ "Invasion of Ukraine: Neighbours struggle with refugee influx; UN expresses 'horror' at Mariupol hospital attack". UN News. March 9, 2022. สืบค้นเมื่อ March 11, 2022.
- ↑ "Friday's national newspaper front pages". Sky News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ "Periódicos de España. Toda la prensa de hoy. Kiosko.net". es.kiosko.net (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ "3 La Repubblica". Il Post (ภาษาอิตาลี). 2022-03-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ "[Nazionale - 1] Giorn/Interni/Pag-Prima ... 10/03/22". Il Post (ภาษาอิตาลี). 2022-03-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-11. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
- ↑ Mayer, Emma (18 March 2022). "Greece Offers To Rebuild Mariupol Maternity Hospital After Russian Bombing". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
- ↑ OSCE, April 13, 2022, pp. 46–47
รายงาน
[แก้]- Wolfgang Benedek, Veronika Bílková, Marco Sassòli (April 13, 2022). "Report on Violations of international Humanitarian and Human Rights Law, War Crimes and Crimes against Humanity Committed in Ukraine since 24 February 2022" (PDF). Organization for Security and Co-operation in Europe. Warsaw.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)