ข้ามไปเนื้อหา

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international humanitarian law, ย่อ: IHL) หรือกฎหมายการขัดกันด้วยอาวุธ (อังกฤษ: law of armed conflict) เป็นกฎหมายซึ่งวางระเบียบจรรยาแห่งการขัดกันด้วยอาวุธ (jus in bello) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศสาขาหนึ่งซึ่งมุ่งจำกัดผลแห่งการขัดกันด้วยอาวุธโดยการคุ้มครองบุคคลซึ่งมิได้หรือไม่มีส่วนในความเป็นศัตรูกันอีก และโดยการจำกัดและวางระเบียบวิธีการและระเบียบวิธีแห่งการสงครามที่พลรบใช้ได้ IHL ได้แรงบันดาลใจจากความเห็นใจผู้อื่นของมนุษยชาติและการบรรเทาความทุกข์ของมนุษย์ "มัน [กฎหมายนี้] ประกอบด้วยชุดกฎ ซึ่งสถาปนาโดยสนธิสัญญาหรือจารีตประเพณี ซึ่งมุ่งคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สิน/วัตถุซึ่ง (หรืออาจ) ได้รับผลจากการขัดกันด้วยอาวุธและจำกัดสิทธิของภาคีการขัดกันในวิธีการและระเบียบวิธีของการสงครามตามที่เลือก" กฎหมายนี้รวม "อนุสัญญาเจนีวาและอนุสัญญากรุงเฮก ตลอดจนสนธิสัญญา หลักกฎหมายที่ถือเอาคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานและกฎหมายระหว่างประเทศจารีตประเพณีภายหลัง" กฎหมายนี้นิยามจรรยาและความรับผิดแห่งชาติคู่สงคราม ชาติเป็นกลาง และปัจเจกบุคคลที่เข้าร่วมการสงครามต่อกันเและต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งปกติหมายถึงพลเรือน กฎหมายนี้ได้รับการออกแบบให้ดุลความกังวลทางมนุษยธรรมและความจำเป็นทางทหาร และให้การสงครามอยู่ภายใต้บังคับแห่งหลักบังคับแห่งกฎหมายโดยการจำกัดผลทำลายล้างและบรรเทาความทุกข์ของมนุษย์

การละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง เรียก อาชญากรรมสงคราม กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (jus in bello) วางระเบียบจรรยาของกำลังเมื่อเข้าสู่สงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธ ต่างจากสิทธิที่จะก่อสงคราม (jus ad bellum) ซึ่งวางระเบียบจรรยาการเข้าสู่สงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธและรวมอาชญากรรมต่อสันติภาพและสงครามการรุกราน ทั้ง jus in bello และ jus ad bellum รวมกันประกอบเป็นกฎหมายสงครามสองสายซึ่งปกครองการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศทุกส่วน

กฎหมายดังกล่าวบังคับแก่ชาติที่ถูกผูกมัดโดยสนธิสัญญาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีกฎสงครามไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจารีตประเพณีอื่นอีก มีการเสาะกฎเหล่านี้จำนวนมากในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก โดยการขยาย กฎเหล่านี้ยังนิยามทั้งสิทธิซึ่งมอบให้ของอำนาจเหล่านี้ ตลอดจนการห้ามจรรยาของอำนาจเหล่านั้นเมื่อจัดการกับกำลังนอกแบบและประเทศที่ไม่เป็นภาคีสนธิสัญญา

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศใช้การแบ่งอย่างเข้มงวดระหว่างกฎซึ่งใช้ได้กับการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศและกฎที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันด้วยอาวุธไม่ระหว่างประเทศ การแบ่งนี้ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง

สองกระแสประวัติศาสตร์หลัก

[แก้]

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทษสมัยใหม่ประกอบขึ้นจากสองกระแสประวัติศาสตร์ (historical stream) หลัก ได้แก่

  • กฎหมายกรุงเฮก อดีตเรียก กฎหมายการสงคราม และ
  • กฎหมายเจนีวา หรือกฎหมายมนุษยธรรม

สองกระแสได้ชื่อมาจากการประชุมระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งซึ่งร่างสนธิสัญญาเกี่ยวกับสงครามและการขัดกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเฮกปี 1899 และ 1907 และอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งร่างขึ้นครั้งแรกในปี 1863 ทั้งสองเป็นสาขาของ jus in bello กฎหมายระหว่างประเทว่าด้วยการปฏิบัติที่ยอมรับได้ขณะเข้าร่วมสงครามและการขัดกันด้วยอาวุธ

กฎหมายกรุงเฮก หรือกฎหมายการสงคราม "กำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สงครามในจรรยาปฏิบัติการและจำกัดทางเลือกวิธีการในการทำอันตราย" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อหาว่าด้วย

  • การนิยามพลรบ
  • การสถาปนากฏเกี่ยวข้องกับวิธีการและระเบียบวิธีการสงคราม
  • และการพิจารณาประเด็นวัตถุประสงค์ทางทหาร

ความพยายามอย่างเป็นระบบเพื่อจำกัดความป่าเถื่อนของการสงครามเพิ่งเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัตถุประสงค์ของการสงครามคือเพื่อเอาชนะรัฐข้าศึก ซึ่งอาจทำได้โดยการทำให้พลรบข้าศึกหมดความสามารถ ฉะนั้น "ความแตกต่างระหว่างพลรบและพลเรือน การกำหนดให้พลรบข้าศึกที่บาดเจ็บและถูกจับต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม และจัดที่พักให้ เสาหลักของกฎหมายมนุษยธรรมสมัยใหม่บางประการล้วนยึดตามหลักการนี้"