ข้ามไปเนื้อหา

เหตุเครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานฮาเนดะ พ.ศ. 2566

พิกัด: 28°28′54″N 16°20′18″W / 28.48165°N 16.3384°W / 28.48165; -16.3384
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุเครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว พ.ศ. 2566
การบินไทย เที่ยวบินที่ 683 · อีวีเอแอร์ เที่ยวบินที่ 189
สรุปอุบัติการณ์
วันที่10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
สรุปเครื่องบินเฉี่ยวชนกัน
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว โตเกียว ญี่ปุ่น
28°28′54″N 16°20′18″W / 28.48165°N 16.3384°W / 28.48165; -16.3384
เสียชีวิต0 คน
รอดชีวิต471 คน
อากาศยานลำแรก

HS-TEO เครื่องบินที่เกิดเหตุ 4 ปีก่อนเกิดเหตุ
ประเภทแอร์บัส เอ 330-343
ชื่ออากาศยานจุฑามาศ
ดําเนินการโดยการบินไทย
หมายเลขเที่ยวบิน IATATG683
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOTHA683
รหัสเรียกTHAI 683
ทะเบียนHS-TEO
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว, โตเกียว, ญี่ปุ่น
ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, สมุทรปราการ, ประเทศไทย
จำนวนคน264 คน
ผู้โดยสาร250 คน
ลูกเรือ14 คน
รอดชีวิต264 คน
อากาศยานลำที่สอง

เอ330 คล้ายกับลำที่เกิดเหตุ
ประเภทแอร์บัส เอ 330-302
ดำเนินการโดยอีวีเอแอร์
หมายเลขเที่ยวบิน IATABR189
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOEVA189
รหัสเรียกEVA 189
ทะเบียนB-16340
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว, โตเกียว, ญี่ปุ่น
ปลายทางท่าอากาศยานไทเปซงซาน, ซงซาน, ไต้หวัน
จำนวนคน207 คน
ผู้โดยสาร194 คน
ลูกเรือ13 คน
รอดชีวิต207 คน

อุบัติเหตุเครื่องบินการบินไทยเฉี่ยวชนกับเครื่องบินอีวีเอแอร์ที่โตเกียว พ.ศ. 2566 เกิดขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Airport Haneda) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลาประมาณ 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[1] เมื่อเครื่องบินแอร์บัส เอ330สองลำของการบินไทยและอีวีเอแอร์ได้เกิดเฉี่ยวชนกันขณะกำลังขับเคลื่อนบนทางขับใกล้ทางวิ่ง 16R ส่งผลให้ปลายปีก (Winglet) ของเครื่องการบินไทย และส่วนแพนหางดิ่งของเครื่องอีวีอแอร์ได้รับความเสียหาย[2][3] ท่าอากาศยานฮาเนดะได้สั่งปิดทางวิ่งชั่วคราวเป็นเวลาสองชั่วโมงก่อนเปิดให้บริการอีกครั้ง เครื่องบินทั้งสองถูกนำกลับไปซ่อมบำรุงก่อนนำกลับมาบินอีก ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ผลสืบเนื่อง

[แก้]

หลังจากเกิดการชนกัน ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวได้สั่งปิดทางวิ่ง 16R ใกล้กับจุดเกิดเหตุเป็นเวลาสองชั่วโมง เครื่องบิน TEO ของการบินไทยได้รับความเสียหายเล็กน้อยบริเวณปลายปีก เครื่องบินได้รับการซ่อมบำรุงโดยการนำปลายปีกออก และนำกลับไปทำการบินอีกครั้ง ส่วนเครื่องของอีวีเอแอร์ก็ได้นำกลับไปซ่อมบำรุงก่อนนำกลับมาทำการบินอีกครั้ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lau, Junko Ogura,Chris (2023-06-10). "Two planes 'likely collided' at airport in Tokyo". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Thai Airways & EVA Air Airbus A330s Collide At Tokyo Haneda Airport". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-10.
  3. "Two passenger planes accidentally touched each other on a runway at Tokyo airport". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-10.