ข้ามไปเนื้อหา

เหตุหัวรถจักรชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529

พิกัด: 13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุหัวรถจักรชนสถานีกรุงเทพ
รถจักรจีอีหมายเลข 4010 หนึ่งในรถจักรคันที่เกิดเหตุ
เหตุหัวรถจักรชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
เหตุหัวรถจักรชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529
ที่ตั้งสถานที่เกิดเหตุในกรุงเทพมหานคร
รายละเอียด
วันที่8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529
(38 ปี 6 วัน)
08:50
สถานที่สถานีกรุงเทพ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143
ประเทศไทย
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
บริการหัวรถจักรเปล่า
ประเภทเหตุการณ์รถไฟพุ่งชนสถานีและตกราง
จำนวน
รถไฟ1
ยานยนต์6
เสียชีวิต4
บาดเจ็บ4
แผนที่เส้นทาง
ชุมทางบางซื่อ
สามเสน
กรุงเทพ (จุดเกิดเหตุ)

เหตุการณ์หัวรถจักรพุ่งชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529[1] เวลาประมาณ 08.50 น. เมื่อขบวนรถไฟประกอบด้วยหัวรถจักรจำนวน 6 คันพ่วงติดกัน ซึ่งได้แก่หมายเลข 4029, 4042, 4044, 4010, 4006, 4043 กำลังซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงเก็บหัวรถจักร สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ พนักงานขับรถไฟได้ติดเครื่องยนต์และลงจากรถโดยไม่ดับเครื่อง และทำท่าคันกลับอาการ (เกียร์ของรถไฟ) ไว้ที่ตำแหน่งเดินหน้า โดยล็อกคันเร่งไว้ที่สูงสุด เนื่องจากรถไฟใช้ระบบลมดูด เมื่อติดเครื่องยนต์ไว้สักครู่ ลมจะหมุนเวียนครบวงจร รถไฟจึงวิ่งเข้าสู่รางประธาน รถไฟวิ่งไปตามเส้นทาง ผ่านทางแยกตัดกับถนนพระรามที่ 6, ถนนประดิพัทธ์ ผ่านสถานีรถไฟสามเสน, ถนนนครไชยศรี, ถนนราชวิถี, ถนนศรีอยุธยา และถนนเพชรบุรี เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไม่มีพนักงานขับรถแต่อย่างใด

ไม่กี่นาทีต่อมา เสียงรถจักรจีอีทั้ง 6 คันก็ดังขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดมเป่านกหวีดดังลั่น รถจักรทั้ง 6 คันพุ่งเข้าปะทะแผงกั้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้วทะลุเลยเข้าไปในชานชาลาสถานี ชนป้ายตารางเวลาเดินรถ ร้านค้า และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์โดยพุ่งเลยไปเกือบถึงหน้าถนน ขณะที่มีผู้โดยสารจำนวนมากอยู่ในสถานี ก่อนเกิดเหตุ ทางสถานีได้ออกประกาศเตือนผู้โดยสารแล้ว แต่เนื่องจากความบกพร่องของระบบกระจายเสียง ทำให้เกิดเสียงก้องกังวานและผู้โดยสารจำนวนมากไม่ทราบการแจ้งเตือนล่วงหน้า

เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่าเป็น รถไฟผีสิง เนื่องจากหัวรถจักรตัวเปล่า โดยไม่มีคนขับเกิดวิ่งได้เองจนชนชานชาลาสถานีกรุงเทพ นับเป็นความผิดปกติอย่างมาก บางกระแสก็กล่าวเกินเลยไปถึงขนาดตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการวินาศกรรมหรือไม่ เป็นต้น

จำนวนความเสียหาย

[แก้]

เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 4 คน บาดเจ็บ 4 คน ค่าเสียหายประมาณ 2 ล้านบาท โดยผู้เสียชีวิตมีรายนามดังนี้

  1. นายแสวง ศรีสุข
  2. เด็กชายพิเศษฐ แสนมาโนตร
  3. นายสมบัติ สังแคนพรม
  4. นางโสภา เก้าเอี้ยน

การสอบสวน

[แก้]

เมื่อผลการสอบสวนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกมา พบว่าเกิดจากการที่พนักงานสะเพร่าไม่ได้ดับเครื่องก่อนลงจากหัวรถจักร ก็ได้มีคำสั่งให้ นายสมจิตร พิลึก นายตรวจกล ได้รับโทษไล่ออก แต่เนื่องจากมีเหตุสมควรจึงลดโทษเหลือ ปลดออก และให้ร่วมกับนายเตรียม พิศพานต์ เจ้าหน้าที่ประจำหอสัญญาณ ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ด้วย[2] และระหว่างสอบสวนอยู่นั้น ก็ปรากฏข่าวการทุจริตและเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ ในการรถไฟแห่งประเทศไทยออกมาเป็นระยะ ๆ เช่น การทุจริตในการจัดซื้อ หรือการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพของผู้บริหาร เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]