ข้ามไปเนื้อหา

เหตุระเบิดพุทธคยา พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดพุทธคยา พ.ศ. 2556
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ใกล้มหาโพธิวิหาร
พุทธคยาตั้งอยู่ในรัฐพิหาร
พุทธคยา
พุทธคยา
ที่ตั้งของพุทธคยาในรัฐพิหาร
สถานที่มหาโพธิวิหาร พุทธคยา
วันที่7 กรกฎาคม 2556
05:30–06:00 (เวลามาตรฐานอินเดีย)
ประเภทการวางระเบิด
อาวุธระเบิดแสวงเครื่อง[1] และระเบิดกระบอก
เจ็บ5
ผู้ก่อเหตุมุญาฮิดีนอินเดีย
ต้องโทษ
  • Umer Siddiqui
  • Azaharuddin Qureshi
  • Imtiyaz Ansari alias Alam
  • Haider Ali alias Black Beauty
  • Mujibullah Ansari
[2]
คำตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและจ่ายค่าปรับ
การลงโทษสมรู้ร่วมคิดทางอาญา ส่งเสริมความเป็นศัตรูกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ด้วยเหตุผลของศาสนา นิกาย และสถานที่เกิด
ค่าภาระติดพันพระราชบัญญัติ (การป้องกัน) กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย, พ.ร.บ.วัตถุระเบิด

ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เกิดเหตุระเบิด 10 ลูกระเบิดทั้งในและรอบบริเวณมหาโพธิวิหาร แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด 5 คน ซึ่งรวมพระสงฆ์ 2 รูป ส่วนอุปกรณ์อีกสามชิ้นถูกหน่วยเก็บกู้ระเบิดปลดชนวนในคยาหลายพื้นที่[3][4][5]

ตัววิหารกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ (ที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้) ไม่ได้รับความเสียหาย[6] อย่างไรก็ตาม ทางกรมสำรวจโบราณคดีอินเดียยืนยันความเสียหายต่อโครงสร้างใหม่ในเขตวิหาร[7] บุคคลระหว่างประเทศ อย่างทะไลลามะ มหินทา ราชปักษา ประธานาธิบดีศรีลังกา และอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ประณามการโจมตีนี้[8] จากนั้นในวันที่ 4 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน สำนักงานสอบสวนแห่งชาติประกาศว่ามุญาฮิดีนอินเดีย กลุ่มก่อการร้ายอิสลาม มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดครั้งนี้[9][10]

ศาลพิเศษของสำนักงานสอบสวนแห่งชาติประกาศตัดสินให้ผู้ก่อการร้ายมุญาฮิดีนสัญชาติอินเดียที่ถูกกล่าวหาทั้ง 5 คน โดย Imtiyaz Ansari, Mujib Ullah, Omair Siddiqui และ Azharuddin Qureishi มีความผิดฐานก่อเหตุโจมตีและตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตตามพระราชบัญญัติ (การป้องกัน) กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย และ พ.ร.บ.วัตถุระเบิด ส่วนผู้เยาว์คนหนึ่งถูกศาลเยาวชนตัดสินให้จำคุก 3 ปีในสถานแรกรับฝากขังเด็กและเยาวชนเมื่อ พ.ศ. 2560[11][12]

ผู้ก่อการร้ายกล่าวถึงแรงจูงใจว่า การวางระเบิดทั้งใน พ.ศ. 2556 และ 2561 มีเป้าหมายเป็นพุทธสถาน เพื่อล้างแค้นต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวโรฮีนจาในประเทศพม่า ประเทศเพื่อนบ้านที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ[11][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gupta, Shishir; Rajesh, Ahuja (11 July 2013). "Indian Mujahideen Bodh Gaya blasts tweet traced to Pakistan". Hindustan Times. New Delhi. HT Media Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2013. สืบค้นเมื่อ 10 July 2013.
  2. "Five sentenced to life imprisonment in Bodh Gaya serial blasts case". Headlines Today. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
  3. "5 injured in multiple blasts at Mahabodhi temple in Bodh Gaya". The Times of India. 7 July 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2013.
  4. PTI (8 July 2013). "13 bombs were planted in Mahabodhi temple complex: Shinde". The Times of India. Bennett, Coleman & Co. Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  5. AGENCIES (7 July 2013). "Third bomb recovered near Bodh Gaya". The Times of India, Times Now. Times Now, TIMES GLOBAL BROADCASTING COMPANY LIMITED. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  6. "2 monks injured as terror strikes Bodh Gaya". The Hindu. 7 July 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2013.
  7. Agencies (11 July 2013). "Only modern structures at temple damaged: ASI". Mid DAY. New Delhi. Mid-Day Infomedia Ltd. สืบค้นเมื่อ 10 July 2013.
  8. "Myanmar govt, Suu Kyi slam attack on Buddhist shrine". The Times of India. Bennett, Coleman & Co. Ltd. 9 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2013. สืบค้นเมื่อ 13 July 2013.
  9. Tiwari, Deeptiman (6 November 2013). "Ranchi document helps NIA crack Bodh Gaya blast case". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 6 November 2013.
  10. Gaikwad, Rahi; Anumeha, Yadav; Devesh, Pandey (7 November 2013). "Patna terror cell behind Bodh Gaya strike too: NIA". The Hindu. Patna, Ranchi, New Delhi. The Hindu. สืบค้นเมื่อ 7 November 2013.
  11. 11.0 11.1 "2013 Bodhgaya blast: All five accused pronounced guilty". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
  12. Team, ThePrint (2018-06-01). "Five get life imprisonment for 2013 Bodh Gaya blasts". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
  13. "NIA Says Explosive Set Off In Bodh Gaya To Show Solidarity With Rohingya". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]