เหงียน
Nguyễn | |
---|---|
เหงียน ในรูปจื๋อฮ้าน | |
การออกเสียง | ŋwiə̯n˧ˀ˥ ŋwiə̯ŋ˧˩˧ |
ภาษา | เวียดนาม |
ชื่ออื่น ๆ | |
แบบต่าง ๆ | หร่วน, หยวน |
เหงียน (เวียดนาม: Nguyễn หรือรูปย่อ Ng̃) เป็นนามสกุลชาวเวียดนาม ถือเป็นนามสกุลที่ใช้บ่อยที่สุดในชาวเวียดนาม โดยมีการประมาณประชากรเวียดนามร้อยละ 30 ถึง 40 ใช้นามสกุลนี้[1][2][3]
Nguyễn เป็นรูปทับศัพท์จากคำออกเสียงจีน-เวียดนามของอักษร 阮 ซึ่งเดิมทีใช้เขียนเรียกรัฐหนึ่งในมณฑลกานซู่ของจีน หรือเครื่องดนตรีจีนโบราณ หร่วน[4][5] อักษรจีนนี้เขียนเป็นรูปอักษรโรมันได้ว่า Ruǎn ในภาษาจีนกลาง และ Yuen ในภาษากวางตุ้ง[6]
ประวัติศาสตร์
[แก้]บุคคลแรกที่มีนามสกุลเหงียนที่มีการบันทึกไว้ปรากฏในเอกสารจากปี ค.ศ. 317 ในบันทึกการเดินทางไปยังเกียวเชาโดย เหงียน ฟู เจ้าหน้าที่รัฐของจักรวรรดิจินตะวันออก และครอบครัว เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์เวียดนามมีส่วนร่วมให้นามสกุลนี้เป็นที่นิยมขึ้นมา ในปี ค.ศ. 1232 หลังการช่วงชิงราชวงศ์ลี้สำเร็จ ตรั่น ถู โดะ บังคับให้ผู้สืบสกุลของจักรวรรดิลี้ต้องเปลี่ยนนามกุลเป็นเหงียนทั้งหมด เมื่อครั้นโหะ ก๊วย ลีพิชิตราชวงศ์ตรั่นได้สำเร็จ เขาสังหารผู้สืบทอดตระกูลของตรั่นไปจำนวนมาก ทำให้เมื่อราชวงศ์โหะล่มสลายในปี ค.ศ. 1407 ผู้สืบสกุลจำนวนมากของโหะ เลือกเปลี่ยนนามสกุลเป็นเหงียนเพราะกลัวถูกตามล้างแค้น[7] ในปี ค.ศ. 1592 ครั้นราชวงศ์หมักล่มสลาย ผู้สืบทอดของหมักก็เปลี่ยนนามสกุลเป็นเหงียน เมื่อครั้นราชวงศ์เหงียน (ผู้สืบทอดบรรดาขุนนางเหงียน) เรืองอำนาจในปี 1802 ผู้สืบทอดของบรรดาขุนนางจิ่ญที่กลัวการตามล้างแค้นเปลี่ยนนามสกุลเป็นเหงียน และบางส่วนหนีไปยังจีน[7]
นอกประเทศเวียดนาม
[แก้]เนื่องด้วยจำนวนของชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่มาก ทำให้นามสกุลนี้มีความแพร่หลายนอกเวียดนามเช่นกัน นอกเวียดนามมักเขียนนามสกุลในรูปไม่มีไดาอาคริติกเป็น Nguyen ในประเทศออสเตรเลีย นามสกุลนี้มีมากที่สุดในประเทศเป็นอันดับเจ็ด (ข้อมูล ณ ปี 2006)[8] (second only to Smith in Melbourne phone books[9]), มากที่สุดอันดับที่ 54 ในประเทศฝรั่งเศส[10], มากที่สุดอันดับที่ 41 ในประเทศนอร์เวย์ (ข้อมูล ณ ปี 2020)[11] และอันดับหนึ่งสำหรับนามสกุลคนต่างชาติในประเทศเช็กเกีย (ข้อมูล ณ ปี 2007)[12]
ในสหรัฐอเมริกา นามสกุล Nguyen มีมากที่สุดอันดับที่ 38 ของประเทศ ด้วยจำนวนผู้ใช้นามสกุลนี้เกิน 437,000 คน[13] ตามสำมะโนปี 2010 ซึ่งเพิ่มชึ้นจากอันดับที่ 57 และ 229 ในสำมะโนปี 2000[14] และ 1990[15] ตามลำดับ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lê Trung Hoa, Họ và tên người Việt Nam, NXB Khoa học - Xã hội, 2005
- ↑ "Vietnamese names". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2008.
- ↑ Kelly, Maura (27 July 2011). "Nafissatou and Amadou". Slate.
- ↑ "阮". Hanyu dacidian. Shanghai cishu chubanshe. 2011.
- ↑ "Why Are So Many Vietnamese People Named Nguyen?". IB Times.
- ↑ "Why Are So Many Vietnamese People Named Nguyen?". International Business Times. 18 February 2014.
- ↑ 7.0 7.1 Lê, Hiền (10 February 2023). "How Vietnamese Surname 'Nguyễn' Became One Of The Most Popular Surnames In The World". Vietcetera.
According to a study by the Faculty of Literature, VNU HCMC, changing surnames to ‘Nguyễn’ was quite common among the descendants of the dethroned dynasties. The main purpose was to change the identity and avoid revenge on the ruling family before or after. Typically, when the Hồ Dynasty collapsed in 1407, the descendants were afraid of revenge by the Trần descendants (because Hồ Quý Ly had overturned the Trần dynasty before), so they changed their surnames to Nguyễn.
- ↑ The Age (4 September 2006). "Nguyens keeping up with the Joneses". สืบค้นเมื่อ 9 September 2006.
- ↑ Melbourne City Council. "City of Melbourne - Multicultural Communities - Vietnamese". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2006. สืบค้นเมื่อ 27 November 2006.
- ↑ "Les noms de famille les plus portés France". www.journaldesfemmes.com.
- ↑ Statistics Norway. "Top 200 last names". สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
- ↑ "Žebříčky nejčastějších jmen vedou Nováci a Nguyenové" (ภาษาเช็ก). Novinky. 17 May 2007. สืบค้นเมื่อ 7 November 2007.
- ↑ "Frequently Occurring Surnames from the 2010 Census".
- ↑ "Frequently Occurring Surnames from the 2000 Census".
- ↑ "Frequently Occurring Surnames from Census 1990 – Names Files".