เส้นเก้าขีด
เส้นเก้าขีด | |||||||
เส้นเก้าขีด (เน้นด้วยสีเขียว) | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 九段線 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 九段线 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เส้นเก้าส่วน | ||||||
|
เส้นเก้าขีด (อังกฤษ: nine-dash line) ซึ่งบ่อยครั้งยังเรียกว่า เส้นสิบขีด (ten-dash line) และ เส้นสิบเอ็ดขีด (eleven-dash line) หมายถึงเส้นแบ่งเขตอย่างหยาบ ๆ[1] ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ใช้ในการอ้างสิทธิ์ของตนเหนือน่านน้ำส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้[2][3] พื้นที่ที่เป็นประเด็นพิพาทในทะเลจีนใต้ได้แก่ หมู่เกาะพาราเซล[a] หมู่เกาะสแปรตลี[b][4] และพื้นที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งรวมทั้งเกาะปราตัชและเนินตื้นใต้ทะเลเวเรเกอร์ เนินตื้นใต้ทะเลแม็กเคิลส์ฟีลด์ และดอนทรายใต้น้ำสการ์บะระ การอ้างสิทธิ์ดังกล่าวครอบคลุมถึงพื้นที่โครงการถมทะเลของจีนในหมู่เกาะสแปรตลีที่เรียกว่า "กำแพงทรายใหญ่" หรือ "กำแพงทรายเมืองจีน"[5][6][7] แม้จะได้ประกาศอ้างสิทธิ์อย่างคลุมเครือต่อที่สาธารณะใน พ.ศ. 2490 แต่ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีนก็ยังไม่เคยยื่นคำร้องเพื่ออ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าวด้วยแนวเขตที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ (ณ พ.ศ. 2561)[8]
แผนที่แรกเริ่มฉบับหนึ่งที่แสดงเส้นสิบเอ็ดขีดรูปตัวยูได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในสาธารณรัฐจีน (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2490[9] ขีดสองขีดในอ่าวตังเกี๋ยถูกลบออกในเวลาต่อมาตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ของจีน ทำให้เส้นดังกล่าวเหลือเพียงเก้าขีด นักวิชาการจีนกล่าวยืนยันในเวลานั้นว่าแผนที่ฉบับที่มีขีดเก้าขีดแสดงถึงขอบเขตสูงสุดของการอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์เหนือทะเลจีนใต้[10] ใน พ.ศ. 2556 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เผยแพร่แผนที่ประเทศฉบับใหม่โดยเพิ่มขีดที่สิบลงไปในทะเลจีนตะวันออกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะไต้หวัน[11][12][13]
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ศาลอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (อันคลอส) ตัดสินว่าการอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์ของจีนเหนือพื้นที่ทางทะเล (ตรงข้ามกับดินแดนทางบกและน่านน้ำอาณาเขต) ภายในเส้นเก้าขีดไม่มีผลทางกฎหมายหากการอ้างนั้นเกินกว่าข้อจำกัดที่นิยามไว้ในอนุสัญญาฯ[15][16] ข้อโต้แย้งประการหนึ่งคือจีนไม่เคยใช้อำนาจควบคุมน่านน้ำและทรัพยากรเหล่านี้แต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ศาลยังชี้แจงว่าจะไม่ "... ชี้ขาดปัญหาว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนทางบกใด ๆ และจะไม่กำหนดขอบเขตทางทะเลใด ๆ ระหว่างคู่กรณี"[17] ทั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐบาลสาธารณรัฐจีนไม่ยอมรับคำชี้ขาดดังกล่าว[18][19]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ หมู่เกาะพาราเซลถูกสาธารณรัฐประชาชนจีนยึดครอง แต่ถูกเวียดนามและสาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ์เช่นกัน
- ↑ หมู่เกาะสแปรตลีเป็นดินแดนพิพาทระหว่างฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน บรูไน มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ละประเทศอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของหมู่เกาะนี้ซึ่งเชื่อกันว่าอุดมไปด้วยทรัพยากรรวมทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Raul (Pete) Pedrozo (19 August 2014). "China versus Vietnam: An Analysis of the Competing Claims in the South China Sea". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
- ↑ Martin Riegl; Jakub Landovský; Irina Valko, บ.ก. (26 November 2014). Strategic Regions in 21st Century Power Politics. Cambridge Scholars Publishing. pp. 66–68. ISBN 9781443871341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ Michaela del Callar (26 July 2013). "China's new '10-dash line map' eats into Philippine territory". GMA News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2015. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ Jamandre, Tessa (14 April 2011). "PH protests China's '9-dash line' Spratlys claim". Malaya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
- ↑ "China building 'great wall of sand' in South China Sea". BBC. 1 April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2015.
- ↑ "US Navy: Beijing creating a 'great wall of sand' in South China Sea". The Guardian. 31 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2015.
- ↑ Marcus, Jonathan (29 May 2015). "US-China tensions rise over Beijing's 'Great Wall of Sand'". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2015. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
- ↑ Cheney-Peters, Scott (14 December 2014). "China's Nine-Dashed Line faces renewed assault". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.
- ↑ Wu 2013, p. 79(at History of the U-shaped line)
- ↑ Brown, Peter J. (8 December 2009). "Calculated ambiguity in the South China Sea". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2010. สืบค้นเมื่อ May 18, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Euan Graham. "China's New Map: Just Another Dash?". RUSI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2013.
- ↑ "Limits in the Seas" (PDF). Office of Ocean and Polar Affairs, U.S. Department of State. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
- ↑ "New ten-dashed line map revealed China's ambition". 19 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
- ↑ 14.0 14.1 "The South China Sea Arbitration Award of 12 July 2016" (PDF). Permanent Court of Arbitration. Permanent Court of Arbitration. 12 July 2016.
- ↑ PCA Award, Section V(F)(d)(264, 266, 267), p. 113.[14]
- ↑ PCA Award, Section V(F)(d)(278), p. 117.[14]
- ↑ "PCA Press Release: The South China Sea Arbitration (The Republic of the Philippines v. The People's Republic of China) | PCA-CPA". pca-cpa.org. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
- ↑ "South China Sea: Tribunal backs case against China brought by Philippines". BBC News. 12 July 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
- ↑ Jun Mai, Shi Jiangtao (12 July 2016). "Taiwan-controlled Taiping Island is a rock, says international court in South China Sea ruling". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
{{cite news}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
- CS1 maint: unfit URL
- CS1 maint: uses authors parameter
- เขตแดน
- ทะเลจีนใต้
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตจีน
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตบรูไน
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตฟิลิปปินส์
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตมาเลเซีย
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตเวียดนาม
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตสาธารณรัฐจีน
- อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนของชนชาติจีน
- น่านน้ำที่เป็นข้อพิพาท