เสกสรรค์ เสวกสูตร
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | เสกสรรค์ เสวกสูตร | ||
ตำแหน่ง | ผู้รักษาประตู | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน |
![]() | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
พ.ศ. 2530-2533 | สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ | ||
สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย | |||
พ.ศ. 2543 | สโมสรฟุตบอลองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย | ||
พ.ศ. 2544 | สโมสรฟุตบอลกรุงเทพมหานคร | ||
พ.ศ. 2545 | สโมสรฟุตบอลธนาคารอาคารสงเคราะห์ | ||
พ.ศ. 2546 | สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย[1] | ||
ทีมชาติ | |||
พ.ศ. 2531–2532 | ไทย ยู-18 ปี | ||
พ.ศ. 2533 | ไทย ยู-19 ปี | ||
พ.ศ. 2534 | ไทย ยู-21 ปี | ||
พ.ศ. 2535 | ทีมชาติไทย (อายุ 23 ปี ปรีโอลิมปิก)[1] | ||
พ.ศ. 2535 | ทีมชาติไทย (ชุดบี คิงส์คัพ)[1] | ||
พ.ศ. 2538–2539 | ทีมชาติไทย (ชุดเตรียมเอเชียนเกมส์)[1] | ||
จัดการทีม | |||
พ.ศ. 2545–2550 | สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู) | ||
พ.ศ. 2549 | สโมสรฟุตบอลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู) | ||
พ.ศ. 2551 | สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู) | ||
พ.ศ. 2552 | สโมสรฟุตบอลพนักงานยาสูบ (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู) | ||
พ.ศ. 2553 | สโมสรฟุตบอลจังหวัดปทุมธานี (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู) | ||
พ.ศ. 2555–2556 | สโมสรฟุตบอลจังหวัดอ่างทอง (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู)[1] | ||
ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู)[2] | |||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 |
เสกสรรค์ เสวกสูตร หรือ โค้ชเล็ก เป็นผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย[3] ผู้ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูให้แก่ฟุตบอลทีมชาติไทย รวมถึงสโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย[1]
ประวัติ
[แก้]เสกสรรค์ เสวกสูตร สำเร็จการศึกษาสาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูให้แก่ฟุตบอลทีมชาติไทย รวมถึงเป็นผู้รักษาประตูระดับอาชีพในหลายสังกัดสโมสร[1] นอกจากนี้ เขายังมีผลงานการเป็นผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ อาทิ ใน พ.ศ. 2553 เสกสรรค์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลในเอเชียนเกมส์ 2010 ที่จัดขึ้น ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน[4] รวมถึงใน พ.ศ. 2556 ในการแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศเมียนมาร์[5] และใน พ.ศ. 2557 ในการแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 ที่จัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม[6][7] โดยเขาได้มีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์พาทีมเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่ประเทศแคนาดาได้สำเร็จ[1]
ความสำเร็จ
[แก้]ในฐานะผู้รักษาประตู
[แก้]- สโมสรธนาคารกสิกรไทย[1]
ชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2534–2536)
ชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก พ.ศ. 2538, 2542
ชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ควีนส์คัพ 4 ปีซ้อน (พ.ศ. 2538–2541)
ชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ 1999
ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ฤดูกาล 1993–94
ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ฤดูกาล 1994–95
รองชนะเลิศ เอเชียนซูเปอร์คัพ 1995
ในฐานะผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู
[แก้]- ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย[1]
ชนะเลิศ เอเอฟเอฟวีเมนส์แชมเปียนชิพ 2011 ที่ประเทศลาว
ชนะเลิศเหรียญทอง ฟุตบอลหญิงในซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศเมียนมาร์
- อันดับ 5 ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 ที่ประเทศเวียดนาม (ผ่านเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่ประเทศแคนาดา)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 อ๊อฟ...อ๊อฟ. วันวาน วันนี้ ของ ดาวค้างฟ้า. ฟุตบอลสยาม. บริษัท สยามสปอร์ต บุ๊คส์ จำกัด. VOLUME 1411. วันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557. หน้า 22
- ↑ "Sport Classic:เว็บข่าวกีฬาและสุขภาพ » 'โค้ชอุ้ม-โค้ชหรั่ง'คุมแข้งสาวแทน'โค้ชจุ่น'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
- ↑ 'มาดามแป้ง' ดึง 'โค้ชอุ้ม' คุมบอลหญิงลุยเอเชียนคัพ 2014 - ข่าว
- ↑ "แข้งสาวไทย เป็นอีแอบซะแล้ว หลังเจ้าภาพไม่มีสนามซ้อมให้ แต่ยังดั้นด้นหาที่ซ้อมภายในหมู่บ้านจนได้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
- ↑ "ยลโฉม 20 แข้งสาวไทยชุดสู้ศึกซีเกมส์เมียนมาร์ - ข่าวกีฬาซีเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-06-01.
- ↑ มาดามแป้งตั้งทีมคุมสาวไทยใหม่วางเป้าคว้าตั๋วลุยเวิลด์คัพ
- ↑ สาวไทยถึงเวียดนามแล้วฟิตซ้อมมื้อแรกทันที - สยามสปอร์ต
- ↑ คลุกวงในบอลไทย: ยอดหญิงแห่งปี