ข้ามไปเนื้อหา

เวอร์จิล แอบโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวอร์จิล แอบโล
แอบโลเมื่อปี 2019
เกิด30 กันยายน ค.ศ. 1980(1980-09-30)
ร็อกฟอร์ด รัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021(2021-11-28) (41 ปี)
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่า
อาชีพ
  • นักออกแบบ
  • นักธุรกิจ
  • ดีเจ
ปีปฏิบัติงาน2011–2021
ตำแหน่ง
คู่สมรสแชนนอน ซันด์เบิร์ก (สมรส 2009)
บุตร2

เวอร์จิล แอบโล (Virgil Abloh; /ˈæbl/; 30 กันยายน 1980 – 28 พฤศจิกายน 2021) เป็นนักธุรกิจ, นักออกแบบและดีเจ ผู้กำกับศิลป์เครื่องแต่งกายบุรุษของหลุยส์ วิตตองตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 กระทั่งเขาเสียชีวิตในปี 2021 แอบโลห์ยังเป็นซีอีโอของตราสินค้าแฟชั่นจากเมืองมิลาน ออฟ-ไวท์ที่เขาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2013

แอบโลจบการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้เริ่มต้นทำงานด้านแฟชั่นแนวสตรีทแฟชั่นที่ชิคาโก ก่อนจะเข้าอินเทิร์นที่เฟนดีในปี 2009 คู่กับแรปเปอร์ คานเย เวสต์ แอบโลเป็นชาวอเมริกันที่มีเชื้อสายแอฟริกาคนแรกที่ได้ทำงานเป็นผู้กำกับศิลป์ในบริษัทสินค้าแฟชั่นหรูหราของฝรั่งเศส[1] เขาได้รับการขนานนามโดยนิตยสาร ไทม์ ให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของปี 2018[2]

ในปี 2019 แพทย์วินิจฉัยพบว่าแอบโลป่วยด้วยมะเร็งเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้ยากและรุนแรง เขาเสียชีวิตจากโรคนี้ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2021 ด้วยวัย 41 ปี[3][4]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

เวอร์จิล แอบโล เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 1980 ที่เมืองร็อกฟอร์ด รัฐอิลลินอย ในครอบครัวผู้อพยพชาวกานา[5] แม่ของเขาเป็นช่างทำเสื้อผ้า[6] ส่วนพ่อของเขาเป็นผู้จัดการในบริษัทสีแห่งหนึ่ง[7] แอบโลเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมบอยแลนคาธอลิก จบการศึกษาในปี 1998[5] และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันในปี 2002 ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์สาขาวิศวกรรมโยธา[5] เขาได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตจากสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอย (IIT) ในปี 2006[8] ขณะที่แอบโลเรียนอยู่ที่ IIT มีอาคารหนึ่งในวิทยาเขตที่กำลังก่อสร้างอยู่ขณะนั้นซึ่งออกแบบโดยสถาปนิก เรม คูลฮาส อันส่งผลให้เขาเริ่มมีความสนใจในวงการแฟชั่น[5] ขณะที่ศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์อยู่นั้น แอบโลได้ออกแบบเสื้อยืดและเขียนบทความเกี่ยวกับแฟชั่นและการออกแบบบนบล็อก เดอะบริลเลียนซ์ (The Brilliance)[9][10] แอบโลได้พบกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียง คานเย เวสต์ ขณะทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์อยู่ที่ชิคาโก[10]

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]

แอบโลได้รับรางวัลใหญ่ครั้งแรกในปี 2011 สำหรับงานออกแบบภาพปกให้กับอัลบัม วอตช์เดอะโธรน จากปี 2011 ของเจย์ซี/แคนเย เวสต์ ซึ่งได้รับรางวัลแกรมมีสำหรับหีบห่อแผ่นเสียงยอดเยี่ยม[5] ในปี 2015 แอบโลในนามของออฟ-ไวท์ ℅ เป็นหนึ่งในผู้เข้ารอบสุดท้ายของรางวัลเครือบริษัทแอลวีเอมเอช และเป็นนักออกแบบชาวอเมริกันคนเดียวที่ได้รับการเสนอชื่อสำหรับรางวัลนี้ ผลงานเสื้อยืดของแอบโลที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิตยสารการ์ตูนฝรั่งเศส ชาร์ลี เฮบโดชื่อ “War is Not Over!” (สงครามยังไม่จบ!) รวมถึงเครื่องแต่งกายท่อนบนของเขาจากคอลเลกชั่นสตรีปี 2015 เป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด[11] เขาได้รับรางวัลเออร์บันลูกซ์ (Urban Luxe) ในปี 2017 จากรางวัลแฟชั่นบริเตน[6] และได้รับรางวัลนักออกแบบชายแห่งปีจากจีคิวในปี 2017 โดยเฉพาะจากผลงานของเขาในฐานะผู้กำกับครีเอทีฟของแบรนด์ออฟ-ไวท์ และผลงานร่วมกับไนกี[12] ผลงานร่วม (collaboration) ของแอบโลระหว่างออฟ-ไวท์กับแอร์จอร์แดน “เดอะเท็น” (the Ten) ได้รับรางวัลรองเท้าแห่งปี 2017 และที่ซึ่งเขาได้รับรางวัลนักออกแบบเครื่องประดับแห่งปีเช่นกัน[13] แอบโลมีชื่อปรากฏในรายขื่อของนิตยสาร ไทม์ ในรายชื่อบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งปี 2018 เป็นหนึ่งในสองนักออกแบบที่มีรายชื่อสำหรับปีนั้น[14] ใน ไทม์ ฉบับนั้น ศิลปินชาวญี่ปุ่น ทาคาชิ มุราคะมิ ระบุว่าความสำเร็จอันน่าประทับใจของแอบโลได้นำไปสู่รายชื่อของเขาในฐานะบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด 100 คนของไทม์ในปีนั้น[15] ในเดือนธันวาคม 2018 แอบโลได้รับรางวัลนักประดิษฐ์แนวหน้า (leading innovator) จาก เอบอนีพาวเวอร์ 100 คู่กับ SHAVONE[16] ในปี 2019 แอบโลยังได้รับการเสนอชื่อเป็นนักออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษแห่งปี[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hyman, Dan (May 23, 2019). "Virgil Abloh Has Designs on High Culture". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
  4. https://twitter.com/LVMH/status/1465022773550583823?ref_src=twsrc%5Egoogle%7Ctwcamp%5Eserp%7Ctwgr%5Etweet
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Yotka, Steff (March 28, 2018). "A Brief History of Virgil Abloh's Meteoric Rise". Vogue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 21, 2018.
  6. 6.0 6.1 Friedman, Vanessa; Paton, Elizabeth (March 26, 2018). "Louis Vuitton Names Virgil Abloh as Its New Men's Wear Designer". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 21, 2018.
  7. "5 things you need to know about Virgil Abloh". TRACE (ภาษาฝรั่งเศส). 2018-03-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.
  8. Rock, Michael (February 6, 2017). "Virgil Abloh - Columbia GSAPP". Columbia GSAPP (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 21, 2018.
  9. "THE BRILLIANCE". The Brilliance (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 17, 2019.
  10. 10.0 10.1 Johnson, Steve (June 5, 2019). "Virgil Abloh's journey — from T-shirts to Kanye West to Louis Vuitton — now stops at the MCA for an exhibit devoted to the Rockford artist". Chicago Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
  11. "This Just In: Meet the LVMH Prize Finalists".
  12. "Virgil Abloh and Asap Rocky at The 2017 GQ Australian Men of the Year Awards". PAUSE. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  13. Carballo, Charlie. "Virgil Abloh and Tabitha Simmons Are Among the CFDA Awards Nominees". Footwear News. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  14. Wolf, Cam (April 19, 2018). "Virgil Abloh Is One of Time's 100 Most Influential People in the World". GQ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 21, 2018.
  15. Murakami, Takashi. "Virgil Abloh". Time. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  16. Long, Tia (February 27, 2019). "SHAVONE. Is Stepping Out of Tech and Into Her Own". PAPER MAGAZINE.
  17. Carballo, Charlie (March 19, 2019). "Virgil Abloh and Tabitha Simmons Are Among the CFDA Awards Nominees". FootwearNews. สืบค้นเมื่อ April 12, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]