ข้ามไปเนื้อหา

แอลวีเอ็มเอช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก LVMH)
แอลวีเอ็มเอช โมเอต์ เฮนเนสซี่ หลุยส์ วิตตอง
ประเภทซอกิแอตาสเอ็วโรไปอา
การซื้อขาย
ยูโรเน็กซต์ปารีสMC
CAC 40 Component
ISINFR0000121014 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมสินค้าหรูหรา
ก่อนหน้า
ก่อตั้ง1987; 38 ปีที่แล้ว (1987)
ผู้ก่อตั้งAlain Chevalier
Henry Racamier
สำนักงานใหญ่
ปารีส
,
ฝรั่งเศส
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักเบร์นาร์ อาร์โนต์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
Antonio Belloni, กรรมการผู้จัดการ
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า, เครื่องสำอาง, เครื่องประดับแฟชัน, อัญมณี, น้ำหอม, เหล้า, นาฬิกา, ไวน์
บริการห้างสรรพสินค้า
รายได้เพิ่มขึ้น 53.7 พันล้านยูโร (2019)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 11.5 พันล้านยูโร (2019)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 7.17 พันล้านยูโร (2019)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 128.550 พันล้านยูโร (2018)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 33.957 พันล้านยูโร (2018)[1]
เจ้าของผู้ถือหุ้น
พนักงาน
145,247 (2018)[1]
บริษัทในเครือรายชื่อสินค้าในเครือ
เว็บไซต์LVMH.com

แอลวีเอ็มเอช โมเอต์ เฮนเนสซี่ หลุยส์ วิตตอง (อังกฤษ: LVMH Moët Hennessy – Louis Vuitton SE) หรือที่รู้จักกันในชื่อ แอลวีเอ็มเอช (LVMH) เป็นเครือบริษัทมหาชนข้ามชาติของสหภาพยุโรปในธุรกิจสินค้าหรูหรา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ประวัติของกลุ่มบริษัทเริ่มต้นจากการก่อตั้งแบรนด์หลุยส์ วิตตอง ในปี ค.ศ. 1854 จากนั้นทางโมเอต์แอนด์ชันด็อน ผู้ผลิตแชมเปญจน์ และเฮนเนสซี่ ผู้ผลิตเหล้าคอนญัก ได้รวมกิจการกันเป็นบริษัทโมเอต์เฮนเนสซี่ ก่อนที่จะควบรวมกับหลุยส์ วิตตอง ก่อตั้งเป็นเครือแอลวีเอ็มเอชในปี ค.ศ. 1987[2][3][4] ปัจจุบันมีบริษัทย่อยผลิตแบรนด์สินค้าในเครือกว่า 60 บริษัทโดยแต่ละบริษัทมีอิสระเต็มที่ในการบริหารงาน ผลิตภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของเครือแอลวีเอ็มเอชคือไวน์ชาตูดีคุม (Château d'Yquem) ที่มีจุดเริ่มต้นย้อนกลับไปถึง ค.ศ. 1593[5]

ปัจจุบัน ดียอร์ คือผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของเครือแอลวีเอ็มเอช มีหุ้นร้อยละ 40.9 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด[6] แบร์นาร์ อาร์โน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของดิออร์จึงเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอลวีเอ็มเอชด้วย[7] ปัจจุบันเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในฝรั่งเศส และหุ้นของเครือบริษัทยังมีมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุดในฝรั่งเศสและยูโรโซนอีกด้วย สูงราว 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2020[8]

แอลวีเอ็มเอชเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Annual Report 2017" (PDF). LVMH.com. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  2. "LVMH Moët Hennessy Louis Vuitton SA – Company History". Funding Universe. สืบค้นเมื่อ 30 June 2011.
  3. Rachel Sanderson in Milan (6 March 2011). "Retail & Consumer – LVMH to take controlling stake in Bulgari". FT.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2011.
  4. "LVMH group, Moet Hennessy Louis Vuitton: world leader in luxury, listed on CAC 40 index". LVMH.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2011.
  5. The Beginnings of Château d'Yquem Château d'Yquem Retrieved 29 January 2010
  6. "Organizational chart as of April 30, 2013". Dior. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 12 April 2016.
  7. "25. Bernard Arnault". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010.
  8. "Frankfurt Stock Exchange". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
  9. "LVMH to sponsor the 2024 Olympic Games in Paris". Vogue Business (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-07-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-08.