เวสต์แบงก์
เวสต์แบงก์ الضفة الغربية הגדה המערבית | |
---|---|
ที่ตั้งของเวสต์แบงก์ภายในดินแดนที่อ้างสิทธิ์ของรัฐปาเลสไตน์ | |
พิกัด: 32°00′N 35°21′E / 32.000°N 35.350°E | |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5,655 ตร.กม. (2,183 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 2,949,246 (ประมาณ กรกฎาคม 2,021)[a] คน |
เขตเวลา | ยุโรปตะวันออก (UTC+02:00) ออมแสงยุโรปตะวันออก (UTC+03:00) |
รหัส ISO 3166 | PS |
ภาษา | อาหรับปาเลสไตน์, ฮีบรู |
ศาสนา | อิสลาม, ยูดาห์, คริสต์, สะมาริตัน |
สกุลเงิน | เชเกลอิสราเอล (ILS) ดีนาร์จอร์แดน (JOD) |
เวสต์แบงก์ (อังกฤษ: West Bank; อาหรับ: الضفة الغربية; ฮีบรู: הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย"[2][3]) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย[4]
เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี[5] ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ประชากรกว่าร้อยละ 80 หรือประมาณ 2 ล้านคนเป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์ และอีกประมาณ 5 แสนคนเป็นชาวอิสราเอลยิวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่[4] ซึ่งรวมทั้งชาวอิสราเอล 192,000 คนในนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก[6] ประชาคมโลกถือว่าการตั้งและขยายถิ่นฐานของชาวอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์รวมทั้งในนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออกเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ แต่อิสราเอลก็โต้แย้งประเด็นนี้มาตลอด[7][8][9][10]
ชื่อเวสต์แบงก์ (West Bank) หรือซิสจอร์แดน (Cisjordan) มีต้นกำเนิดพร้อมกับการก่อตั้งราชอาณาจักรเยรูซาเลมในยุคกลาง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 บริเวณที่เรียกว่าเวสต์แบงก์ในปัจจุบันนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลาประมาณ 400 ปีในฐานะส่วนหนึ่งของบริเวณซีเรีย ในการประชุมที่ซานเรโมเมื่อปี ค.ศ. 1920 มหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร (ได้แก่ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาเป็นต้น) ได้ปันพื้นที่นี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตในอาณัติของสหราชอาณาจักร หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหประชาชาติได้ผ่านความเห็นชอบข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 181 (2) ว่าด้วยเรื่องรัฐบาลในอนาคตของปาเลสไตน์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสถาปนารัฐชาติขึ้นสองแห่งในบริเวณรัฐในอารักขาปาเลสไตน์ โดยข้อมติดังกล่าวได้กำหนดให้ "พื้นที่เนินเขาแห่งซาแมเรียและจูเดีย" (ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นเขตเวสต์แบงก์ในปัจจุบันด้วย) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐอาหรับที่จะตั้งขึ้นใหม่ แต่หลังสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 พื้นที่นี้ก็ถูกครอบครองโดยทรานส์จอร์แดน (เปลี่ยนชื่อเป็นจอร์แดนในปี ค.ศ. 1949) "เวสต์แบงก์" หรือ "ซิสจอร์แดน" กลายเป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน ในขณะที่ "อีสต์แบงก์" หรือ "ทรานส์จอร์แดน" กลายเป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แนวพรมแดนชั่วคราวระหว่างอิสราเอลกับเวสต์แบงก์ของจอร์แดนได้รับการกำหนดในความตกลงสงบศึก ค.ศ. 1949 จอร์แดนมีอำนาจปกครองเหนือเขตเวสต์แบงก์ตั้งแต่ ค.ศ. 1948 จนถึง ค.ศ. 1967 (โดยได้ผนวกพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของตนใน ค.ศ. 1950) แต่การอ้างกรรมสิทธิ์ของจอร์แดนไม่เคยได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากชาติใด ๆ ยกเว้นสหราชอาณาจักร[11][12]
ต่อมาอิสราเอลได้เข้ายึดครองเขตเวสต์แบงก์และนครเยรูซาเลมตะวันออกหลังสิ้นสุดสงครามหกวันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1967 แม้ว่าเขตเวสต์แบงก์จะไม่ได้ถูกผนวกเข้ากับอิสราเอล (ยกเว้นพื้นที่นครเยรูซาเลมตะวันออกและดินแดนที่อิสราเอลกับจอร์แดนเคยกำหนดไว้ว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ) แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมทางทหารจากอิสราเอล โดยอิสราเอลเรียกพื้นที่นี้ว่า "พื้นที่จูเดียและซาแมเรีย" (Judea and Samaria Area) จากนั้นในปี ค.ศ. 1974 ที่ประชุมสุดยอดองค์การสันนิบาตอาหรับ ณ กรุงราบัต มีมติกำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization) เป็น "ตัวแทนที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของชาวปาเลสไตน์" แต่จอร์แดนก็ไม่ได้ถอนการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่นี้อย่างเป็นทางการจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1988[13] ซึ่งทำให้ความผูกพันทางการบริหารและกฎหมายกับเวสต์แบงก์ถูกตัดขาด และทำให้สถานะพลเมืองจอร์แดนของชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่นี้ถูกยกเลิกไปในที่สุด[14]
พื้นที่หลายแห่งในเขตเวสต์แบงก์อยู่ภายใต้การปกครองจากองค์การบริหารปาเลสไตน์ (Palestinian Authority) นับตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงออสโลเมื่อปี ค.ศ. 1993 และแม้ว่า 164 ชาติมักจะอ้างถึงเขตเวสต์แบงก์รวมทั้งนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออกว่าเป็น "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง"[15][16] แต่รัฐบาลอิสราเอลก็ยังยืนหยัดว่า ดินแดนที่จะเรียกว่าถูกยึดครองได้ต้องเป็นดินแดนที่ถูกยึดในสงครามจาก "รัฐอธิปไตยที่ได้รับการสถาปนาและรับรองแล้ว" เท่านั้น[17] หลังความแตกแยกระหว่างกลุ่มฟะตะห์กับกลุ่มฮะมาสในปี ค.ศ. 2007 พื้นที่ต่าง ๆ ในเขตเวสต์แบงก์ที่ความควบคุมของปาเลสไตน์กลายเป็นพื้นที่กลุ่มเดียวที่องค์การบริหารปาเลสไตน์ยังคงปกครองอยู่ ในขณะที่ฉนวนกาซาตกไปอยู่ในอำนาจของกลุ่มฮะมาส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ในปี 2022 ผู้ตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลอาศัยอยู่ในเวสต์แบงก์มากกว่า 670,000 คน โดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลประมาณ 227,100 คนอาศัยอยู่ในเยรูซาเลมตะวันออกในปี 2019[1]
- ↑ https://www.cia.gov/the-world-factbook/countries/west-bank/#people-and-society
- ↑ Israel Defense Forces, Ordinance No. 187, "Ordinance about Interpretation", "The term Region of Yehuda ve-HaŠomron will be identical in meaning, for all purposes, including any legal issue or security legislation, to the term Region of HaGada HaMa'aravit", 17 December 1967, Major General Uzi Narkis, Commander of Central District and IDF Forces in the Region of HaGada HaMa'aravit. Published in Hebrew and Arabic in Collection no. 9 of ordinances for the West Bank เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 22 January 1968, p. 368
- ↑ Dishon (1973) Dishon Record 1968 Published by Shiloah Institute (later the Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies) and John Wiley and Sons, ISBN 0-470-21611-5 p 441
- ↑ 4.0 4.1 "The World Factbook – Middle East: West Bank". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ 2012-12-04.
- ↑ "The World Factbook – Middle East: West Bank". Central Intelligence Agency See also Geography of the West Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ 2012-12-04.
- ↑ "IDF: More than 300,000 settlers live in West Bank". Haaretz. Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-03. สืบค้นเมื่อ 9 May 2010.
- ↑ Roberts, Adam. "Prolonged Military Occupation: The Israeli-Occupied Territories Since 1967". The American Journal of International Law. American Society of International Law. 84 (1): 85–86.
The international community has taken a critical view of both deportations and settlements as being contrary to international law. General Assembly resolutions have condemned the deportations since 1969, and have done so by overwhelming majorities in recent years. Likewise, they have consistently deplored the establishment of settlements, and have done so by overwhelming majorities throughout the period (since the end of 1976) of the rapid expansion in their numbers. The Security Council has also been critical of deportations and settlements; and other bodies have viewed them as an obstacle to peace, and illegal under international law.
- ↑ Pertile, Marco (2005). "'Legal Consequences of the Construction of a Wall in the Occupied Palestinian Territory': A Missed Opportunity for International Humanitarian Law?". ใน Conforti, Benedetto; Bravo, Luigi (บ.ก.). The Italian Yearbook of International Law. Vol. 14. Martinus Nijhoff Publishers. p. 141. ISBN 978-90-04-15027-0.
the establishment of the Israeli settlements in the Occupied Palestinian Territory has been considered illegal by the international community and by the majority of legal scholars.
- ↑ Barak-Erez, Daphne (2006). "Israel: The security barrier—between international law, constitutional law, and domestic judicial review". International Journal of Constitutional Law. Oxford University Press. 4 (3): 548.
The real controversy hovering over all the litigation on the security barrier concerns the fate of the Israeli settlements in the occupied territories. Since 1967, Israel has allowed and even encouraged its citizens to live in the new settlements established in the territories, motivated by religious and national sentiments attached to the history of the Jewish nation in the land of Israel. This policy has also been justified in terms of security interests, taking into consideration the dangerous geographic circumstances of Israel before 1967 (where Israeli areas on the Mediterranean coast were potentially threatened by Jordanian control of the West Bank ridge). The international community, for its part, has viewed this policy as patently illegal, based on the provisions of the Fourth Geneva Convention that prohibit moving populations to or from territories under occupation.
- ↑ Drew, Catriona (1997). "Self-determination and population transfer". ใน Bowen, Stephen (บ.ก.). Human rights, self-determination and political change in the occupied Palestinian territories. International studies in human rights. Vol. 52. Martinus Nijhoff Publishers. pp. 151–152. ISBN 978-90-411-0502-8.
It can thus clearly be concluded that the transfer of Israeli settlers into the occupied territories violates not only the laws of belligerent occupation but the Palestinian right of self-determination under international law. The question remains, however, whether this is of any practical value. In other words, given the view of the international community that the Israeli settlements are illegal under the law if belligerent occupation …
- ↑ Joseph Massad said that the members of the Arab League granted de facto recognition and that the United States had formally recognized the annexation, except for Jerusalem. See Joseph A. Massad, Colonial Effects: The Making of National Identity in Jordan (New York: Columbia University Press, 2001),ISBN 0-231-12323-X, page 229. Records show that the United States de facto accepted the annexation without formally recognizing it. United States Department of State / Foreign relations of the United States, 1950. The Near East, South Asia, and Africa pg. 921
- ↑ It is often stated that Pakistan recognized it as well, but that seems to be incorrect; see S. R. Silverburg, Pakistan and the West Bank: A research note, Middle Eastern Studies, 19:2 (1983) 261–263.
- ↑ Anis F. Kassim, บ.ก. (1988). The Palestine Yearbook of International Law 1987-1988. p. 247.
- ↑ Efraim Karsh, P. R. Kumaraswamy, บ.ก. (2003). Israel, the Hashemites, and the Palestinians: The fateful triangle. p. 196.
- ↑ "Applicability of the Geneva Convention relative to the Protection of Civilian Persons in Time of War, of 12 August 1949, to the Occupied Palestinian Territory, including Jerusalem, and the other occupied Arab territories". United Nations. 17 December 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
- ↑ "Conference of High Contracting Parties to the Fourth Geneva Convention: Statement by the International Committee of the Red Cross". International Committee of the Red Cross. 5 December 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-07. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
- ↑ "Disputed Territories: Forgotten Facts about the West Bank and Gaza Strip". Israeli government's Ministry of Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.