เลี่ยน
เลี่ยน | |
---|---|
ใบ ดอกและผล | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Meliaceae |
สกุล: | Melia |
สปีชีส์: | M. azedarach |
ชื่อทวินาม | |
Melia azedarach L.[1] | |
ชื่อพ้อง | |
Melia australis Sweet |
เลี่ยน ชื่อวิทยาศาสตร์: Melia azedarach อยู่ในวงศ์ Meliaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบประกอบ ท้องใบสีเข้มกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก กลีบเรียวยาวสีม่วง ดอกช่อ ผลกลมขนาดเท่าลูกสะเดา เปลือกต้น ดอกและผล ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง อาเจียน กระเพาะอาหารอักเสบ ชัก เป็นอัมพาตได้โดยเฉพาะในเด็ก
การใช้งาน
[แก้]การใช้งานหลักของพืชชนิดนี้คือการป่าไม้ มีความหนาแน่นปานกลาง สีเป็นสีน้ำตาลอ่อนจนถึงแดงเข้ม ซึ่งมักจะสับสนกับเนื้อไม้ของสัก (Tectona grandis) แต่เมื่อเทียบกับมะฮอกกานี เนื้อไม้ของเลี่ยนทำให้แห้งง่าย ไม่มีการห่อตัวของเนื้อไม้ ทนทานต่อเชื้อรา ใบไม่มีรสขมเท่าสะเดา
เมล็ดแข็ง มีห้าแฉก ใช้ทำลูกประคำหรือลูกปัด กิ่งที่ตัดออกไปและมีผลติดอยู่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ นกฮัมมิงเบิร์ดบางชนิด เช่น Amazilia lactea Chlorostilbon lucidus และ Phaethornis pretrei ช่วยผสมเกสรของพืชชนิดนี้ [2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] ในเคนยาปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ นำใบให้สัตว์เลี้ยงจำพวกวัวกินเพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำนม[3]
ความเป็นพิษ
[แก้]ผลเป็นพิษต่อมนุษย์เมื่อรับประทานในปริมาณหนึ่ง [4][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] แต่เป็นพิษของมันไม่เป็นอันตรายกับนก นกจึงกินผลและช่วยกระจายเมล็ดได้ สารพิษนั้นเป็นพิษต่อระบบประสาทและเรซินที่ไม่ได้จำแนกชนิด ส่วนใหญ่พบในผล อาการจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการย่อย อาการได้แก่ กระหายน้ำ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย อุจจาระเป็นเลือด ปวดท้อง หายใจขัด หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง มีสารเคมีที่คล้ายอาซาดิเรซติน ซึ่งเป็นสารหลักในน้ำมันสะเดา สารเหล่านี้อาจทำให้เนื้อไม้และเมล็ดทนทานต่อศัตรูพืช ใบใช้เป็นสารกำจัดแมลง มักจะไม่รับประทานเพราะเป็นพิษ สารละลายเจือจางของใบเคยใช้เป็นยาทำให้มดลูกคลายตัว
พืชรุกราน
[แก้]พืชชนิดนี้เป็นพืชรุกรานในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา [5][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] นอกจากปัญหาเรื่องความเป็นพิษแล้ว พืชนี้เป็นประโยชน์ในการให้ร่มเงาในสหรัฐ
อ้างอิง
[แก้]- เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]