เลิศ หงษ์ภักดี
เลิศ หงษ์ภักดี | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464) |
เสียชีวิต | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (69 ปี) |
คู่สมรส | ตรูจิตต์ หงษ์ภักดี |
เลิศ หงษ์ภักดี (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประวัติ
[แก้]เลิศ หงษ์ภักดี เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์, ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางตรูจิตต์ หงษ์ภักดี มีบุตรคือ ศุภฤกษ์ หงษ์ภักดี นายกิ่งเพชร หงษ์ภักดี ร้อยตรีหญิง ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ หงษ์ภักดี และ พ.ต.อ.ราชพร หงษ์ภักดี[2]
เลิศ หงษ์ภักดี รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. 2519 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2520 ถึงปี พ.ศ. 2524[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2524
หลังเกษียณอายุเลิศ หงษ์ภักดี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในนามพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งยกทีม ร่วมกับสกุล ศรีพรหม และประทีป กรีฑาเวช ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ก็ได้รับเลือกตั้งยกทีมในนามพรรคชาติไทยอีกสมัย ร่วมกับ สกุล ศรีพรหม ว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ
ในปี พ.ศ. 2531 นายเลิศ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาชน โดยร่วมกับกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[4]
นายเลิศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534 และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2536[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ "เปิดทรัพย์สิน'ระนองรักษ์' หลังพ้นเก้าอี้'นายก อบจ.' ยากจนกว่าช่วงเป็นรัฐมนตรี". www.koratdaily.com.
- ↑ สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเลิศ หงษ์ภักดี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๒๓ สิงหาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐๗, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๘, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2534
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.