จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลมอนเนด สตูดิโออัลบั้ม โดยวางตลาด 23 เมษายน ค.ศ. 2016 (2016-04-23 ) บันทึกเสียง 2014–2015 สตูดิโอ
เอเพ็กซ์และแมดดีเซ็นต์ (เบอร์แบงก์)
เดอะบีไฮฟ์, คอนเวย์, เฮนสัน และรีเคิดเพนต์ (ลอสแอนเจลิส)
จังเกิลซิตี (นครนิวยอร์ก)
ลาร์ราบี, มิเรอร์บอล และแปซิฟิก (นอร์ทฮอลลีวูด)
ชิพเซย์เลอร์ (นอร์ทริดจ์)
แนวเพลง
ความยาว 45 :45 ค่ายเพลง
โปรดิวเซอร์
บียอนเซ่
ดิปโล
เควิน การ์เร็ต
เจเรมี แมคโดนัลด์
เอซรา โคนิก
แจ็ก ไวต์
เมโลเอ็กซ์
ไดอานา กอร์ดอน
บูตส์
แดนนีบอยสไตลส์
เบน บิลเลียนส์
ไมค์ ดีน
วินเซนต์ เบอร์รีที่สอง
เจมส์ เบลค
โจนาธาน คอฟเฟอร์
จัส แบลซ์
ไมค์วิลเมดอิต
ลำดับอัลบั้มของบียอนเซ่
ซิงเกิล จากเลมอนเนด
"Formation" จำหน่าย: 6 กุมภาพันธ์ 2016
"Sorry" จำหน่าย: 3 พฤษภาคม 2016
"Hold Up" จำหน่าย: 27 พฤษภาคม 2016
"Freedom" จำหน่าย: 9 กันยายน 2016
"All Night" จำหน่าย: 2 ธันวาคม 2016
เลมอนเนด (อังกฤษ : Lemonade ) เป็นสตูดิโออัลบั้ม ลำดับที่ 6 ของนักร้องชาวอเมริกัน บียอนเซ่ เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2016 โดยพาร์กวูดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และโคลัมเบียเรเคิดส์ พร้อมด้วยภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน ความยาว 65 นาที เป็นวิชวลอัลบั้มชุดที่สองของบียอนเซ่ ต่อจากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ในชื่อของเธอเอง (2013) และเป็นคอนเซปต์อัลบั้มที่มีเพลงประกอบเกี่ยวกับการเดินทางทางอารมณ์ของบียอนเซ่หลังจากการนอกใจของสามี ในบริบทของรุ่นและเชื้อชาติ โดยพื้นฐานแล้วเป็นอัลบั้มแนวอาร์แอนด์บี และอาร์ตป็อป ครอบคลุมแนว เพลงที่หลากหลาย ได้แก่ เร็กเก บลูส์ ร็อก ฮิปฮอป โซล ฟังก์ อเมริกานา คันทรี กอสเปล อิเล็กทรอนิกส์ และแทร็ป มีนักร้องรับเชิญคือเจมส์ เบลค, เคนดริก ลามาร์ , เดอะวีกเอนด์ และแจ็ก ไวต์ และมีองค์ประกอบแซมพลิง และการสอดแทรกของเพลงฮิปฮอปและเพลงร็อกจำนวนหลายเพลง[ 3]
เลมอนเนด ได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากทั่วโลก และเป็นสตูดิโออัลบั้มที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในอาชีพของบียอนเซ่ อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มอันดับต้น ๆ ของนักวิจารณ์เพลงในปี 2016[ 4] และได้รับเลือกให้เป็นอัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุค ค.ศ. 2010 จากสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แอสโซซิเอเต็ดเพรส [ 5] ในปี ค.ศ. 2020 อัลบั้มนี้อยู่ในอันดับที่ 32 ในรายการ 500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของโรลลิงสโตน ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี จำนวน 9 รางวัล ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีประจำปี ครั้งที่ 59 (2017) ได้แก่ อัลบั้มแห่งปี บันทึกเสียงแห่งปี และเพลงแห่งปี ได้รับรางวัลอัลบั้มเออร์เบินร่วมสมัยยอดเยี่ยมและมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม วิชวลของอัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 11 รายการในงานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ประจำปี ค.ศ. 2016 ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับรางวัลถึง 8 รายการ รวมถึงรางวัล Breakthrough Long Form Video และ Video of the Year ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการเสนอชื่อสี่ครั้งจากงานรางวัลไพรม์ไทม์เอมมี ครั้งที่ 68 อัลบั้มได้รับรางวัลพีบอดี สาขาความบันเทิง
เลมอนเนด ติดอันดับชาร์ตในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐ ซึ่งทำรายได้ 653,000 พร้อมกับยูนิตเทียบเท่าอัลบั้ม รวมถึง 485,000 ชุดในสัปดาห์แรกของการขาย ได้รับการรับรองระดับทริปเปิลแพลทินัมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)[ 6] ในตอนท้ายของปี ค.ศ. 2016 เลมอนเนด ขายได้มากกว่า 1.5 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกาทำให้เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับสามของปีในสหรัฐอเมริกา[ 7] และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในปี ค.ศ. 2016 อ้างอิงจากสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (IFPI) ด้วยยอดขาย 2.5 ล้านชุดทั่วโลก[ 8] อัลบั้มนี้ได้รับการประชาสัมพันธ์ทั้งหมดห้าซิงเกิล : "Formation" ซึ่งเป็นเพลงฮิตติดสิบอันดับของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐ "Sorry" "Hold Up" "Freedom" และ "All Night" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 บียอนเซ่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเดอะฟอร์เมชันเวิลด์ทัวร์ เพื่อโปรโมตอัลบั้ม ซึ่งทุกสนามเป็นการทัวร์สนามกีฬา ที่ไปเยือนในอเมริกาเหนือและยุโรป
1. "Pray You Catch Me" Kevin Garrett Beyoncé James Blake Garrett Beyoncé Jeremy McDonald 3:16 2. "Hold Up" Thomas Wesley Pentz Ezra Koenig Beyoncé Emile Haynie Joshua Tillman Uzoechi Emenike Sean Rhoden Doc Pomus Mort Schuman DeAndre Way Antonio Randolph Kelvin McConnell Brian Chase Karen Orzolek Nick Zinner 3:41 3. "Don't Hurt Yourself" (featuring Jack White) Jack White Beyoncé Diana Gordon James Page Robert Plant John Paul Jones John Bonham White Beyoncé Derek Dixie[a] 3:53 4. "Sorry" MeLo-X Beyoncé Gordon Hit-Boy[a] HazeBanga[a] Stuart White[b] 3:52 5. "6 Inch" (featuring the Weeknd ) Abel Tesfaye Beyoncé Danny Schofield Ben Diehl Terius Nash Ahmad Balshe Boots Dave Portner Noah Lennox Brian Weitz Burt Bacharach Hal David DannyBoyStyles Ben Billions Beyoncé Boots Dixie[b] 4:20 6. "Daddy Lessons" Gordon Beyoncé Kevin Cossom Alex Delicata 4:48 7. "Love Drought" Mike Dean Ingrid Burley Beyoncé 3:57 8. "Sandcastles" Vincent Berry II Beyoncé Malik Yusef Midian Mathers 3:02 9. "Forward" (featuring James Blake) 1:19 10. "Freedom" (featuring Kendrick Lamar ) Jonathan Coffer Beyoncé Carla Williams Arrow Benjamin Kendrick Duckworth Frank Tirado Alan Lomax John Lomax, Sr. Jonny Coffer Beyoncé Just Blaze 4:49 11. "All Night" Pentz Beyoncé Henry Allen Ilsey Juber Theron Thomas Timothy Thomas Akil King Jaramye Daniels André Benjamin Patrick Brown Antwan Patton 5:22 12. "Formation" Michael L. Williams II Khalif Brown Asheton Hogan Beyoncé Mike Will Made-It Beyoncé Pluss[a] 3:26 ความยาวทั้งหมด: 45:45
13. "Sorry" (original demo) Beyoncé Gordon Daniel Jones 3:24 ความยาวทั้งหมด: 49:06
14. "Formation" (choreography version) Melina Matsoukas 4:22 15. "Lemonade Film" Beyoncé Knowles-Carter Kahlil Joseph Matsoukas[c] Todd Tourso[c] Dikayl Rimmasch[c] Jonas Åkerlund[c] Mark Romanek[c] 65:51 ความยาวทั้งหมด: 119:26
หมายเหตุ
↑ Wilson, Carl (April 25, 2016). "Beyoncé's "Lemonade" is incredible as a visual album. But how is it as just music?" . Slate . สืบค้นเมื่อ October 2, 2016 . ...contemporary R&B album
↑ Hogan, Marc. "Exit Music: How Radiohead's OK Computer Destroyed the Art-Pop Album in Order to Save It" . Pitchfork . สืบค้นเมื่อ May 9, 2020 . There were still great art-pop albums, but, increasingly, they weren’t necessarily rock albums. Across the last 20 years, monumental rap, R&B, and pop records like D’Angelo’s Voodoo, Kanye West’s My Beautiful Dark Twisted Fantasy, and Beyoncé’s Lemonade have filled the void of full-length statements with both artistic seriousness and mass appeal that was formerly largely occupied by guitar bands
↑ Drake, David (April 26, 2016). "Beyoncé's 'Lemonade': A Guide to Samples and Interpolations" . Rolling Stone . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 27, 2016. สืบค้นเมื่อ June 25, 2016 .
↑ Savage, Mark (2016-12-22). "Beyonce tops 2016 album 'poll of polls' " . BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-05-28 .
↑ " 'Lemonade' by Beyoncé is named the AP's album of the decade" . AP NEWS . 2019-12-12. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28 .
↑ "Gold & Platinum" . RIAA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-07-04 .
↑ "Drake's 'Views' Is Nielsen Music's Top Album of 2016 in the U.S." Billboard . January 5, 2017. สืบค้นเมื่อ June 17, 2019 .
↑ "Global Music Report 2017 (page 9)" (PDF) . IFPI . April 25, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 25, 2017 .
↑ Lemonade (booklet). Beyoncé. Parkwood . 2016.{{cite AV media notes }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ 10.0 10.1 "Lemonade (credits)" . Beyonce.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2023-03-04 .
↑ 11.0 11.1 "Lemonade by Beyoncé" . iTunes Store . สืบค้นเมื่อ November 30, 2020 .
↑ "Lemonade by Beyoncé" . Tidal . สืบค้นเมื่อ November 30, 2020 .
สตูดิโออัลบั้ม อัลบั้มทำร่วมกับศิลปินอื่น อัลบั้มซาวด์แทร็ก อีพี การเผยแพร่ไลฟ์และวิดีโอ ทัวร์คอนเสิร์ต คอนเสิร์ตและเรสซิเดนส์ ภาพยนตร์และโทรทัศน์ ธุรกิจ เพลงประกอบที่เกี่ยวข้อง ครอบครัว บทความที่เกี่ยวข้อง