บียอนเซ่ (อัลบั้ม)
บียอนเซ่ | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 13 ธันวาคม ค.ศ. 2013 | |||
บันทึกเสียง | ค.ศ. 2012–2013 | |||
สตูดิโอ |
| |||
แนวเพลง | อิเล็กโทรอาร์แอนด์บี[1] | |||
ความยาว | 66:35 | |||
ค่ายเพลง |
| |||
ผู้อำนวยการ |
| |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับอัลบั้มของบียอนเซ่ | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากบียอนเซ | ||||
|
บียอนเซ่ (อังกฤษ: Beyoncé) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 5 ของนักร้องชาวอเมริกัน บียอนเซ่ เปิดตัวในช่วงเช้าของวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2013 โดยพาร์กวูดเอ็นเตอร์เทนเมนต์และโคลัมเบียเรเคิดส์อย่างเซอร์ไพร์ส โดยพัฒนาเป็นอัลบั้มภาพ ทุกเพลงมาพร้อมกับภาพยนตร์สั้นที่ไม่ได้อยู่เส้นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงแนวคิดทางดนตรีที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต ความปรารถนาของบียอนเซ่ที่ยืนยันเสรีภาพทางศิลปะอย่างเต็มที่ของเธอเป็นแรงบันดาลใจสำหรับเนื้อหาที่มืดมน และเป็นส่วนตัว ซึ่งรวมเอาประเด็นสตรีนิยม เรื่องเพศ การมีคู่สมรสคนเดียว มาตรฐานความงาม ปัญหาความสัมพันธ์ และการวิพากษ์ระบบทุนนิยม อัลบั้มเปิดตัวในวันศุกร์ซึ่งท้าทายการเปิดตัวในวันอังคารที่เป็นมาตรฐานในเวลานั้น บียอนเซ่และการเปิดตัวมักให้เครดิตกับการคิดค้นคำจำกัดความสมัยใหม่ของอัลบั้มภาพ นิยมกลยุทธ์การออกอัลบั้มแบบเซอร์ไพรส์ และยั่วยุสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศให้เปลี่ยนวันในสัปดาห์ที่จะปล่อยเพลงทั่วโลกตั้งแต่วันอังคารถึงวันศุกร์
การบันทึกเพลงครั้งแรกของอัลบั้มเริ่มต้นขึ้นในนครนิวยอร์กซึ่งบียอนเซ่ได้เชิญโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงมาอาศัยอยู่กับเธอเป็นเวลาหนึ่งเดือน ในระหว่างการออกทัวร์ในปีถัดมา อัลบั้มเปลี่ยนไปเมื่อเธอคิดที่จะสร้างภาพประกอบให้กับเพลงและกลับมาบันทึกเสียงอีกครั้งกับโปรดิวเซอร์อิเล็กทรอนิกส์และนักดนตรีร็อก บูตส์ การร่วมงานกันของพวกเขานำไปสู่เนื้อหา แนวทดลองที่มีเสียงมากขึ้น ซึ่งผสมผสานระหว่างอาร์แอนด์บีร่วมสมัยกับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และโซล ตลอดช่วงเวลานี้ เพลงและวิดีโอของอัลบั้มถูกแต่งขึ้นอย่างเป็นความลับ เนื่องจากบียอนเซ่วางแผนปล่อยเพลงที่ไม่คาดคิด
บียอนเซ่เปิดตัวแบบดิจิทัลบนร้านไอทูนส์โดยไม่มีการประกาศหรือการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า และเปิดตัวที่อันดับหนึ่งในบิลบอร์ด 200 ของสหรัฐทำให้บียอนเซ่ติดอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้มอันดับหนึ่งติดต่อกันเป็นลำดับที่ 5 อัลบั้มขายได้มากกว่า 617,000 ชุดในสหรัฐอเมริกาและ 828,773 ชุดทั่วโลกในสามวันแรกของการขาย กลายเป็นอัลบั้มที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของร้านไอทูนส์[2] จากข้อมูลของสมาพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นแผ่นเสียงนานาชาติ (IFPI) บียอนเซเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 10 ของโลกในปี ค.ศ. 2013[3] อัลบั้มนี้ออกใหม่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 โดยเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นแพลตตินัมพร้อมกับการเล่นเพลงใหม่เพิ่มเติมและมียอดขายมากกว่า 5 ล้านชุดทั่วโลก ส่วนหนึ่งของอัลบั้มได้รับการประชาสัมพันธ์ในเดอะมิสซิซคาร์เตอร์โชว์เวิลด์ทัวร์ในช่วงปี ค.ศ. 2014
บียอนเซ่ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากจากนักวิจารณ์เมื่อเปิดตัว ซึ่งชื่นชมในด้านการผลิต การสำรวจเรื่องเพศ การแสดงเสียง ตลอดจนกลยุทธ์การออกอัลบั้มแบบเซอร์ไพรส์ซึ่งต่อมาศิลปินหลายคนก็เลียนแบบ[4] ในปี ค.ศ. 2020 บียอนเซอยู่ในอันดับที่ 81 ในรายชื่อ 500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของโรลลิงสโตน[5]
รายการเพลง
[แก้]เครดิตดัดแปลงจากบันทึกย่อของ บียอนเซ[6][7]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Pretty Hurts" |
|
| 4:17 |
2. | "Haunted" (contains hidden track "Ghost") |
|
| 6:09 |
3. | "Drunk in Love" (featuring Jay-Z) | 5:23 | ||
4. | "Blow" |
| 5:09 | |
5. | "No Angel" |
|
| 3:48 |
6. | "Partition" (contains hidden track "Yoncé") |
| 5:19 | |
7. | "Jealous" |
| 3:04 | |
8. | "Rocket" |
|
| 6:31 |
9. | "Mine" (featuring Drake) |
| 6:18 | |
10. | "XO" |
| 3:35 | |
11. | "Flawless" (featuring Chimamanda Ngozi Adichie) |
| 4:10 | |
12. | "Superpower" (featuring Frank Ocean) |
|
| 4:36 |
13. | "Heaven" |
|
| 3:50 |
14. | "Blue" (featuring Blue Ivy) |
|
| 4:26 |
ความยาวทั้งหมด: | 66:35 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ผู้กำกับ | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "Pretty Hurts" | Melina Matsoukas | 7:04 |
2. | "Ghost" | Pierre Debusschere | 2:31 |
3. | "Haunted" | Jonas Åkerlund | 5:21 |
4. | "Drunk in Love" (featuring Jay-Z) | Hype Williams | 6:21 |
5. | "Blow" | Williams | 5:25 |
6. | "No Angel" | @lilinternet | 3:53 |
7. | "Yoncé" | Ricky Saiz | 2:02 |
8. | "Partition" | Jake Nava | 3:49 |
9. | "Jealous" |
| 3:26 |
10. | "Rocket" |
| 4:30 |
11. | "Mine" (featuring Drake) | Debusschere | 4:59 |
12. | "XO" | Terry Richardson | 3:35 |
13. | "Flawless" (featuring Chimamanda Ngozi Adichie) | Nava | 4:12 |
14. | "Superpower" (featuring Frank Ocean) | Åkerlund | 5:24 |
15. | "Heaven" |
| 3:55 |
16. | "Blue" (featuring Blue Ivy) |
| 4:35 |
17. | "Credits" | 2:34 | |
18. | "Grown Woman" (bonus video) | Nava | 4:24 |
ความยาวทั้งหมด: | 78:00 |
หมายเหตุ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Beyoncé review: Beyonce's new album is an unashamed celebration of very physical virtues". The Independent. December 13, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2013. สืบค้นเมื่อ May 2, 2018.
Musically, it's the same kind of electro R&B with which radio is already awash.
- ↑ Loughrey, Clarisse (November 26, 2015). "Adele's new album 25 is No.1 on iTunes in almost every country in the world". Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2015. สืบค้นเมื่อ August 7, 2016.
- ↑ "Digital-Music-Report-2014.pdf" (PDF). International Federation of the Phonographic Industry. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 26, 2014. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
- ↑ "From 'Pulling a Beyonce' to 'On Fleek,' Slang Terms That Invaded 2014". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2018. สืบค้นเมื่อ August 31, 2018.
- ↑ "The 500 Greatest Albums of All Time". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 22, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2021. สืบค้นเมื่อ September 27, 2020.
- ↑ "Beyoncé Album Credits". Parkwood Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
- ↑ Beyoncé. Beyoncé. Columbia Records. 2013.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ "Beyoncé by Beyoncé: Amazon.co.uk: Music". Amazon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2014. สืบค้นเมื่อ November 21, 2014.