ข้ามไปเนื้อหา

ตัวเลขไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เลขไทย)

ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประวัติการเกิดขึ้นของเลขไทยที่ใช้กันในปัจจุบัน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงริเริ่มนำมาใช้เป็นภาษาของชาติไทย ทรงนำอักษรขอมมาดัดแปลง และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอาหรับ เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก

เลขพื้นฐาน

[แก้]

ศูนย์ถึงสิบ

[แก้]

ศูนย์ในเลขอาหรับเขียนเป็น 0 แบบวงรี แต่ในเลขไทยเขียนเป็น แบบวงกลมเล็ก ในบางกรณีสามารถมีความหมายว่า ตรงกลาง ด้วย[1] คำนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศูนฺย

ชื่อเลขไทยสำหรับ จำนวน +1 และหน่วยทั่วไปของ 2 ถึง 9 อยู่ในตารางข้างล่าง ซึ่งเทียบกับรูปแบบภาษาจีน (เช่น กวางตุ้งและหมิ่นหนาน) ที่มีผู้พูดในจีนตอนใต้ บ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในความเป็นจริง ศัพทมูลวิทยาของตัวเลข 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9 และ 10 คือภาษาจีนสมัยกลาง ส่วนตัวเลข 5 คือภาษาจีนเก่า[2]

ตัวเลขอาหรับ ตัวเลขไทย
ตัวเลข ตัวเขียน สัทอักษรสากล แบบอดีต ศัพทมูลวิทยา
0 ศูนย์ /sǔːn/ สันสกฤต ศูนฺย
1 หนึ่ง /nɯ̀ŋ/ อ้าย ไทดั้งเดิม */nʉŋ/[2]
2 สอง /sɔ̌ːŋ/ ยี่ จีนสมัยกลาง /saŋ/[2] (เทียบกับ 雙 sang1 ของหมิ่นหนาน) และ /nyijH/[2] (เทียบกับ 二 ji7 ของหมิ่นหนาน)
3 สาม /sǎːm/ สาม จีนสมัยกลาง /sam/[2] (เทียบกับ 三 sam1 ของแคะ/กวางตุ้ง)
4 สี่ /sìː/ ไส จีนสมัยกลาง sijH[2] (เทียบกับ 四 si3 ของหมิ่นหนาน)
5 ห้า /hâː/ งั่ว จีนเก่า /*ŋaʔ/[2] (เทียบกับ 五 ngo. ของหมิ่นหนาน)
6 หก /hòk/ ลก จีนสมัยกลาง /ljuwk/[2] (เทียบกับ 六 liok8 ของแคะ + กวางตุ้ง)
7 เจ็ด /t͡ɕèt/ เจ็ด จีนสมัยกลาง /tshit/[2] (เทียบกับ 七 chit4 ของหมิ่นหนาน)
8 แปด /pɛ̀ːt/ แปด จีนสมัยกลาง /peat/[2] (เทียบกับ 八 pat4 ของกวางตุ้ง)
9 เก้า /kâːw/ เจา จีนสมัยกลาง /kjuwX/[2] (เทียบกับ 九 kau2 ของหมิ่นหนาน)
10 ๑๐ สิบ /sìp/ จ๋ง จีนสมัยกลาง dzyip (เทียบกับ หมิ่นหนาน[2] (เทียบกับ 十 sip8 ของแคะ)

อย่างไรก็ตาม รูปร่างเลขโดดมีความคล้ายกับตัวเลขเขมร ถึงแม้ว่าชื่อเรียกสำหรับตัวเลขในภาษาไทยและลาวมีความคล้ายกัน แต่รูปร่างตัวเลขทั้งสองภาษามีรูปร่างแตกต่างกันบางส่วน โดยตารางข้างบนเทียบอักษรและการสะกดแบบกวางตุ้งกับหมิ่นหนาน ส่วนตารางข้างล่างเทียบรูปร่างตัวเลขในแบบเขมร ไทย และลาว

ตัวเลข ไทย เขมร ลาว
ตัวเลข ตัวเขียน สัทอักษรสากล แบบอดีต ตัวเลข ตัวเขียน สัทอักษรสากล ตัวเลข ตัวเขียน สัทอักษรสากล
0 ศูนย์ /sǔːn/ (ศูนฺย ในสันสกฤต) សូន្យ /soun/ ສູນ /sǔːn/
1 หนึ่ง /nɯ̀ŋ/ อ้าย មួយ /muəj/ ນຶ່ງ /nɯ̌ŋ/
2 สอง /sɔ̌ːŋ/ ยี่ ពីរ /piː/ ສອງ /sǒːŋ/
3 สาม /sǎːm/ สาม បី /ɓəj/ ສາມ /sǎːm/
4 สี่ /sìː/ ไส បួន /ɓuən/ ສີ່ /sìː/
5 ห้า /hâː/ งั่ว ប្រាំ /pram/ ຫ້າ /hâː/
6 หก hòk ลก ប្រាំមួយ /pram muəj/ ຫົກ /hók/
7 เจ็ด /t͡ɕèt/ เจ็ด ប្រាំពីរ /pram piː/ ເຈັດ /t͡ɕét/
8 แปด /pɛ̀ːt/ แปด ប្រាំបី /pram ɓəj/ ແປດ /pɛ́t/
9 เก้า /kâːw/ เจา ប្រាំបួន /pram ɓuən/ ເກົ້າ /kâw/
10 ๑๐ สิบ /sìp/ จ๋ง ១០ ដប់ /ɗɑp/ ໑໐ ສິບ /síp/

สิบถึงหนึ่งล้าน

[แก้]
เลขไทย เลขอาหรับ ค่าของตัวเลข
๑๐ 10 สิบ
๑๑ 11 สิบเอ็ด
๒๐ 20 ยี่สิบ
๑๐๐ 100 (หนึ่ง)ร้อย
๑,๐๐๐ 1,000 (หนึ่ง)พัน
๑๐,๐๐๐ 10,000 (หนึ่ง)หมื่น
๑๐๐,๐๐๐ 100,000 (หนึ่ง)แสน
๑,๐๐๐,๐๐๐ 1,000,000 (หนึ่ง)ล้าน

เลข ๑๓๒ อ่านว่า หนึ่งร้อยสามสิบสอง คำว่า ร้อย, พัน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าประจำหลัก จะต้องอ่านออกเสียงหลังเลขในหลักนั้น ๆ และในหลักภาษา จะต้องอ่านออกเสียง ๑๐๐ ว่า หนึ่งร้อย ไม่ใช่ ร้อย[ต้องการอ้างอิง] ในภาษาพูดทั่วไป คำว่า หนึ่ง มีออกเสียงเพี้ยนเป็น นึง ซึ่งทำให้ความหมายของ 100 (ร้อยนึง) กับ 101 (ร้อยหนึ่ง : ตามหลักภาษา อ่านว่า หนึ่งร้อยเอ็ด) แตกต่างกัน[ต้องการอ้างอิง]

สูงกว่าหนึ่งล้าน

[แก้]

ตัวเลขที่สูงกว่าหนึ่งล้าน สามารถใช้คำว่า ล้าน เป็นตัวคูณ เช่น 10,000,000 อ่านว่า สิบล้าน มาจากเอา "สิบ" คูณ "ล้าน"

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. English-Thai reverse lookup and synonyms
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Suthiwan, Titima; Uri Tadmor (2009). Martin Haspelmath (บ.ก.). Loanwords in the World's Languages: A Comparative Handbook. Walter de Gruyter. p. 606. ISBN 9783110218442.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]