ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
ภาษากวางตุ้ง | |
---|---|
廣東話 Gwóngdūng wá | |
ประเทศที่มีการพูด | จีน ฮ่องกง มาเก๊า และจีนโพ้นทะเล |
ภูมิภาค | สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูในมณฑลกวางตุ้ง, ทางตะวันออกของกว่างซี |
ชาติพันธุ์ | ชาวกวางตุ้ง |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน | ตัวเขียนภาษากวางตุ้ง อักษรเบรลล์ภาษากวางตุ้ง ตัวเขียนภาษาจีน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ฮ่องกง มาเก๊า |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | yue (กลุ่มใหญ่สำหรับภาษาเยฺว่ทั้งหมด) |
Linguasphere | 79-AAA-ma |
ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน หรือ สำเนียงกวางเจา คือสำเนียงของภาษากวางตุ้งที่เป็นที่ยอมรับให้เป็นสำเนียงมาตรฐาน ใช้เป็นภาษาราชการที่พูดกันในฮ่องกงและมาเก๊า ทั้งในรัฐบาลและการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษานี้เป็นภาษาประจำถิ่นของเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง และบริเวณโดยรอบทางตอนใต้ของประเทศจีน
สัทวิทยา
[แก้]ภาษากวางตุ้งมาตรฐานสามารถประสมต้นพยางค์ (พยัญชนะต้น) กับท้ายพยางค์ (สระและพยัญชนะสะกด) ได้ประมาณ 630 เสียง โดยไม่นับเสียงวรรณยุกต์
ต้นพยางค์
[แก้]ริมฝีปาก | ฟันหรือปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปกติ | ผสมเสียดแทรก | ปกติ | ห่อริมฝีปาก | |||||
เสียงนาสิก | /m/ (ม) |
/n/ (น) |
/ŋ/ (ง) |
|||||
เสียงกัก (ไม่ก้อง) |
สิถิล | /p/ (ป) |
/t/ (ต) |
/t͡s/ (ตซ คล้าย จ) |
/k/ (ก) |
/kʷ/ (กว) |
( /ʔ/ ) (อ) | |
ธนิต | /pʰ/ (พ) |
/tʰ/ (ท) |
/t͡sʰ/ (ทซ คล้าย ช) |
/kʰ/ (ค) |
/kʷʰ/ (คว) |
|||
เสียงเสียดแทรก | /f/ (ฟ) |
/s/ (ซ) |
/h/ (ฮ) | |||||
เสียงเปิด | /l/ (ล) |
/j/ (ย) |
/w/ (ว) |
นักภาษาศาสตร์บางท่านจัดว่า /j/ และ /w/ เป็นส่วนหนึ่งของท้ายพยางค์ซึ่งมากับเสียงสระ /i/ และ /u/ ตามลำดับ เหมือนกับภาษาจีนกลาง บางท่านก็วิเคราะห์ว่า /ʔ/ มาจากเสียงสระ เมื่อพยางค์นั้นไม่มีเสียงของพยัญชนะต้น
ในกลุ่มเสียงฐานฟันหรือปุ่มเหงือกสามารถเปลี่ยนแปรไปได้ /t/ กับ /tʰ/ จะอยู่ที่ฐานฟัน ในขณะที่ /t͡s/, /t͡sʰ/, /s/ ซึ่งออกเสียงที่ฐานปุ่มเหงือก.
ผู้ที่พูดภาษากวางตุ้งมาตรฐานบางคนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง /n/ กับ /l/ โดยจะออกเสียงเป็น /l/ และระหว่าง /ŋ/ กับหน่วยเสียงว่าง ซึ่งก็จะออกเสียงแต่หน่วยเสียงว่าง
ท้ายพยางค์
[แก้][aː] (อา) | [ɛː] (แอ) | [ɔː] (ออ) | [œː] (เออ) | [iː] (อี) | [uː] (อู) | [yː] (อวือ) | |||||
ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | ยาว | ยาว | |
/-i/, /-y/ (-ย) |
[aːi] (อาย) |
[ɐi] (ไอ) |
[ei] (เอ็ย) |
[ɔːy] (ออย) |
[ɵy] (เอย) |
[uːy] (อูย) |
|||||
/-u/ (-ว) |
[aːu] (อาว) |
[ɐu] (เอา) |
[ɛːu]¹ (แอว) |
[ou] (อว) |
[iːu] (อีว) |
||||||
/-m/ (-ม) |
[aːm] (อาม) |
[ɐm] (อำ) |
[ɛːm]¹ (แอม) |
[iːm] (อีม) |
|||||||
/-n/ (-น) |
[aːn] (อาน) |
[ɐn] (อัน) |
[ɛːn]¹ (แอน) |
[ɔːn] (ออน) |
[ɵn] (เอิน) |
[iːn] (อีน) |
[uːn] (อูน) |
[yːn] (อวืน) | |||
/-ŋ/ (-ง) |
[aːŋ] (อาง) |
[ɐŋ] (อัง) |
[ɛːŋ] (แอง) |
[eŋ] (เอ็ง) |
[ɔːŋ] (ออง) |
[oŋ] (อง) |
[œːŋ] (เอิง) |
||||
/-p/ (-บ) |
[aːp] (อาบ) |
[ɐp] (อับ) |
[ɛːp]¹ (แอบ) |
[iːp] (อีบ) |
|||||||
/-t/ (-ด) |
[aːt] (อาด) |
[ɐt] (อัด) |
[ɛːt]¹ (แอด) |
[ɔːt] (ออด) |
[œːt]¹ (เอิด) |
[ɵt] (เอิด) |
[iːt] (อีด) |
[uːt] (อูด) |
[yːt] (อวืด) | ||
/-k/ (-ก) |
[aːk] (อาก) |
[ɐk] (อัก) |
[ɛːk] (แอก) |
[ek] (เอ็ก) |
[ɔːk] (ออก) |
[ok] (อก) |
[œːk] (เอิก) |
และพยางค์นาสิกอีก 2 พยางค์ได้แก่ [m̩] (ทำปาก ม แล้วเปล่งเสียง), [ŋ̩] (ทำปาก ง แล้วเปล่งเสียง)
- ¹ ท้ายพยางค์ [ɛːu], [ɛːm], [ɛːn], [ɛːp], [ɛːt], [œːt] พบได้เฉพาะภาษาพูดเท่านั้น ซึ่งไม่มีการวิเคราะห์หรือการแทนด้วยอักษรโรมัน
วรรณยุกต์
[แก้]เสียงวรรณยุกต์ในภาษากวางตุ้งมาตรฐานมี 6 เสียง ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนดั้งเดิมสอนว่ามี 9 เสียง แต่ก็มี 3 เสียงที่ซ้ำกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพยางค์นั้นเป็นพยางค์เปิด (คำเป็น) หรือพยางค์ปิด (คำตาย)
พยางค์ | พยางค์เปิด | พยางค์ปิด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมายเลข | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 (หรือ 1) | 8 (หรือ 3) | 9 (หรือ 6) |
ระดับเสียง | สูง, สูง-กลาง |
กลาง-สูง | กลาง | กลาง-ต่ำ, ต่ำ |
ต่ำ-กลาง | กึ่งต่ำ | สูง | กลาง | กึ่งต่ำ |
ตัวอย่าง | 詩 | 史 | 試 | 時 | 市 | 是 | 識 | 錫 | 食 |
เสียงอ่าน | /si˥/, /si˥˧/ |
/si˧˥/ | /si˧/ | /si˨˩/, /si˩/ |
/si˩˧/ | /si˨/ | /sek˥/ | /sɛk˧/ | /sek˨/ |
กำกับเครื่องหมาย | sí, sî | sǐ | sī | si̖, sı̏ | si̗ | sì | sék | sɛ̄k | sèk |
ระบบเยล | sī, sì | sí | si | sīh, sìh | síh | sih | sīk | sek | sihk |
เสียง |