ข้ามไปเนื้อหา

เรือหลวงกระบี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงกระบี่ (OPV-551)
ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นริเวอร์
ชื่อเรือหลวง กระบี่
ตั้งชื่อตามจังหวัดกระบี่
อู่เรือกรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย และ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
ปล่อยเรือ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เดินเรือแรก2 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ส่งมอบเสร็จ26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
รหัสระบุ
สถานะยังอยู่ในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): เต็มที่ 1,969 ตัน
ความยาว: 90.5 เมตร
ความกว้าง: 13.5 เมตร
ความลึก: 3.8 เมตร
ระบบพลังงาน: เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel 16V 23/33D กำลัง 7,200 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
ระบบขับเคลื่อน: 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
ความเร็ว: 46.30 นอต (85.75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด
พิสัยเชื้อเพลิง: 3500 ไมล์ทะเล ที่ 15 นอต
จำนวนเรือและอากาศยาน: เรือยางทางยุทธวิธีพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย (RHIB) 1 ลำ
กำลังพล: 89 นาย
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:
  • เรดาร์เดินเรือ 2 ชุด
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant
  • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD Mk.2
  • ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSB2525 (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Variant)
  • ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
  • ระบบรวมการสื่อสาร (ICS) Thales FICS (Fully Integrated Communications System)
  • ระบบรวมการควบคุมเครื่องจักร (IPMS) Servowatch
ยุทโธปกรณ์:
  • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. (Westland Lynx 300) จำนวน 1 เครื่อง

    เรือหลวงกระบี่ (OPV-551) (อังกฤษ: HTMS Krabi) เป็นเรือรบประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ พัฒนามาจากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น ริเวอร์ หมายเลขประจำเรือ 551 ประจำการอยู่ในสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยเรือมีขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน และเป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยสร้างมา

    ประวัติ

    [แก้]

    เรือหลวงกระบี่เกิดขึ้นจากโครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 - 2555 ในวงเงิน 2,931 ล้านบาท โดยปรับปรุงจากแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) ของเรือชั้น ริเวอร์ ของบริษัท BAE Systems โดยมี บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารสัญญา บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด รัฐวิสาหกิจในความควบคุมของกองทัพเรือ สังกัดกระทรวงกลาโหมเป็นผู้จัดสร้าง และกรมอู่ทหารเรือ เป็นผู้ควบคุมการจัดสร้างเรือตลอดกระบวนการ โดยดำเนินการต่อเรือที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชของกรมอู่ทหารเรือ ในเขตอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาทรงทำพิธีวางกระดูกงูเรือในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 จนถึงพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และขึ้นระวางประจำการในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยมี พล.ร.อ. สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้นเป็นผู้รับมอบเรือ

    ภารกิจ

    [แก้]

    เรือหลวงกระบี่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจในการลาดตระเวนตรวจการณ์และรักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

    ข้อมูลทั่วไป

    [แก้]

    คุณลักษณะตัวเรือ

    [แก้]
    • ขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
    • ความยาวตลอดลำ 90.5 เมตร
    • ความกว้าง 13.5 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.8 เมตร
    • อัตราการทนคลื่นลมรุนแรง ระดับ Sea State 5
    • ความเร็วสูงสุด 25 น็อต (46.30 กม./ชม.)
    • ความเร็วเดินทาง 15 น็อต (27.78 กม./ชม.)
    • รัศมีทำการสูงสุด 3,500 ไมล์ทะเล
    • กำลังพลประจำเรือ 89 นาย

    ระบบขับเคลื่อนตัวเรือ

    [แก้]
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel 16V 23/33D กำลัง 7,200 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
    • ชุดเกียร์แบบ ZF Marine 53600 NR2H
    • เพลาใบจักรจำนวน 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้

    ระบบอิเล็กทรอนิกส์ประจำเรือ

    [แก้]
    • เรดาร์เดินเรือ 2 ชุด
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant
    • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD Mk.2
    • ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSB2525 (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Variant)
    • ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
    • ระบบรวมการสื่อสาร (ICS) Thales FICS (Fully Integrated Communications System)
    • ระบบรวมการควบคุมเครื่องจักร (IPMS) Servowatch

    ระบบอาวุธประจำเรือ

    [แก้]
    ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์
    ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม.
    • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น

    ระบบสนับสนุนการรบ

    [แก้]
    • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. (Westland Lynx 300) จำนวน 1 เครื่อง
    • เรือยางทางยุทธวิธีพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย (RHIB) 1 ลำ

    สื่อและสารคดีเกี่ยวกับเรือหลวงกระบี่

    [แก้]

    ทางคณะกรรมการจัดทำสารคดีและสื่อโทรทัศน์ของกองทัพเรือได้ดำเนินการจัดทำสารคดีเกี่ยวกับการต่อเรือหลวงกระบี่ในชื่อ "เรือหลวงกระบี่ ราชนาวีต่อเรือ" ซึ่งจะทำการเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส Thai PBS และช่อง Navy Channel ซึ่งเป็นช่อง youtube VDO อย่างเป็นทางการของคณะกรรมการจัดทำสารคดีและสื่อโทรทัศน์ของกองทัพเรือ

    อ้างอิง

    [แก้]