เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5
เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 ซึ่งโครงสร้างเป็นรุ่นเดียวกับ ที3 | |
ประวัติ | |
---|---|
ออสเตรีย-ฮังการี | |
ชื่อ | 87เอฟ |
อู่เรือ | Ganz & Danubius |
ปล่อยเรือ | 5 มีนาคม 2457 |
เดินเรือแรก | 20 มีนาคม 2458 |
เข้าประจำการ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2458 |
หยุดให้บริการ | พ.ศ. 2461 |
ความเป็นไป | ส่งมอบให้ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน |
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย | |
ชื่อ | ที5 |
ส่งมอบเสร็จ | มีนาคม พ.ศ. 2464 |
หยุดให้บริการ | เมษายน พ.ศ. 2484 |
ความเป็นไป | อิตาลียึด |
ราชอาณาจักรอิตาลี | |
ชื่อ | ที5 |
ส่งมอบเสร็จ | เมษายน พ.ศ. 2484 |
หยุดให้บริการ | กันยายน พ.ศ. 2486 |
ความเป็นไป | ส่งคืนให้ยูโกสลาเวีย |
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย | |
ชื่อ | ที5 |
ส่งมอบเสร็จ | ธันวาคม พ.ศ. 2486 |
หยุดให้บริการ | พฤษภาคม พ.ศ. 2488 |
ยูโกสลาเวีย | |
ชื่อ | เคอร์ |
ตั้งชื่อตาม | ยุทธการเคอร์ |
ส่งมอบเสร็จ | พฤษภาคม พ.ศ. 2488 |
หยุดให้บริการ | พ.ศ. 2505 |
ความเป็นไป | ถูกแยกชิ้นส่วน |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | เรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที, เรือยิงตอร์ปิโดชั้น เอฟ |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | |
ความยาว: | 58.5 m (191 ft 11 in) |
ความกว้าง: | 5.8 m (19 ft 0 in) |
กินน้ำลึก: | 1.5 m (4 ft 11 in) |
ระบบพลังงาน: |
|
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: | 28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 1,200 nmi (2,200 km; 1,400 mi)ที่ 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
อัตราเต็มที่: | 38–41 |
ยุทโธปกรณ์: |
|
เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 (อังกฤษ: T5) เป็นเรือยิงตอร์ปิโดประจำการในราชนาวียูโกสลาเวียระหว่างปี 2464–2484 ชื่อเดิมคือ 87เอฟ (อังกฤษ: 87 F) เป็นเรือยิงตอร์ปิโดขนาด 250 ตัน (250 ตัน) ของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีระหว่างปี 2457–58 มีปืนขนาด 66 มม. (2.6 นิ้ว) สองกระบอก และท่อตอร์ปิโด 4 ท่อขนาด 450 มม. (17.7 นิ้ว) สี่ท่อ และสามารถบรรทุกทุ่นระเบิดเรือ 10-12 ลูก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีการใช้เรือในภารกิจขบวนเรือ ลาดตระเวน คุ้มกันและเก็บกวาดทุ่นระเบิด ปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำและภารกิจโจมตีชายฝั่ง หลังออสเตรีย-ฮังการีปราชัยในปี 2461 มีการจัดสรร 87เอฟ ให้แก่ราชนาวีราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชนาวียูโกสลาเวียและได้เปลี่ยนชื่อเป็น ที5 ขณะนั้น เรือดังกล่าวและเรือชั้น 250ที อื่น ๆ อีกเจ็ดลำเป็นเรือเดินสมุทรสมัยใหม่ไม่กี่ลำของกองทัพเรือนั้น
ในสมัยระหว่างสงคราม ที5 และกองทัพเรือที่เหลือเข้าร่วมการฝึกซ้อมและลาดตระเวนไปท่าเรือฝ่ายเดียวกัน แต่กิจกรรมถูกจำกัดด้วยงบประมาณกองทัพเรือที่ลดลง อิตาลียึดเรือดังกล่าวได้ระหว่างการบุกครองยูโกสลาเวียของฝ่ายอักษะที่มีเยอรมนีเป็นผู้นำในเดือนเมษายน 2484 จากนั้นมีการปรับปรุงอาวุธหลักของเรือให้ทันสมัย เรือเข้าประจำการในกองทัพเรืออิตาลีภายใต้ชื่อยูโกสลาเวียเดิม ปฏิบัติภารกิจชายฝั่งและคุ้มกันแถวสองในทะเลเอเดรียติก หลังอิตาลียอมแพ้ในกันยายน 2486 อิตาลีส่งมอบเรือคืนแก่ราชนาวียูโกสลาเวียพลัดถิ่น เมื่อสงครามยุติ ก็มีการส่งมอบเรือให้กับกองทัพเรือยูโกสลาเวียใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น เคอร์ จนมีการแยกชิ้นส่วนในปี 2505
เบื้องหลัง
[แก้]ใน พ.ศ. 2453 คณะกรรมการเทคนิคทหารเรือออสเตรีย-ฮังการีริเริ่มโครงการการออกแบบและพัฒนาเรือยิงตอร์ปิโดชายฝั่งระวางขับน้ำ 275 ตัน (271 ลองตัน) และกำหนดว่าควรคงความเร็วได้ 30 นอต (56 กม./ชม.) เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ข้อกำหนดนี้ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ว่ากำลังข้าศึกจะปิดล้อมช่องแคบโอตรันโต ซึ่งเป็นที่บรรจบของทะเลเอเดรียติกกับทะเลไอโอเนียน ระหว่างความขัดแย้งในอนาคต ในพฤติการณ์เช่นนั้น มีความจำเป็นต้องใช้เรือยิงตอร์ปิโดซึ่งสามารถแล่นจากฐานทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี (เยอรมัน: kaiserliche und königliche Kriegsmarine) ที่อ่าวโคโทรไปช่องแคบดังกล่าวในยามกลางคืน หาตำแหน่งและโจมตีเรือที่ปิดล้อมแล้วกลับสู่ท่าเรือก่อนเช้า มีการเลือกเครื่องยนต์กังหันไอน้ำสำหรับการขับเคลื่อน เนื่องจากไม่มีน้ำมันดีเซลที่มีพลังงานที่จำเป็น และกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีไม่มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติในการใช้เรือกังหันไฟฟ้า บริษัทต่อเรือด้านเทคนิคของตรีเยสเต (อิตาลี: Stabilimento Tecnico Triestino, ชื่อย่อ: STT) ได้รับคัดเลือกให้ทำสัญญาต่อเรือแปดลำแรกในชื่อกลุ่ม ที มีการขอคำเสนอให้ต่อเรืออีกสี่ลำ แต่เมื่อบริษัทต่อเรือแกนซ์และดานูบิอุส (อิตาลี: Ganz Danubius) ซึ่งเป็นคู่แข่ง ลดราคาสิบเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีการสั่งเรือรวมสิบหกลำจากบริษัทดังกล่าว ชื่อว่ากลุ่ม เอฟ[1] ซึ่งกลุ่มชื่อเอฟ หมายถึงตำแหน่งอู่ต่อเรือหลักของแกนซ์และดานูบิอุสที่ฟีอูเม[2]
การออกแบบและการต่อเรือ
[แก้]เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 มีความยาว 250 ฟุต กลุ่มเอฟ มีความยาว 58.5 เมตร (191 ฟุต 11 นิ้ว) ความกว้าง 5.8 m (19 ft 0 in) และกินน้ำลึกปกติ 1.5 m (4 ft 11 in) มีระวางขับน้ำตามการออกแบบ 266 ตันและเพิ่มเป็น 330 ตัน เมื่อบรรทุกเต็มที่[2] สามารถบรรจุลูกเรือได้ 38–41 คน[1][2] เรือขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำ เออีจีเคอร์ทิสส์ 2 ใบพัด ขับเคลื่อนโดยหม้อไอน้ำแบบยาร์โรว์ 2 หม้อ [1] หม้อหนึ่งเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง และอีกหม้อหนึ่งเผาไหม้ถ่านหิน กังหันทั้งสองจัดเป็น 5,000 แรงม้า (3,700 กิโลวัตต์) และสูงสุดถึง 6,000 แรงม้า (4,500 กิโลวัตต์) และออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนเรือให้มีความเร็วสูงสุด 28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2] บรรทุกถ่านหิน 20 ตัน และน้ำมันเชื้อเพลิง 34 ตัน[3] ทำให้มีพิสัย 1,200 nmi (2,200 km; 1,400 mi) ที่ความเร็ว 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2] กลุ่มเอฟมีปล่องควันสองปล่องซึ่งมากกว่ากลุ่มทีซึ่งมีปล่องเดียว[1] เนื่องจากการจัดหาทุนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที ลำที่เหลือกลายเป็นเรือชายฝั่งโดยสภาพแม้ว่ามีเจตนาทีแรกให้ปฏิบัติการ "ทะเลน้ำลึก"[4] เป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือเล็กของออสเตรีย-ฮังการีที่ใช้ระบบกังหันและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับระบบใหม่[1]
เรือลำนี้มีปืนสโกด้า 66 มิลลิเมตร (2.6 นิ้ว) แอล/30 2 กระบอก[a] และ ตอร์ปิโด 450 mm (17.7 in) 4 ลูก สามารถพกทุ่นระเบิดเรือ 10-12 ลูก[2] 87เอฟ เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2457 ถูกปล่อยลงน้ำ 20 มีนาคม พ.ศ. 2458 และขึ้นระวางวันที่ 25 ตุลาคมของปีเดียวกัน[5]
การใช้งาน
[แก้]สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 87เอฟ ถูกนำมาใช้เพื่อลาดตระเวนคุ้มกันและกวาดทุ่นระเบิด รวมถึงปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำ[1] และภารกิจโจมตีชายฝั่ง[4][6] 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250 ที อีกสองลำเข้าร่วมปฏิบัติโจมตีชายฝั่งใน ออร์โทนา และซาน วีโท ชีลติโน ของอิตาลี นำโดยเรือรบหุ้มเกราะ เซนต์ กีออร์ก [6] สามวันต่อมาเรือลาดตระเวน เฮลโกแลนด์ เรือยิงตอร์ปิโด 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดรุ่น 250ที อีกห้าลำถูกดักฟังโดย เรือประมงลาดตระเวนส่วนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ จากเมืองเวย์มัทของอังกฤษ และเรือพิฆาต บูคลิเออร์ ของฝรั่งเศสบริเวณทางตอนเหนือของเมืองดูร์เรสโซ ในแอลเบเนีย ในระหว่างการปะทะกันระหว่างสองฝ่ายมีเพียงเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที 2 ลำเท่านันที่ได้รับความเสียหาย ในวันที่ 9 กรกฎาคมเรือลาดตระเวน นาวารา นำได้ร่วมกับ 87เอฟ และ เรือตอร์ปิโดชั้นไคมาน 2 ลำ ในการเข้าโจมตีกองเรือพันธมิตรที่ปิดกั้นช่องแคบโอตรันโต ผลของการปะทะทำให้เรือเดินสมุทรสองลำจมล่มลง[7] วันที่ 4 พฤศจิกายนเรือพิฆาตสามลำและเรือตอร์ปิโดสามลำของอิตาลีได้เผชิญหน้ากับเรือพิฆาตของออสเตรีย – ฮังการี สองลำ พร้อมเรือยิงตอร์ปิโดรุ่น 250 ที จำนวน 2 ลำ ทางตอนเหนือของทะเลเอเดรียติก วันรุ่งขึ้นเรือตอร์ปิโดสามลำของอิตาลีได้เข้าโจมตีบริเวณชายฝั่งแซนต์ เอลปิดิโอ[8] ในปี พ.ศ. 2460 ได้มีการติดตั้งปืน 66 มิลลิเมตรไว้บน 87เอฟ เพื่อใช้ปืนต่อต้านอากาศยาน[2] เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที สองลำได้เริ่มภารกิจโจมตีชายฝั่ง ซึ่งในภารกิจที่สอง 87เอฟ ได้เข้าร่วมกับเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที เจ็ดลำกับเรือพิฆาตอีกหกลำในการการโจมตีชายฝั่งปอร์โตคอร์ซินี่ มารอตตา และ เซเซนาติโก[9]
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 ฝ่ายพันธมิตรได้เพิ่มกำลังการปิดล้อมอย่างต่อเนื่องบนช่องแคบโอตรันโต ตามที่กองทัพเรือออสเตรีย - ฮังการีคาดการณ์ไว้ ซึ่งส่งผลให้ปฏิบัติการณ์ของเรืออูของทั้งอออสเตรีย - ฮังการีและเยอรมันในทะเลเมดิเตอเรเนียนยากขึ้น ผู้บัญชาการกองทัพเรือออสเตรีย - ฮังการีคนใหม่ พลเรือตรีมิกโลช โฮร์ตี ตัดสินใจจะเข้าโจมตีกองเรือฝ่ายพันธมิตรโดยเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวนและเรือพิฆาต [10]ในตอนกลางคืนของวันที่ 8 มิถุนายน โฮร์ตี ได้นำทัพเรือออกจากฐานทัพเรือโพลาในทะเลเอเดรียติกตอนบนพร้อมเรือประจัญบานเดรดนอต วิริบัส ยูนิทิส และ พรินซ์ออยเกน เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2461 หลังจากมีปัญหาในการนำโซ่กันเรือในท่าเทียบเรือออก เรือประจัญบานเดรดนอต เซนต์ อิชต์วาน และ เทเก็ททอฟ [11] เรือพิฆาตหนึ่งลำและเรือยิงตอร์ปิโดหกลำซึ่งรวมถึง 87เอฟ ได้ออกจาก โพลา ไปยัง สลาโน ทางตอนเหนือของรากูซา (ปัจจุบันคือเมืองดูโบรฟนิก) เพื่อนัดพบกับกองเรือของโฮร์ตีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าโจมตีกองเรือพันธมิตรบริเวณช่องแคบโอตรันโต ในวันที่ 10 มิถุนายน เวลาประมาณ 03:15 [b]ในขณะที่เรือยนต์ยิงตอร์ปิโดสองลำของราชนาวีอิตาลี (อิตาลี: Regia Marina) เอ็มเอเอส 15 และ เอ็มเอเอส 21 กลับจากการลาดตระเวนนอกชายฝั่งแดลเมเชียได้เห็นควันจากเรือของออสเตรีย - ฮังการี ทั้งสองลำประสบความสำเร็จในการเจาะการคุ้มกันส่วนหน้าและแยกทางกันโดย เอ็มเอเอส 21 เข้าโจมตีเรือเทเก็ททอฟ แต่ตอร์ปิโดยิงพลาดเป้า [13] ณ เวลา 03:25 น. เอ็มเอเอส 15 ภายใต้การบังคับบัญชาของ ลุยจิ ริซโซ่ ยิงตอร์ปิโดสองลูกถูกเรือเซนต์ อิชต์วาน ซึ่งทำให้ห้องหม้อไอน้ำของเรือ เซนต์ อิชต์วาน เป็นรูรั่ว น้ำได้เข้าท่วมตัวเรือแต่ไม่สามารถระบายได้เนื่องจากน้ำได้ทำลายระบบพลังงานปั้มสูบน้ำไปแล้ว สามชั่วโมงต่อมาเรือ เซนต์ อิชต์วาน ได้อับปางลง[12] ในตุลาคม พ.ศ. 2461 ท่าเรือในเมืองดูร์เรสโซที่แอลเบเนียถูกระดมยิงโดยกองทัพเรือพันธมิตร 87เอฟ รอดจากการถูกโจมตีแต่เรือได้รับความเสียหายเล็กน้อย ซึ่งนั้นเป็นการทำหน้าที่สุดท้ายให้กับกองทัพเรือออสเตรีย - ฮังการี[14]
สมัยระหว่างสงคราม
[แก้]เรือยิงตอร์ปิโด 87เอฟ สามรถรอดจากสงครามได้[1] ใน พ.ศ. 2463 ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ทำให้เรือตกเป็นของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (KSCS, ภายหลังคือราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย) พร้อมกับเรือยิงตอร์ปิโดลำอื่นอีกในชั้น 250ที ได้แก่เรือกลุ่มเอฟ ได้แก่ 93เอฟ 96เอฟ และ 97เอฟ และเรือกลุ่มที สี่ลำ ต่อมาเรือได้เข้าประจำการใน ราชนาวียูโกสลาเวีย (เซอร์โบ-โครแอต: KJRM; Кpaљeвcкa Југословенска Pатна Морнарица) ซึ่งได้รับเรือในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464[15] และได้ถูกปล่อยชื่อเป็น ที5[2] ใน พ.ศ. 2468 ได้มีการจัดการซ้อมรบตามชายฝั่งแดลเมเชียซึ่งเกี่ยวข้องกับกองทัพเรือส่วนใหญ่[16] การซ้อมรบในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2472 มีเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที จำนวน 6 ลำซึ่งมาพร้อมกับเรือลาดตระเวน Dalmacija เรือสนับสนุนเรือดำน้ำ Hvar และเรือดำน้ำ Hrabri และ Nebojša ล่องเรือไปยังเกาะมอลตา เกาะคอร์ฟูของกรีซ ในทะเลไอโอเนียน และเมือง บีเซิร์ท ในตูนิเซียใต้อารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งไม่ชัดเจนว่า ที5 เป็นหนึ่งในเรือยิงตอร์ปิโดที่อยู่ในการซ้อมรบหรือไม่ ซึ่งเรือและลูกเรือสร้างความประทับใจที่ดีมากในขณะเดินทางเยือนมอลตา[17] ใน พ.ศ. 2475 กองเรือราชนาวีอังกฤษรายงานว่าราชนาวียูโกสลาเวียอยู่ในช่วงขาดงบประมาณทำให้การซ้อมรบและการฝึกยิงปืนใหญ่ลดลง[18]
สงครามโลกครั้งที่สองและหลังสงคราม
[แก้]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 ยูโกสลาเวียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเยอรมนีรุกรานยูโกสลาเวีย โดยในช่วงเวลาการรุกราน ที5 ได้รับมอบหมายให้อยู่ในกองเรือยิงตอร์ปิโดที่ 3 อยู่ใน ซิเบนิก ร่วมกับเรือกลุ่มเอฟอีกสามลำ[19] เมื่อวันที่ 8 เมษายน เรือยิงตอร์ปิโดทั้งสี่ลำของกองเรือยิงตอร์ปิโดที่ 3 พร้อมกับเรือลำอื่นถูกมอบหมายให้สนับสนุนการโจมตีเขตอิตาลีที่ซาดาร์ บนชายฝั่งแดลเมเชีย กองเรือถูกโจมตีทางอากาศจากกองทัพอากาศอิตาลีสามครั้งและหลังจากที่แล่นออกจากพื้นที่ซาทอนลงสู่ทะเลสาบ Prokljan ซึ่งกองเรืออยู่จนถึงวันที่ 11 เมษายน[20] ในวันที่ 12 เมษายนกองเรือยิงตอร์ปิโดที่ 3 ถึงเมืองมิลนาบนเกาะบราช และก่อนที่จะปฏิเสธที่คำสั่งให้แล่นเรือไปที่อ่าวคาร์[21] ในที่สุดทั้งสี่ลำถูกยึดโดยอิตาลี[22]
ที5 ได้เข้าประจำการในราชนาวีอิตาลีทำหน้าที่คุ้มกันชายฝั่งและเส้นทางเดินเรือในทะเลเอเดรียติก เรือได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดยแทนปืนต่อต้านอากาศยานด้วยปืน 76 mm (3.0 in) แอล/40 [23] แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างจากเดิมมากหนัก[24] หลังจากที่อิตาลียอมจำนนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 อิตาลีก็ส่งมอบเรือคืนในเดือนธันวาคมของปีนั้น[1] ที5 ได้กลับเข้าประจำการในยูโกสลาเวียหลังสงครามและเปลี่ยนชื่อเป็น เคอร์ เรือถูกติดตั้งปืนขนาด 40 mm (1.6 in), 40 mm (1.6 in) และ ปืน 20 mm (0.79 in) และท่อตอร์ปิโดถูกถอดออก เรือยังทำหน้าที่จนกระทั่งปลดประจำการใน พ.ศ. 2505[25]
หมายเหตุ
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Gardiner 1985, p. 339.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Greger 1976, p. 58.
- ↑ Jane's Information Group 1989, p. 313.
- ↑ 4.0 4.1 O'Hara, Worth & Dickson 2013, pp. 26–27.
- ↑ Greger 1976, p. 60.
- ↑ 6.0 6.1 Cernuschi & O'Hara 2015, p. 169.
- ↑ Cernuschi & O'Hara 2015, p. 170.
- ↑ Cernuschi & O'Hara 2015, p. 171.
- ↑ Cernuschi & O'Hara 2016.
- ↑ Sokol 1968, pp. 133–134.
- ↑ 11.0 11.1 Sokol 1968, p. 134.
- ↑ 12.0 12.1 Sieche 1991, pp. 127, 131.
- ↑ Sokol 1968, p. 135.
- ↑ Halpern 2012, pp. 259–261.
- ↑ Vego 1982, p. 345.
- ↑ Jarman 1997a, p. 733.
- ↑ Jarman 1997b, p. 183.
- ↑ Jarman 1997b, p. 451.
- ↑ Niehorster 2016.
- ↑ Terzić 1982, p. 333.
- ↑ Terzić 1982, p. 404.
- ↑ Greger 1976, pp. 58 & 60.
- ↑ Brescia 2012, p. 151.
- ↑ Chesneau 1980, p. 304.
- ↑ Gardiner 1983, p. 388.
อ้างอิง
[แก้]- Brescia, Maurizio (2012). Mussolini's Navy. Barnsley, South Yorkshire: Seaforth Publishing. ISBN 978-1-59114-544-8.
- Cernuschi, Enrico & O'Hara, Vincent P. (2015). "The Naval War in the Adriatic Part I: 1914–1916". ใน Jordan, John (บ.ก.). Warship 2015. London: Bloomsbury. pp. 161–173. ISBN 978-1-84486-295-5.
- Cernuschi, Enrico & O'Hara, Vincent P. (2016). "The Naval War in the Adriatic Part II: 1917–1918". ใน Jordan, John (บ.ก.). Warship 2016. London: Bloomsbury. pp. 62–75. ISBN 978-1-84486-438-6.
- Chesneau, Roger, บ.ก. (1980). Conway's All the World's Fighting Ships 1922–1946. London: Conway Maritime Press. ISBN 978-0-85177-146-5.
- Gardiner, Robert, บ.ก. (1985). Conway's All the World's Fighting Ships 1906–1921. London: Conway Maritime Press. ISBN 978-0-85177-245-5.
- Gardiner, Robert, บ.ก. (1983). Conway's All the World's Fighting Ships 1947–1982. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-0-87021-919-1.
- Greger, René (1976). Austro-Hungarian Warships of World War I. London: Ian Allan. ISBN 978-0-7110-0623-2.
- Halpern, Paul G. (2012). A Naval History of World War I. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-0-87021-266-6.
- Jane's Information Group (1989) [1946/47]. Jane's Fighting Ships of World War II. London: Studio Editions. ISBN 978-1-85170-194-0.
- Jarman, Robert L., บ.ก. (1997a). Yugoslavia Political Diaries 1918–1965. Vol. 1. Slough, Berkshire: Archives Edition. ISBN 978-1-85207-950-5.
- Jarman, Robert L., บ.ก. (1997b). Yugoslavia Political Diaries 1918–1965. Vol. 2. Slough, Berkshire: Archives Edition. ISBN 978-1-85207-950-5.
- Niehorster, Leo (2016). "Balkan Operations Order of Battle Royal Yugoslavian Navy 6th April 1941". World War II Armed Forces: Orders of Battle and Organizations. Leo Niehorster. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- O'Hara, Vincent; Worth, Richard & Dickson, W. (2013). To Crown the Waves: The Great Navies of the First World War. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-1-61251-269-3.
- Sieche, Erwin F. (1991). "S.M.S. Szent István: Hungaria's Only and Ill-Fated Dreadnought". Warship International. XXVII (2): 112–146. ISSN 0043-0374.
- Sokol, Anthony Eugene (1968). The Imperial and Royal Austro-Hungarian Navy. Annapolis, Maryland: U.S. Naval Institute. OCLC 1912.
- Terzić, Velimir (1982). Slom Kraljevine Jugoslavije 1941: Uzroci i posledice poraza [The Collapse of the Kingdom of Yugoslavia in 1941: Causes and Consequences of Defeat] (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Vol. 2. Belgrade, Yugoslavia: Narodna knjiga. OCLC 10276738.
- Vego, Milan (1982). "The Yugoslav Navy 1918–1941". Warship International. XIX (4): 342–361. ISSN 0043-0374.
- บทความคัดสรร
- เรือที่ต่อในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- เรือรบออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- เรือรบยูโกสลาเวียในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือรบอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือในสังกัดกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี
- เรือในสังกัดกองทัพเรือยูโกสลาเวีย
- เรือในสังกัดกองทัพเรืออิตาลี
- เรือตอร์ปิโด
- เรือตอร์ปิโดในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- เรือในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือในสงครามเย็น
- เรือที่ถูกเข้ายึด