เรวัต อารีรอบ
เรวัต อารีรอบ | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (4 ปี 65 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ |
คะแนนเสียง | 86,616 (64.91%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มีนาคม พ.ศ. 2509 อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–2567) ทีมภูเก็ตหยัดได้ (2563-ปัจจุบัน) |
เรวัต อารีรอบ (เกิด 13 มีนาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น วัต เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สาธิต ปิตุเตชะ) ปัจจุบันเป็นหัวหน้าทีมภูเก็ตหยัดได้
ประวัติ
[แก้]เรวัต เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อสายอาชีวศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต จนจบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และได้เข้าศึกษาที่สถาบันการบินพลเรือน สังกัดกระทรวงคมนาคม จากนั้นได้ศึกษาต่อโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2546 ถึงปี พ.ศ. 2549 และศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
การทำงาน
[แก้]เรวัต อารีรอบ ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในชื่อ "เรวัตฟาร์ม" ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ คู่กับนายทศพร เทพบุตร และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง
ในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ประจำรัฐมนตรีช่วยฯ สาธิต ปิตุเตชะ)[1] และเขาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในนามทีมภูเก็ตหยัดได้[2]
ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 20 คน ในนามทีมภูเก็ตหยัดได้ ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563[3]
15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เรวัตลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[4]
ในปี พ.ศ. 2568 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตอีกครั้ง พร้อมด้วยนำผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 23 คน 23 เขต สมัครรับเลือกตั้งในนามทีมภูเก็ตหยัดได้ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตอีกครั้งด้วยคะแนนที่มากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน พร้อมด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 21 คน ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2568 นับเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตคนที่ 2 ที่ได้รับเลือกตั้งถึง 2 สมัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๒๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒ ราย ๑. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๒. นายเรวัต อารีรอบ)
- ↑ “เรวัต”ทิ้งเก้าอี้เลขาฯรมช.สธ.ลงชิง นายก อบจ.ภูเก็ต
- ↑ “เรวัต อารีรอบ” เอาชนะคู่แข่งนั่งเก้าอี้นายก อบจ.ภูเก็ต มีผู้ออกมาใช้สิทธิกว่าร้อยละ 50
- ↑ ""พงศกร ขวัญเมือง" หมดศรัทธา ปชป. ประกาศลาออกจากสมาชิกพรรคหลังมติร่วมรัฐบาล". mgronline.com. 2024-08-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดภูเก็ต
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
- บุคคลจากสถาบันการบินพลเรือน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.