เยาวเรศ ชินวัตร
เยาวเรศ ชินวัตร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มกราคม พ.ศ. 2495 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2542—2549) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551—2561) ไทยรักษาชาติ (2561—2562) |
คู่สมรส | วีรชัย วงศ์นภาจันทร์ (หย่า) |
เยาวเรศ ชินวัตร ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาวิชาชีพสตรี นายกสมาคมชาวเหนือแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ และ ที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี[1]เป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]เยาวเรศ เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรสาวคนที่ 2 ในจำนวน 10 คน ของ นาย เลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย และสายพาณิชยการ จากวิทยาลัยเกริก จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านการบริหารที่ประเทศอังกฤษจนจบอนุปริญญา เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนเรศวรในสาขาพัฒนาสังคม แต่ก็ได้ลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2549
มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ชื่อ นางสาว ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ (แซน) ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นาย รัตนพล วงศ์นภาจันทร์ (ซัน) และ นาย ธนวัต วงศ์นภาจันทร์ (ซูน)
การทำงาน
[แก้]เยาวเรศ เริ่มต้นทำงานด้วยการเป็นเลขานุการ ต่อมาทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (แอร์โฮสเตส) สายการบินแอร์สยาม จากนั้นลาออกมาทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ของครอบครัว และทำธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดร้านขายสินค้าชุมชนและงานศิลปะ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในนาม บริษัท ชินวัตร โฮม จำกัด โดยให้รัตนะ และชยิกา วงศ์นภาจันทร์ บุตรชายและบุตรสาวเข้ามาดูแลในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายตามลำดับ ส่วนเยาวเรศดูแลภาพรวมในตำแหน่งซีอีโอ[2] ปัจจุบันเยาวเรศเป็นเจ้าของร้านอาหารครัวคุณเรศ
เยาวเรศ เคยสมรสกับนายวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ นักธุรกิจไทยเชื้อสายจีน ปัจจุบันแยกทางกันแล้ว มีบุตร 3 คน ใช้นามสกุลของบิดาคือ นางสาวชยิกา นายรัตนพล และ นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รวมคำสั่ง“ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์”ตั้งเครือญาติ 10 คนเป็น ขรก.การเมือง-บอร์ดรัฐ
- ↑ ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 155
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๙๓
- ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร (2554). บริหารคนบริหารงานสไตล์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. ปราชญ์ สำนักพิมพ์. ISBN 9786162520129.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสันกำแพง
- สกุลชินวัตร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อธรรม
- พรรคไทยรักษาชาติ
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์