เมย์ฟลาวเวอร์
เรือ เมย์ฟลาวเวอร์ ในทะเล
| |
ประวัติ | |
---|---|
อังกฤษ | |
ชื่อ | เมย์ฟลาวเวอร์ |
เจ้าของ | คริสโตเฟอร์ โจนส์ (¼ ของเรือ) |
Maiden voyage | ก่อน ค.ศ. 1609 |
หยุดให้บริการ | ค.ศ. 1622–1624 |
ความเป็นไป | คาดว่าถูกแยกส่วนที่เมืองรอเดอร์ไฮธ์ ประมาณ ค.ศ. 1624 |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | เรือเฟลาต์สำหรับบรรทุกแบบดัตช์ |
ขนาด (ตัน): | 180 ตัน+ |
ความยาว: | ประมาณ 80–90 ฟุต (24–27.5 เมตร) บนดาดฟ้าเรือ, 100–110 ฟุต (30–33.5 เมตร) ทั้งหมด |
ดาดฟ้า: | ประมาณ 4 ชั้น |
ความจุ: | ไม่ทราบ แต่บรรทุกประมาณ 135 คนไปยังอาณานิคมพลีมัธ |
เมย์ฟลาวเวอร์ (อังกฤษ: Mayflower) เป็นเรือสัญชาติอังกฤษที่ขนส่งผู้ตั้งถิ่นฐานที่ปัจจุบันรู้จักในนามพิลกริม จากอังกฤษไปยังโลกใหม่ในปี ค.ศ. 1620 หลังล่องในทะเลนาน 10 สัปดาห์ เรือ เมย์ฟลาวเวอร์ ที่บรรทุกผู้โดยสาร 102 คนและลูกเรือประมาณ 30 คนมาถึงอเมริกา โดยทอดสมอใกล้ปลายเคปค้อดในแมสซาชูเซตส์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน (วันที่แบบเก่า 11 พฤศจิกายน) ค.ศ. 1620[1]: 66
พิลกริมอยู่ร่วมสมัยกับพิวริตัน ซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนที่ต้องการปฏิรูปคริสตจักรแห่งอังกฤษ[2] แต่พิลกริมเลือกจะแยกตัวจากคริสตจักรแห่งอังกฤษเนื่องจากมีมุมมองทางศาสนาเป็นของตนเอง และเชื่อว่าการปฏิรูปคริสตจักรแห่งอังกฤษนั้นไม่เพียงพอ[3] ในปี ค.ศ. 1608 พิลกริมอพยพไปยังฮอลแลนด์ที่พวกเขาสามารถประกอบพิธีกรรมได้อย่างอิสระ ล่วงถึง ค.ศ. 1620 พิลกริมตั้งใจจะข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังอเมริกาที่พวกเขาถือเป็น "แผ่นดินแห่งพระสัญญาใหม่" ซึ่งต่อมาพวกเขาได้ก่อตั้งอาณานิคมพลีมัธขึ้น[4]: 44
เดิมพิลกริมคาดหวังว่าพวกเขาจะไปถึงอเมริกาช่วงต้นเดือนตุลาคมด้วยเรือสองลำคือ สปีดเวล และ เมย์ฟลาวเวอร์ แต่ความล่าช้าและปัญหาต่าง ๆ ทำให้ เมย์ฟลาวเวอร์ เป็นเรือเพียงลำเดียวที่ใช้การได้[5] เมื่อมาถึงอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน พิลกริมเผชิญกับฤดูหนาวที่รุนแรงจนเหลือประชากรเพียงครึ่งเดียวที่รอดชีวิต[6] ปีต่อมาหลังได้รับความช่วยเหลือจากชาวพื้นเมือง พิลกริมฉลองการเก็บเกี่ยวของอาณานิคมเป็นครั้งแรก ซึ่งหลายศตวรรษต่อมาถูกประกาศเป็นวันขอบคุณพระเจ้าครั้งแรก[7]
ระหว่างเดินทาง พิลกริมได้ร่วมกันเขียนและลงนามในข้อตกลงร่วมกันเมย์ฟลาวเวอร์ อันเป็นความตกลงในการก่อตั้งรัฐบาลพื้นฐาน โดยสมาชิกมีส่วนด้านความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนิคมที่มีแผนจะจัดตั้งขึ้น[8] เวลาต่อมาเรือ เมย์ฟลาวเวอร์ กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์สหรัฐ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเรือลำแรก ๆ ที่นำพาชาวยุโรปมาตั้งอาณานิคมในอเมริกาและเป็นรากฐานสู่การก่อตั้งประเทศสหรัฐ[9]: 4–5 แต่เดิมมีแผนเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีของการขึ้นฝั่งในประเทศสหรัฐ สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 2020 แต่ถูกระงับเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[10] การไปรษณีย์สหรัฐออกจำหน่ายตราไปรษณียากรเมย์ฟลาวเวอร์แบบใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2020[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hills, Leon Clark (2009). History and Genealogy of the Mayflower Planters and First Comers to Ye Olde Colonie (ภาษาอังกฤษ). Genealogical Publishing Com. p. 66. ISBN 978-0-8063-0775-6.
- ↑ "The Puritans". HISTORY. October 29, 2009. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
- ↑ Worrall, Simon (November 2006). "Pilgrims' Progress - History". Smithsonian Magazine. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
- ↑ Fraser, Rebecca. The Mayflower, St. Martin's Press, N.Y. (2017)
- ↑ Bishop, Rev. E. W., "The Pilgrim Forefathers", Lansing State Journal (Michigan), Oct. 2, 1920 p. 4
- ↑ "The Mayflower". HISTORY. March 4, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
- ↑ Weinstein, Allen, and Rubel, David. The Story of America, Agincourt Press Production, (2002) pp. 60–61
- ↑ Young 1841, p. 120.
- ↑ Philbrick, Nathaniel. Mayflower: A Story of Courage, Community and War, (Penguin Books 2006)
- ↑ Morris, Steven (September 16, 2020). "Covid curbs 400th Mayflower anniversary as Americans stay away". The Guardian. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
- ↑ "Mayflower in Plymouth Harbor" stamp, USPS
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เมย์ฟลาวเวอร์
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ เมย์ฟลาวเวอร์