จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน หรือที่นิยมเรียกว่า ฉันจึงมาหาความหมาย เป็นกลอนที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา "หัวก้าวหน้า" ยุคก่อนและหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาของกลอนสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งตั้งคำถามเชิงเสียดสีเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาในมหาวิทยาลัย
วรรคทองที่ติดปากที่สุดของกลอนนี้[ใคร?] และเป็นที่มาของชื่อที่เป็นที่นิยม คือ วรรคที่ว่า:
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
|
|
ฉันจึง มาหา ความหมาย
|
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
|
|
สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
|
กลอนชิ้นนี้แต่งโดย วิทยากร เชียงกูล[1][2]
เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่งขึ้นสำหรับ วันสถาปนาธรรมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2511 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ยูงทอง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และถูกตีพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง ในหนังสือชื่อ "ฉันจึงมาหาความหมาย" ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานจำพวกบทกวีของวิทยากรในช่วงสมัยที่ยังศึกษาอยู่และช่วงที่เพิ่งจบ
ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน
|
|
บานอยู่ เต็มฟาก สวรรค์
|
คนเดิน ผ่านไป มากัน
|
|
เขาด้น ดั้นหา สิ่งใด
|
ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ
|
|
จะแย่ง ซื้อได้ ที่ไหน
|
อย่างที่โก้ หรูหรา ราคา เท่าใด
|
|
จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา
|
ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้
|
|
ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
|
เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา
|
|
ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย
|
นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม
|
|
มหาวิทยาลัย ใหญ่ โตเหวย
|
แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย
|
|
วานนิ่งเฉย อย่าบ่น อย่าโวยวาย
|
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
|
|
ฉันจึง มาหา ความหมาย
|
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
|
|
สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว
|
มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง
|
|
ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
|
เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว
|
|
เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน
|
ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน
|
|
บานอยู่ เต็มฟาก สวรรค์
|
เกินพอ ให้เจ้า แบ่งปัน
|
|
จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป
|