ข้ามไปเนื้อหา

เปอโยต์ 406

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปอโยต์ 406
เปอโยต์ 406
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตเปอโยต์
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2539 - 2548
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
คูเป้ 2 ประตู
สเตชันวากอน 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันซีตรอง C5
โตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า
มิตซูบิชิ กาแลนต์
โฟล์กสวาเกน พัสสาท
มาสด้า 626/6
ฟอร์ด ทอรัส/มอนดิโอ
เชฟโรเลต มาลีบู
ซูซูกิ คิซาชิ
ฮุนได โซนาต้า
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.6 L I4 (petrol)
1.8 L I4 (petrol)
2.0 L I4 (petrol)
2.0 L I4 turbo (petrol)
2.2 L I4 (petrol)
2.9 L V6 (petrol)
1.9 L I4 (diesel)
2.0 L I4 (diesel)
2.1 L I4 (diesel)
2.2 L I4 (diesel)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าเปอโยต์ 405
รุ่นต่อไปเปอโยต์ 407

เปอโยต์ 406 (อังกฤษ: Peugeot 406) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นหนึ่งของเปอโยต์ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยมาทดแทนเปอโยต์ 405 และเลิกผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยมีเปอโยต์ 407 เข้ามาทดแทน แต่เริ่มจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2541-2548 โดยบริษัทยนตรกิจ คอร์เปอเรชั่น ถือเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางของเปอโยต์รุ่นสุดท้ายที่ประกอบในประเทศไทย โดยเป็นรถประกอบแบบ CKD (Complete Knock-Down) ซึ่งเป็นรถเปอโยต์อีกรุ่นหนึ่งที่ขายดีในประเทศไทย และมีให้เห็นอยู่บ้างตามท้องถนนในประเทศไทย

เปอโยต์ 406 มีเครื่องยนต์ 7 ขนาด คือ 1.6 ,1.8 ,1.9 ,2.0 ,2.1 ,2.2 และ 2.9 ลิตร และมีตัวถัง 3 แบบ คือ ซีดาน 4 ประตู ,คูเป้ 2 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู โดยในประเทศไทยจะมีให้เห็นเฉพาะรุ่น 4 ประตูเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการปรับโฉม Minorchange เล็กน้อยก่อนที่จะยุติการผลิตในปี พ.ศ. 2548