มิตซูบิชิ กาแลนต์
มิตซูบิชิ กาแลนต์ | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | มิตซูบิชิ มอเตอร์ส |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2550–2560 (Galant Fortis) |
แหล่งผลิต |
|
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) (พ.ศ. 2512–2537, พ.ศ. 2558–2560) รถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) (พ.ศ. 2526–2555) |
รูปแบบตัวถัง | รถซีดาน 4 ประตู, 5 ประตู วาก้อน, คูเป้ 2 ประตู |
รุ่นที่คล้ายกัน | ฮอนด้า แอคคอร์ด โตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่ นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า มาสด้า 6/626 ฮุนได โซนาต้า โฟล์กสวาเกน พาสสาต ซูบารุ เลกาซี ฟอร์ด ทอรัส คาดิแลค ซีทีเอส เมอร์คิวรี มิลาน เชฟโรเลต มาลีบู |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | 1.3 - 3.8 ลิตร I4 - V6 |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | Mitsubishi Colt 1500 |
รุ่นต่อไป | ยังไม่มี |
มิตซูบิชิ กาแลนต์ (Mitsubishi Galant) เป็นรถยนต์ขนาดครอบครัว ผลิตโดย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ถึง พ.ศ. 2555 โดยแบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 9 เจเนอเรชัน(โฉม) โดยกาแลนต์โฉมที่ 1-7 จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) แต่กาแลนต์โฉมที่ 8 เป็นต้นมา จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-size Car) และเมื่อพิจารณาแล้ว กาแลนต์ ถือเป็นรถรุ่นที่เทียบได้ใกล้เคียงกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ โตโยต้า คัมรี่ มาก
มิตซูบิชิ กาแลนต์ได้เคยนำมาขายในประเทศไทยในช่วงหนึ่งโดยบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย โดยเป็นรถขนาดใกล้เคียงกับโตโยต้า โคโรน่า ,ฮอนด้า แอคคอร์ด ,นิสสัน เซฟิโร่ และมาสด้า 626 เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงยุควิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยทำให้หลายยี่ห้อซึ่งมีรถขนาดกลางมาทำตลาดต้องเลิกทำตลาดไป เช่น ฟอร์ด มาสด้า รวมถึงมิตซูบิชิเองด้วยโดยไม่มีทีท่าที่จะนำรถประเภทนี้มาขายกันง่ายๆ และยังไม่นับรวมผู้ผลิตรายเล็กๆ ที่นำรถขนาดกลางมาทำตลาดในประเทศไทยแบบ Niche Market ในปัจจุบันเช่น เปอโยต์ ฮุนได สโกด้า ซูบารุ โฟล์กสวาเกน เป็นต้น
โดยกาแลนต์โฉมต่าง ๆ มีลักษณะและประวัติโดยสังเขปดังนี้
กาแลนต์โฉมแรกนี้ รู้จักกันดีในชื่อ Colt Galant ใช้เครื่องยนต์ชื่อ Saturn Engine ขับเคลื่อนรถ โดยมีเครื่องยนต์ 4G30 (1.3 ลิตร) และ 4G31 (1.5 ลิตร)
ในช่วงแรก กาแลนต์มีเฉพาะรถ Sedan 4 ประตู แต่ต่อมาก็มีการผลิตรถ Sedan 2 ประตูขึ้นใน พ.ศ. 2513 และในปีเดียวกัน ก็มีการผลิตกาแลนต์เป็นรถ Coupe (รถสปอร์ต) ขายในชื่อ Mitsubishi Galant GTO ซึ่งนำไปสู่การผลิตรถสปอร์ตรุ่น Mitsubishi FTO ใน พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2514 กาแลนต์โฉมนี้ถูกส่งออกไปยังอเมริกา ซึ่งเป็นรถรุ่นแรกของมิตซูบิชิที่มีขายใน สหรัฐอเมริกา (ในสหรัฐอเมริกา กาแลนต์มีชื่อว่า Dodge Colt)
ในประเทศไทย ได้นำกาแลนต์โฉมนี้มาขายในปี พ.ศ. 2515
กาแลนต์โฉมนี้ ส่งออกในหลายประเทศมากขึ้น เป็นตัวช่วยขยายตลาดการส่งออกของมิตซูบิชิได้ดี มีการส่งขายกาแลนต์ไปยังประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และ ทวีปยุโรป ใช้เครื่องยนต์ชื่อ Astron Engine ช่วยเพิ่มแรงม้า ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงดังจากเครื่องยนต์
โฉมนี้ มีตัวถัง 2 แบบ คือ Sedan 4 ประตู และ Coupe 2 ประตู
โฉมนี้ ในช่วงแรกยังมีตัวถัง 2 แบบดังโฉมที่ 2 โดยในประเทศญี่ปุ่น จะเรียกรถ Sedan 4 ประตูว่า Galant Sigma รวมถึงในประเทศไทย ที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า Galant Sigma และเรียกรถ Coupe 2 ประตูว่า Galant Lambda แต่ต่อมา มีการสร้างเป็นรถแบบ Station Wagon 5 ประตู
กาแลนต์โฉมที่ 3 ได้รับรางวัล Car of the Year ของ ประเทศแอฟริกาใต้ ประจำปี ค.ศ. 1977
โฉมนี้ กาแลนต์เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ชื่อ Sirius แต่ในรุ่นที่ราคาถูก จะใช้เป็นเครื่องรุ่น Astron 4D55 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ในรถเก๋งรุ่นแรกที่ใช้น้ำมันดีเซล และนอกจากนี้ กาแลนต์ในโฉมนี้ เริ่มเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีดอิเลกทรอนิกส์ แทนเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันและเพิ่มอัตราเร่ง
กาแลนต์ในโฉมนี้ มีการพัฒนาประสิทธิภาพอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยให้สูงขึ้น ท้ายรถบรรจุของได้มากขึ้น และมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสียงในห้องโดยสาร ช่วยให้เสียงเครื่องยนต์รบกวนในห้องโดยสารลดลง
กาแลนต์โฉมนี้ ได้รางวัลอีกครั้ง คือรางวัล Car of the Year ของ ประเทศนิวซีแลนด์ ประจำปี ค.ศ. 1981
โดยทั่วไปแล้ว กาแลนต์โฉมที่ 4 เลิกผลิตใน พ.ศ. 2526 แต่ในออสเตรเลีย มีการผลิตโฉมที่ 4 นี้ไปจนถึง พ.ศ. 2530 เลยทีเดียว
โฉมที่ 5 เปลี่ยนไปใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า มีการใช้เครื่องยนต์ทั้ง Astron และ Saturn ขนาดลูกสูบตั้งแต่ 1.6 ไปจนถึง 3.0 ลิตร เริ่มหายไปจากท้องตลาดใน พ.ศ. 2530 เมื่อกาแลนต์ผลิตโฉมที่ 6 ออกมา
กาแลนต์โฉมนี้ ได้รับรางวัล Golden Steering Wheel ในประเทศเยอรมนี
โฉมที่ 6 นี้ กาแลนต์มีความสูงมากขึ้น และเริ่มมีความโค้งมน ซึ่งต่างจากรถทั่วไปที่สมัยนั้นจะเป็นเหลี่ยม ๆ และได้รับรางวัล Car of the Year Japan ประจำปี ค.ศ. 1987 และกลายเป็นเทรนด์รถยนต์ที่มาแรงในยุคนั้น
เริ่มมีการนำรถกาแลนต์ไปใช้เป็นรถสปอร์ตกับรถแรลลี่ ทำให้รถกาแลนต์โฉมที่ 6 ใหญ่กว่าโฉมก่อนไม่มากนัก เพราะต้องการเน้นความเพรียวกระชับแบบรถสปอร์ต ทิ้งความเป็นรถครอบครัวขนาดใหญ่ไปชั่วขณะ
แต่การนำกาแลนต์ไปทำรถสปอร์ต เริ่มเกิดขึ้นจริง ๆ ในยุคของโฉมที่ 2 แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก ในยุคโฉมที่ 2-5 ถือกันว่ากาแลนต์คือรถครอบครัว แต่ว่าโฉมที่ 6-7 นี้ กาแลนต์เพรียวกระชับจนแทบจะนับได้ว่าเป็นรถสปอร์ต
|
โฉมที่ 7 เป็นโฉมสุดท้ายที่กาแลนต์ถูกจัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก เนื่องจาก มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รถยนต์อีกรุ่นที่มีขนาดเล็กกระชับกว่า (แต่ก็ใช้เป็นรถครอบครัวขยาดย่อมได้เช่นกัน) เริ่มมีความนิยมนำไปใช้เป็นรถสปอร์ตมากขึ้น เนื่องจากการที่คนซื้อกาแลนต์ในช่วงโฉมที่ 5 มีสัดส่วนไม่น้อยที่ต้องการซื้อกาแลนต์ไปใช้เป็นรถสปอร์ต แต่เมื่อรถสปอร์ตของมิตซูบิชิในใจผู้ซื้อมีแลนเซอร์เข้าแทนที่ เนื่องจากการที่แลนเซอร์ออกรุ่นพิเศษ คือ Lancer Evolution ทำให้กาแลนต์เริ่มมีความนิยมลดลง
กาแลนต์โฉมนี้ แม้จะพยายามใส่ Options รถสปอร์ตไปมากขึ้น แต่ความนิยมก็ไม่ได้เพิ่มมา โฉมที่ 7 จึงเป็นโฉมที่ กาแลนต์ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าโฉมอื่นนัก
ในประเทศไทย ได้นำมาจำหน่ายในชื่อ มิตซูบิชิ กาแลนต์ อัลติมา โดยเป็นรุ่นสุดท้ายที่ประกอบในประเทศ และในรุ่นต่อมาก็มีทำตลาดแบบเงียบๆ ไม่มากนัก
|
จากความผิดพลาดทางการตลาดที่มิตซูบิชิประสบกับกาแลนต์ในช่วงโฉมที่ 7 ในโฉมที่ 8 นี้จึงละทิ้งความเป็นรถสปอร์ตของกาแลนต์ลง ยุติการผลิตตัวถัง Coupe หันมาเป็นรถยนต์ขนาดกลางสำหรับครอบครัวแทน แล้วกาแลนต์ก็กลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยรางวัล Car of the Year Japan
โฉมนี้มีการคิดค้นระบบเกียร์แบบกึ่งอัตโนมัติ (semi-automatic) มาใช้ควบคู่กับระบบเกียร์ธรรมดา (manual) และเกียร์อัตโนมัติ (automatic) ในประเทศไทย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เคยนำเข้ากาแลนต์รุ่นนี้มาเพียงล็อดเล็กๆ เท่านั้น
|
โฉมนี้ กาแลนต์มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีลักษณะดูดีขึ้น ทางมิตซูบิชิได้นำไปแสดงในงานมอเตอร์โชว์ระดับนานาชาติ ด้วยขนาดใหญ่ขึ้น Options มากขึ้น แต่ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า และมีราคาที่ถูกลง แต่รุ่นนี้กลับไม่มีจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น
โฉมนี้ได้เลิกผลิตและจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากความนิยมรถขนาดกลางลดลง ถือว่าอยู่ในช่วงขาลงของรถยนต์ประเภทนี้ ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ที่ขนาดเล็กลงแทน สาเหตุเป็นเพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มิตซูบิชิประสบปัญหาเป็นอย่างมากในการขายกาแลนต์โฉมนี้ รวมถึง Mitsubishi Motors เองก็ประสบปัญหาการเงินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 แล้ว มิตซูบิชิจึงได้ตัดสินใจเลิกผลิตกาแลนต์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2555 อย่างไรก็ดี ได้มีการผลิตรถยนต์รุ่นใหญ่กว่ากาแลนต์ออกมาจำหน่าย ในชื่อ มิตซูบิชิ พราวเดีย และมิตซูบิชิ ดิกนิตี และเตรียมกลับมาผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลางสำหรับตลาดอเมริกาเหนืออีกครั้ง
-
2004–2006 Mitsubishi Galant (US)
-
2007-2008 Mitsubishi Galant (US)
-
2009-2012 Mitsubishi Galant (US)
-
Mitsubishi 380 (ออสเตรเลีย)
-
Chinese market Galant produced by Soueast-Mitsubishi
-
Rear view of the Chinese market Galant
-
Taiwanese market Galant Grunder
-
Taiwanese market Galant Grunder post-facelift
-
Rear view of the post-facelift Taiwanese market Galant Grunder serving as a police cruiser
รุ่นที่ 10 (Galant Fortis; พ.ศ. 2550–2560)
[แก้]กลายเป็นเรื่องของการทำตลาดแบบชวนให้สงสัยอีกครั้งสำหรับมิตซูบิชิ เมื่อเปิดเผยว่าจะจัดการถอดชื่อของแลนเซอร์ออกจากสารบบรถยนต์รุ่นธรรมดาที่ขายในญี่ปุ่น และส่งแลนเซอร์ใหม่ที่เปิดตัวในสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรกเข้ามาขายในตลาดญี่ปุ่นด้วยชื่อใหม่ แต่ก็ไม่ถึงกับใหม่แกะกล่อง เพราะเป็นการนำชื่อของกาแลนท์ รถยนต์รุ่นใหญ่ไซส์เดียวกับโตโยต้า โคโรน่าที่สูญพันธุ์ไปจากตลาดญี่ปุ่นแล้ว (แต่ยังมีการผลิตรุ่นใหม่ขายในอเมริกาเหนือ) กลับมาใช้งานอีกครั้ง
มิตซูบิชิเปิดเผยว่าแลนเซอร์ใหม่สำหรับตลาดญี่ปุ่นจะใช้ชื่อว่า กาแลนท์ ฟอร์ติส (Galant Fortis) ซึ่งมาจากภาษาละตินที่เป็นแปลว่าความแข็งแกร่ง และมาพร้อมรูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่แตกต่างจากแลนเซอร์ใหม่ที่ทำตลาดอยู่ในสหรัฐอเมริกา พร้อมเครื่องยนต์ใหม่แบบอะลูมิเนียมทั้งบล็อก 2,000 ซีซีในรหัส 4B11 มีกำลังสูงสุด 152 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 20.1 กก.-ม. ที่ 4,250 รอบ/นาที
ไม่มีการเปิดเผยถึงเหตุผล แต่การเปลี่ยนชื่ออาจจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับบรรดาคู่ปรับได้ดีในระดับหนึ่งก็เป็นได้ แต่สิ่งที่ชวนให้น่าสงสัยคือ ‘แล้วทำไมไม่เปลี่ยนชื่อใหม่ไปเลยล่ะ เพราะกาแลนท์ในตลาดญี่ปุ่นก็ใช่ว่าจะสุดฮ็อต ?’
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าชื่อของแลนเซอร์จะสูญพันธุ์ไปซ่ะทีเดียว เพราะอย่างน้อยก็ยังเหลือเอาไว้ใช้กับตัวแรงจากสนามแข่งแรลลี่อย่างอีโวลูชัน X ที่ตัว X ซึ่งต่อท้ายหมายถึงสายพันธุ์ที่ 10 โดยใช้ตัวอักษรโรมัน ไม่ใช้ X Factor อย่างที่เคยมีคนสงสัย และในรุ่นใหม่จะใช้เครื่องยนต์เทอร์โบรุ่นใหม่ที่พัฒนาบนพื้นฐานของ 4B11