เบเนอร์อิบ
เบเนอร์อิบ | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ | |||||
พระนามของพระนามเบเนอร์อิบและฟาโรห์ฮอร์-อฮาที่พิพิธภัณฑ์บริติช | |||||
ฝังพระศพ | บี 14, อุมมุลเกาะอาบ | ||||
คู่อภิเษก | ฟาโรห์ฮอร์-อฮา | ||||
พระราชบุตร | ไม่ทราบ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่หนึ่ง | ||||
พระราชบิดา | ไม่ทราบ | ||||
พระราชมารดา | ไม่ทราบ | ||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ |
เบเนอร์อิบ เป็นพระมเหสีแห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่หนึ่ง พระนามของพระองค์แปลว่า "ความหวาน (เบเน) ของหัวใจ (อิบ)"
พระราชประวัติ
[แก้]
| |||
เบเนอร์อิบ [1] ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | |||
---|---|---|---|
สมัย: ราชอาณาจักรเก่า (2686–2181 BC) | |||
เบเนอร์อิบเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ฮอร์-อฮา[2] แต่พระองค์ไม่ใช่พระราชมารดาของฟาโรห์ดเจอร์ ผู้ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์จากพระสวามี ซึ่งพระราชมารดาของฟาโรห์ดเจอร์มีพระนามว่า เคนต์ฮัป ผู้เป็นพระมเหสีอีกพระองค์ของฟาโรห์ฮอร์-อฮา เชื่อกันว่าพระนางเบเนอร์อิบเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ฮอร์-อฮา เนื่องจากค้นพบกล่องงาช้างที่พบในหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ที่อไบดอส ซึ่งปรากฏพระนามของฟาโรห์ฮอร์-อฮาด้วยเช่นกัน ชิ้นส่วนของกล่องงาช้างที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์ฮอร์-อฮาและพระนางเบเนอร์อิบที่ถูกพบในอไบดอสและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน[3]
จอห์น โรเมอร์ นักไอยคุปต์วิทยาได้โต้แย้งว่าพระนามของพระนางเบเนอร์อิบ ซึ่งสามารถแปลได้ว่า "คนรัก" หรือ "ผู้ที่มีความสุข" ที่อาจจะไม่ใช่พระนามเลยด้วยซ้ำ แต่เป็นพระนามหรือฉายาของบุคคลที่เพศยังไม่ได้รับการยืนยันโดยเพศ[4]
ไม่ทราบตำแหน่งราชวงศ์ของพระองค์ และไม่ถึงพระบิดาและพระมารดาของพระองค์เช่นกัน
พระองค์ทรงถูกฝังพระศพที่อุมมุลเกาะอาบ ในหลุมฝังศพ บี 14[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ J. Tyldesley, Chronicle of the Queens of Egypt, 2006, Thames & Hudson
- ↑ Aidan Dodson & Dyan Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, Thames & Hudson (2004), p.46
- ↑ B. Porter and R.L.B. Moss. Topographical Bibliography of Ancient Egyptian Hieroglyphic Texts, Reliefs, and Paintings, V. Upper Egypt: Sites. Oxford, 1937, pg 88,89
- ↑ Romer, John (2013). A History of Ancient Egypt: From the First Farmers to the Great Pyramid. London: Penguin. p. 218. ISBN 978-0-14139-971-3.
- ↑ B. Porter and R.L.B. Moss. Topographical Bibliography of Ancient Egyptian Hieroglyphic Texts, Reliefs, and Paintings, V. Upper Egypt: Sites. Oxford, 1937, pg 88,89