ข้ามไปเนื้อหา

เนหะมีย์ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนหะมีย์ 1
คัมภีร์ฮีบรู, MS Sassoon 1053, images 485-513 (เอสรา-เนหะมีย์)
หนังสือหนังสือเนหะมีย์
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์16

เนหะมีย์ 1 (อังกฤษ: Nehemiah 1) เป็นบทแรกของหนังสือเนหะมีย์ของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หรือเป็นบทที่ 11 ของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์ในคัมภีร์ฮีบรูซึ่งถือว่าหนังสือเอสราและหนังสือเนหะมีย์เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน[2] ธรรมเนียมของศาสนายูดาห์ระบุว่าเอสราเป็นผู้เขียนของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์รวมถึงหนังสือพงศาวดาร[3] แต่นักวิชาการสมัยโดยทั่วไปเชื่อว่าผู้เรียบเรียงจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (ที่เรียกว่า "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร") เป็นผู้เขียนสุดท้ายของหนังสือเหล่านี้[4] บทที่ 1 ของหนังสือเนหะมีย์เล่าถึงตำแหน่งของเนหะมีย์ในราชสำนักเปอร์เซียและความศรัทธาแรงกล้าของเขา[5]

ต้นฉบับ

[แก้]
หน้าของต้นฉบับภาษาละตินของเอสรา 8:22–10:44 (ส่วนจบ) และเนหะมีย์ 1:1–3:8 ในฉบับกีกัส (Codex Gigas) สำเนาต้นฉบับในยุคกลางที่หลงเหลืออยู่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (จากศตวรรษที่ 13)

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 11 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6][a]

ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8]

รายงาน (1:1–3)

[แก้]
เนหะมีย์รับรายงานจากเยรูซาเล็ม ภาพวาดของหนังสือเนหะมีย์บทที่ 1 ภาพวาดคัมภีร์ไบเบิลโดยจิม แพ็ดเก็ตต์

ส่วนนี้เปิดด้วยบันทึกความทรงจำ (บทที่ 1–8)[9] ของเนหะมีย์บุตรฮาคาลิยาห์ ผู้รับราชการในเปอร์เซียในฐานะข้าราชสำนัก แต่กังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของเหล่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเยรูซาเล็มในเวลานั้น[10] ไม่กี่วรรคแรกของบทนี้บ่งชี้ถึงจุดเน้นของหนังสือเนหะมีย์ทั้งเล่ม เริ่มด้วยการแนะนำปัญหาคือ "สภาวะอันน่าสังเวชของเยรูซาเล็ม" ตามด้วยวิธีแก้ปัญหานี้ในบทถัด ๆ ไปและผลกระทบที่ตามมาต่อชุมนุมชนโดยทั่วไป[5]

วรรค 1

[แก้]
นี่คือถ้อยคำของเนหะมีย์ บุตรฮาคาลิยาห์
ต่อมาในเดือนคิสเลฟในปีที่ยี่สิบ ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ในสุสาเมืองป้อม[11]
  • "คิสเลฟ": ในขณะที่เอสราใช้เดือนแบบระบุด้วยตัวเลข (ระบบการเรียกของโทราห์) เนหะมีย์ใช้ 'ชื่อเดือนตามปฏิทินของบาบิโลน'[9]
  • "ปีที่ยี่สิบ": ในรัชสมัยของอารทาเซอร์ซีสที่ 1 เทียบได้กับ 445 ปีก่อนคริสตกาล ภายหลังจากเอสราไปถึงเยรูซาเล็ม 13 ปี[12]
  • "สุสา": หรือชูชาน (ฮีบรู: שׁוּשָׁן, อักษรโรมัน: Šūšān)[b]
  • "เมืองป้อม" (ThaKJV: "ปราสาท"): หรือ "พระราชวังที่มีป้อมปราการ" อาจเป็นที่อื่น ๆ ในหนังสือ[c]

วรรค 2

[แก้]
ฮานานี​พี่​น้องของข้าพเจ้าคนหนึ่งมาจากยูดาห์กับชายบางคน ข้าพเจ้าได้​ไต่​ถามถึงพวกยิ​วท​ี่​หนี​ได้ ผู้​ซึ่งเหลือจากพวกที่​ถู​กกวาดไปเป็นเชลย และถามเรื่องเกี่ยวกับเยรูซาเล็ม[13]
  • "พี่​น้อง": อาจเป็น "พี่น้อง" ในความหมายเชิงอุปมา แต่วิลเลียมสัน[14] เขียนหมายเหตุของเนหะมีย์ 7:2 ให้ความเห็นว่าควรเป็น "พี่น้อง" ในความหมายโดยตรง[9]

วรรค 3

[แก้]
เขาทั้งหลายพู​ดก​ับข้าพเจ้าว่า "​ผู้​ที่​เหลือจากพวกที่​ถู​กกวาดไปเป็นเชลยซึ่งอยู่ในมณฑลมีความลำบากและความอับอายมาก กำแพงเมืองเยรูซาเล็มก็พังลง และประตูเมืองก็​ถู​กไฟทำลายเสีย"[15]

ข่าวสถานะของเยรูซาเล็มทำให้เนหะมีย์รู้สึกไม่สบายใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ 'ความอับอาย' (ความไม่พอใจ; herpa) ของสถานการณ์นี้ ("จากการเยาะเย้ยของคนต่างชาติ", สดุดี 69:20, 21; 71:13; 89:51; 119:22; อิสยาห์ 51:7; เยเรมีย์ 51:51; เพลงคร่ำครวญ 3:61; เศฟันยาห์ 2:8) แต่อาจะเป็นเพราะเขาประหลาดใจที่ 'กำแพงยังคงพังลงแม้ว่าพระวิหารจะถูกสร้างขึ้่นใหม่แล้วก็ตาม'[9]

เนหะมีย์อธิษฐาน (1:4–11)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หนังสือเอสรา-เนหะมีย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[7]
  2. หมายเหตุ [a] ของเนหะมีย์ 1:1 ใน NKJV
  3. หมายเหตุ [b] ของเนหะมีย์ 1:1 ใน NKJV

อ้างอิง

[แก้]
  1. Halley 1965, p. 235.
  2. Grabbe 2003, p. 313.
  3. Babylonian Talmud Baba Bathra 15a, apud Fensham 1982, p. 2
  4. Fensham 1982, pp. 2–4.
  5. 5.0 5.1 Grabbe 2003, p. 321.
  6. Würthwein 1995, pp. 36–37.
  7. Skehan 2003, pp. 335–362.
  8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Smith-Christopher 2007, p. 318.
  10. Larson, Dahlen & Anders 2005, p. 132.
  11. เนหะมีย์ 1:1 THSV11
  12. McConville 1985, p. 74.
  13. เนหะมีย์ 1:2 THSV11
  14. Williamson 1985, p. 171.
  15. เนหะมีย์ 1:3 THSV11

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Fensham, F. Charles (1982). The Books of Ezra and Nehemiah. New international commentary on the Old Testament (illustrated ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0802825278. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  • Grabbe, Lester L. (2003). "Nehemiah". ใน Dunn, James D. G.; Rogerson, John William (บ.ก.). Eerdmans Commentary on the Bible (illustrated ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 320–328. ISBN 978-0802837110. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
  • Larson, Knute; Dahlen, Kathy; Anders, Max E. (2005). Anders, Max E. (บ.ก.). Holman Old Testament Commentary - Ezra, Nehemiah, Esther. Holman Old Testament commentary. Vol. 9 (illustrated ed.). B&H Publishing Group. ISBN 978-0805494693. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  • Levering, Matthew (2007). Ezra & Nehemiah. Brazos Theological Commentary on the Bible. Brazos Press. ISBN 978-1587431616. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  • McConville, J. G. (1985). Ezra, Nehemiah, and Esther. The daily study Bible : Old Testament. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0664245832. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  • Ryle, H E (1893). J J Stewart Perowne (บ.ก.). Cambridge Bible for Schools and Colleges. Vol. Ezra and Nehemiah. Cambridge: University Press.
  • Skehan, P. W. (2003), "Bible (Texts)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale
  • Smith-Christopher, Daniel L. (2007). "15. Ezra-Nehemiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 308–324. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  • Williamson, Hugh Godfrey Maturin (1985). Ezra, Nehemiah. Word Biblical Commentary. Vol. 16. Word Books. ISBN 978-0-8499-0215-4.
  • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]