ตำบลหาดเจ้าสำราญ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตำบลหาดเจ้าสำราญ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Hat Chao Samran |
หาดเจ้าสำราญ | |
พิกัด: 13°0′37″N 100°3′8″E / 13.01028°N 100.05222°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบุรี |
อำเภอ | เมืองเพชรบุรี |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 19.455 ตร.กม. (7.512 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 ธันวาคม 2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 4,933 คน |
• ความหนาแน่น | 253.55 คน/ตร.กม. (656.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 76000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 760117 |
เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ | |
---|---|
พิกัด: 13°0′37″N 100°3′8″E / 13.01028°N 100.05222°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบุรี |
อำเภอ | เมืองเพชรบุรี |
จัดตั้ง | 14 มีนาคม 2510 (สุขาภิบาล) 25 พฤษภาคม 2542 (เทศบาลตำบล) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | บุญยอด มาคล้าย |
รหัส อปท. | 05760104 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76100 |
โทรศัพท์ | 032-478-555-7 |
โทรสาร | 032-478-555-7 |
เว็บไซต์ | www |
หาดเจ้าสำราญ เป็นตำบลหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดเจ้าสำราญทั้งตำบล
ประวัติ
[แก้]ในอดีตตำบลหาดเจ้าสำราญ คือ ตำบลบางทะลุ หรือ ตำบลบางทลุ แต่ด้วยความเป็นหาดทรายขาวที่โปรดปรานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา ที่ทรงโปรดปรานชายหาดบริเวณนี้เป็นอย่างมากถึงกับทรงเบ็ดตกหมึกตกปลาจนได้รับขนานนามชายหาดว่า "หาดเจ้าสำราญ"
จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการสร้างค่ายหลวงบางทะลุขึ้นที่ชายฝั่งของหาดเจ้าสำราญ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามเป็น พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ ด้วยนามคำว่า "บางทะลุ" ไม่เป็นมงคล ตำบลบางทะลุจึงได้มีนามเป็นตำบลหาดเจ้าสำราญด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังคงมีหมู่บ้านบางทะลุ และวัดบางทะลุ ในตำบลหาดเจ้าสำราญ
ประชาชนได้มีการตั้งถิ่นฐานในตำบลหาดเจ้าสำราญมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศจัดตั้ง "สุขาภิบาลหาดเจ้าสำราญ" ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและความเรียบร้อยของพื้นที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2510[3] และได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[4]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ตำบลหาดเจ้าสำราญมีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง โดยมีความลาดเอียงเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นอ่าวไทย โดยชายหาดช่วงของพื้นที่ตำบลหาดเจ้าสำราญเป็นหาดทรายขาว ตำบลหาดเจ้าสำราญมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาพันสาม อำเภอเมืองเพชรบุรี และตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองขนาน ตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
หมู่บ้าน
[แก้]ตำบลหาดเจ้าสำราญแบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านหาดเจ้าสำราญนอก
- หมู่ที่ 2 บ้านหาดเจ้าสำราญใน
- หมู่ที่ 3 บ้านโคกพลับ
- หมู่ที่ 4 บ้านบางทะลุ
- หมู่ที่ 5 บ้านสมอลก
- หมู่ที่ 6 บางกุฬา
- หมู่ที่ 7 หนองตะพุก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ". เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (25 ง): 921–922. 14 มีนาคม 2510.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.