ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลแหลมผักเบี้ย

พิกัด: 13°01′47.6″N 100°05′02.4″E / 13.029889°N 100.084000°E / 13.029889; 100.084000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลแหลมผักเบี้ย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Laem Phak Bia
แหลมหลวง
คำขวัญ: 
ศาลเจ้าตั้วเล่าเอี้ย ผักเบี้ยเป็นตำนาน โครงการพระราชดำริ ผลผลิตจากทะเล เสน่ห์ป่าโกงกาง สองฝั่งทางทำปลาหมึก สู่อ่าวลึกปะการังเทียม ยอดเยี่ยมหาดแหลมหลวง
ตำบลแหลมผักเบี้ยตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี
ตำบลแหลมผักเบี้ย
ตำบลแหลมผักเบี้ย
พิกัด: 13°01′47.6″N 100°05′02.4″E / 13.029889°N 100.084000°E / 13.029889; 100.084000
ประเทศไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอบ้านแหลม
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.57 ตร.กม. (4.08 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด2,413 คน
 • ความหนาแน่น228.29 คน/ตร.กม. (591.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 76100
รหัสภูมิศาสตร์760705
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ตราอย่างเป็นทางการขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ตรา
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอบ้านแหลม
การปกครอง
 • นายกศรีเพชร นามเดช
รหัส อปท.06760711
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 64 หมู่ที่ 2 ทางหลวงชนบท พบ.ถ 85-008 ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76100
โทรศัพท์0 3244 1209
โทรสาร0 3244 1209
เว็บไซต์www.laemphakbia.com
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แหลมผักเบี้ย เป็นตำบลหนึ่งใน 10 ตำบลของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ด้านทิศใต้สุดของอำเภอบ้านแหลม องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นทั้งหมดในตำบลแหลมผักเบี้ย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย

ประวัติ

[แก้]

ตำบลแหลมผักเบี้ยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2490 โดยการโอนพื้นที่หมู่ที่ 7, 8, 9 และ 10 ของตำบลบางแก้วในสมัยนั้นมาเป็นหมู่ที่ 1, 2, 3 และ 4 ในตำบลแหลมผักเบี้ย[1]

อาณาเขต

[แก้]

หมู่บ้าน

[แก้]

ตำบลแหลมผักเบี้ยมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 หมู่บ้านพะเนิน
  • หมู่ที่ 2 หมู่บ้านดอนใน
  • หมู่ที่ 3 หมู่บ้านดอนกลาง
  • หมู่ที่ 4 หมู่บ้านดอนคดี

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]

แหลมหลวง

[แก้]

แหลมหลวง เป็นแหลมยื่นออกจากฝั่งไปในทะเล โดยจะแยกระหว่างหาดทรายกับหาดโคลนออกจากกัน โดยทิศเหนือจะเป็นหาดโคลน ด้านทิศใต้เป็นหาดทราย สำหรับหาดทรายในตำบลแหลมผักเบี้ยนั้นเป็นหาดทรายจุดแรกของอ่าวไทยด้านซีกใต้ สืบเนื่องจากการไหลลงของน้ำจืดจากปากแม่น้ำลงสู่อ่าวไทยของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เมื่อตะกอนลงส่งทะเลจึงทำให้น้ำทะเลในช่วงนี้มีความขุ่นสูง จึงทำให้เป็นหาดโคลน แหลมหลวงจึงเหมาแก่การศึกษาระบบนิเวศได้ทั้ง 2 ระบบ ที่อยู่ในแหลมเดียวกัน

ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช

[แก้]

ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร[2] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[3] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่

โครงการแหลมผักเบี้ย

[แก้]
แปลงพืชทดลองโครงการแหลมผักเบี้ยฯ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศึกษาวิจัยหารูปแบบเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดการใช้แปลงพืชกรองน้ำเสียและการกำจัดขยะ โดยใช้กล่องคอนกรีตที่เหมาะสมตามพระราชดำริ การทดลองประยุกต์ใช้ความรู้จากการศึกษาวิจัยสู่การแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะในพื้นที่จริง (เฉพาะเทศบาลเมืองเพชรบุรี) ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น[4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26): 1152–1153. 10 มิถุนายน 1490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  2. พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑
  3. "ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.
  4. โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี www.lerd.org
  5. มูลนิธิชัยพัฒนา - แหลมผักเบี้ย http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=71 เก็บถาวร 2009-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]