เทศบาลตำบลหงาว (จังหวัดระนอง)
หน้าตา
เทศบาลตำบลหงาว | |
---|---|
วัดบ้านหงาวเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนามว่า "หลวงพ่อดีบุก" และยังมีความสวยงามของฝาผนังที่แกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ อีกด้วย | |
พิกัด: 9°50′56.7″N 98°36′45.6″E / 9.849083°N 98.612667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
จัดตั้ง |
|
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1.850 ตร.กม. (0.714 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,475 คน |
• ความหนาแน่น | 1,337.83 คน/ตร.กม. (3,465.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05850105 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 190/4 หมู่ที่ 2 ถนนประชาพิทักษ์ ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
โทรศัพท์ | 0 7782 6921 |
เว็บไซต์ | ngaotown-ranong |
เทศบาลตำบลหงาว เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 และ 2 ของตำบลหงาว ในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลหงาวที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ในปี พ.ศ. 2564 เขตเทศบาลมีประชากรทั้งหมด 2,475 คน
พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณทิศใต้ของอำเภอเมืองระนอง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองระนองประมาณ 13.1 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดระนองประมาณ 6.8 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 593 กิโลเมตรตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 และ 1 ชั่วโมง 10 นาที ถึงกรุงเทพมหานครผ่านทางท่าอากาศยานระนอง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 1.85 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็น 1,156.25 ไร่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (9 ง): 183–184. วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2517
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542