ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลยะรัง

พิกัด: 6°45′39.3″N 101°18′04.0″E / 6.760917°N 101.301111°E / 6.760917; 101.301111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลยะรัง
ชุมชนในย่านตัวอำเภอยะรัง เขตเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ชุมชนในย่านตัวอำเภอยะรัง เขตเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ทต.ยะรังตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี
ทต.ยะรัง
ทต.ยะรัง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลยะรัง
พิกัด: 6°45′39.3″N 101°18′04.0″E / 6.760917°N 101.301111°E / 6.760917; 101.301111
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
อำเภอยะรัง
จัดตั้ง • 28 พฤศจิกายน 2499 (สุขาภิบาลยะรัง)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.ยะรัง)
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.65 ตร.กม. (1.41 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด5,044 คน
 • ความหนาแน่น1,381.91 คน/ตร.กม. (3,579.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05941001
ที่อยู่
สำนักงาน
หมู่ที่ 4 ถนนยะรัง-มายอ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160
เว็บไซต์www.yarangcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลยะรัง เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ของตำบลยะรัง และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ของตำบลปิตูมุดี ในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลยะรังที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2499[2] ซึ่งเป็นสุขาภิบาลแห่งเดียวของอำเภอยะรัง แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 5,044 คน

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการต่าง ๆ ของอำเภอยะรัง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดปัตตานีประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,045 กิโลเมตรตามถนนเพชรเกษม มีพื้นที่รับผิดชอบ 3.650 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 2,281.25 ไร่ ประกอบไปด้วยหมู่บ้านในเขตตำบลยะรัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบินยาลีมอ บ้านปายอเมาะสูเม็ง บ้านพงสะตา และหมู่บ้านในเขตตำบลปิตูมุดี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านชามู

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในท้องถิ่นเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2563 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-42. 28 พฤศจิกายน 1956.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]