ข้ามไปเนื้อหา

เทพนักปราชญ์ทั้งห้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพ่อแห่งการศึกษาทั้งห้า
(อู่เหวินชาง)
จิตรกรรมเทพบดีแห่งการศึกษาทั้งห้า ณ ศาลเจ้าไถหนันไห่อันกง (臺南海安宮) เขตตะวันตกกลาง นครไถหนาน ไต้หวัน จากซ้ายไปขวาประกอบด้วย จูซีแชกุน,เจ้าพ่อซีถงเซียนจุน,เจ้าพ่อเปากง,เจ้าพ่อฟานจิน (范进),จ้าวพ่อขุยซิง ศิลปะแบบประเพณีจีนนิยมในปัจจุบัน
ภาษาจีน五文昌
ความหมายตามตัวอักษรอู่เหวินชาง
เจ้าพ่อแห่งการศึกษาทั้งห้า

อู่เหวินชาง (จีน: 五文昌; พินอิน: Wǔ wénchāng) หรือ อู่เหวินชางฟูจื่อ (五文昌夫子) หรือ อู่เหวินชางตี้กุน (五文昌帝君) เป็นคณะเทวบุรุษทั้งห้าพระองค์ในศาสนาเต๋าและศาสนาชาวบ้านจีนได้แก่ เจ้าพ่อบุ่นเชียง จ้าวพ่อขุยซิงแชกุน เจ้าพ่อเหวินซวนตี้กุน เจ้าพ่อเหวินเหิงตี้กุน เจ้าพ่อเหวินนี่ตี้กุน[1] และเป็นเทพเจ้าจีนตามคติโหราศาสตร์จีนอันเป็นผู้เทพเจ้าอุปถัมป์รักษาการเรียน บัณฑิต จอหงวน และความรู้ สติปัญญา พระองค์ได้รับการสักการะบูชาและเป็นตัวอย่างในคุณธรรม จริยธรรมการประพฤติตนของเหล่าบรรดาบัณฑิต จอหงวนและนักเรียน นักศึกษาของศาสนาเต๋าและศาสนาชาวบ้านจีน[2]ในบางท้องที่ท้องถิ่นอาจจะมียกย่องหรือให้ความคำคัญควบคู่ในการบูชาร่วมกับเจ้าพ่อจือเซิงเซียนซือ เจ้าพ่อฉางเจี๋ยเซียนซือ (倉頡 , 倉頡先師) เจ้าพ่อจือซ่ง (詛誦) ไท่ไป๋เซียนซือร่วมด้วย

เทพบดีแห่งการศึกษาทั้งห้า

[แก้]
  • จ้าวพ่อเหวินขุยตี้กุน หรือ ต้าข่วยฟูจื่อ (大魁夫子) หรือ ต้าข๊วยแช้กุ้น (大魁星君) หรือ ข๊วยต้าวแช้กุ้น (魁斗星君) เป็นต้น ในคติของลัทธิเต๋า จ้าวพ่อขุยซิงเป็นเทพเจ้าที่อุปถัมป์วรรณกรรมเพราะมีรูปลักษณ์เทพลักษณะดัง "โค้งและดูเหมือนตัวอักษรหนังสือ"(“屈曲相钧,似文字之书”) โดยทรงได้รับการสักการะบูชาอย่างยิ่งในการสอบแข่งขัน หรือ การศึกษาของบรรดาชาวจีนโบราณ "เทพบดีขุยซิง" เทวปฏิมาของพระองค์พระบาทขวาทรงวางบนศีรษะ สัตว์วิเศษนามว่า อ๋าว (เต่ามังกร) พระบาทซ้ายเตะดาวและหัตถ์ทรงปากกา พระวรกายนั้นเต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว
  • เจ้าพ่อเหวินซวนตี้กุน:หรือ จูอีฟูจือ (朱衣夫子) หรือ จูอีเสินจุน (朱衣神君) ตามตำนานเทพปกรณัมเล่าว่าเทพบุรุษองค์นี้ทรงเทพอาภรณ์สีแดงและสามารถแยกแยะข้อดีและข้อเสียของบทความได้[5]
  • เจ้าพ่อเหวินเหอตี้กุน:หรือ กวนเซิ่งตี้กุน (关圣帝君) หรือ เหวินเหิงเซิ่งตี้ (文衡聖帝) แม่ทัพยุคสามก๊กทรงโปรดปรานและเชี่ยวชาญในตำราและคัมภีร์ทั้งได้หลาย และสำนักขงจื๊อก็เชื่อในความภักดีและความชอบธรรมของท่าน ตามศาสนาชาวบ้านจีนเจ้าพ่อกวนอูเป็นเทพเจ้าที่เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม[6]ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องบูชาในคณะเทพทั้งห้านี้

เทพ/เซียนองค์ที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ได้รับการยกย่องและบูชาแตกต่างกันตามพื้นท้องถิ่น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 孔子與五文昌 เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . 教育大市集 . [2016-03-20] (中文(台灣)).
  2. 林欣儀 (2016-02-07). "五文昌點燈夯 考生祈包中" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 奇摩新聞. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-03-20.
  3. 文昌梓潼帝君 เก็บถาวร 2015-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . 自立廟宇網 . [2016-03-20] (中文(台灣)).
  4. 賴廷恆 (2016-02-25). "兩岸文昌文化交流 梓潼登場". 中時電子報 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 台北. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 2016-03-20.
  5. 文昌信仰 เก็บถาวร 2020-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . 美寶百科 . [2016-03-20] (中文(台灣)).
  6. 認識文昌-考得廟 เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . 育達教育網 . [2016-03-20] (中文(台灣)).
  7. "高雄三鳳宮-文殊菩薩". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.