เถาหัวลิง
เถาหัวลิง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | ดอกหรีดเขา |
วงศ์: | วงศ์ตีนเป็ด |
สกุล: | Sarcolobus Wall. |
สปีชีส์: | Sarcolobus globosus |
ชื่อทวินาม | |
Sarcolobus globosus Wall. |
เถาหัวลิง หรือ หัวลิง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sarcolobus globosus) เป็นไม้พุ่มเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย รวมถึง ประเทศอินเดีย ประเทศจีน ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศเมียนมาร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย
ในประเทศอินเดีย พืชชนิดนี้พบได้ในป่าชายเลนของรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐโอฑิศา รัฐอานธรประเทศ สุนทรวัน และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของภูมิภาคเหล่านี้จะใช้ใบและเหง้า เป็นยารักษาโรค ส่วนเมล็ดที่มีพิษจะใช้เป็นเหยื่อล่อเพื่อฆ่าสุนัขและสัตว์ป่า
คำอธิบาย
[แก้]เถาหัวลิงเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลำต้นเกลี้ยงและแข็งแรง รากมีขนาดหนาและอวบน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน มีขนาด 3-6x2-4.5 ซม. รูปไข่หรือรูปวงรี เนื้อใบหนาและอวบน้ำ ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบกลม ช่อดอกเป็นช่อแบบกระจุก ดอกมีขนาดเล็ก เป็นรูปดาว รวมกันในช่อดอกแบบกระจุกที่ซอกใบ ดอกมีขนาด 2-3 มม. กลีบดอกมีสีม่วง ด้านในของกลีบมีขน ฝักแตกแนวเดียวมีสีน้ำตาลขนาด 4–5 ซม. รูปร่างค่อนข้างกลม เมล็ดมีจำนวนมากและแบน ใบเลี้ยงมักมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีรากฝอยขนาดใหญ่
ในป่าชายเลนของประเทศอินเดีย มักพบร่วมกับ Phoenix paludosa (เป้งทะเล) และจะเลื้อยอยู่บนต้นไม้
การออกดอกและการติดผล เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน–กันยายน และเดือนตุลาคม–มกราคม ตามลำดับ ในรัฐอานธรประเทศ มีการบันทึกว่าผลจะออกเร็วที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม
ส่วนประกอบทางเคมี
[แก้]เถาหัวลิง เป็นแหล่งอันอุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ โรทีนอยด์ และฟีนอลิคไกลโคไซด์[1][2] สารโรทีนอยด์ เช่น เทฟโรซิน, 12aalpha-hydroxydeguelin, 11-hydroxytephrosin, 12a-hydroxyrotenone, 12aalpha-hydroxyrotenone, 6aalpha,12aalpha-12a-hydroxyelliptone, 6a,12a-dehydrodeguelin และ 13-homo-13-oxa-6a,12a-dehydrodeguelin, วิลโลซินอล และ 6-oxo-6a,12a-dehydrodeguelin ได้รับการระบุ และมีการระบุไอโซฟลาโวน เช่น บาร์บิเจอโรน เจนิสติน และ Chromone 6,7-dimethoxy-2,3-dihydrochromone และIsoflavone sarcolobone และ rotenoid sarcolobin ถูกแยกออกจากลำต้นและเป็นลักษณะเฉพาะของพืชชนิดนี้ มีรายงานว่า มีการค้นพบไกลโคไซด์ของฟีนอลิก 4 ชนิด รวมถึงกรดวานิลลิก 4-O-beta-d-glucoside กลูโคซีริงิกแอซิด ทาคิโอไซด์ และไอโซทาคิโอไซด์[3]
การนำไปใช้
[แก้]ใช้เป็นพิษ
[แก้]เถาหัวลิง ถูกระบุโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้เป็นพืชมีพิษ เมล็ดพืชเหล่านี้มีพิษร้ายแรงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชาวพื้นเมืองในเอเชียใช้กันอย่างแพร่หลายในการฆ่าสุนัขและสัตว์ป่า มีการพิสูจน์แล้วว่ามีมีประสิทธิภาพในการฆ่าแมว[4] และมีรายงานการใช้ในเกาะชวาในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเสือ[5] สารสกัดจากพืชทำให้เกิดการยับยั้งระบบประสาทและกล้ามเนื้อ[6] อาการของการได้รับพิษในสัตว์ ได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือด และไตเสื่อม[7]
ใช้เป็นยา
[แก้]พืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในเวชสมุนไพรวิทยา ในการรักษาโรครูมาติก โรคไข้เลือดออก และไข้ เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชชนิดนี้มีบาร์บิเจอโรน ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญ[3] มีประสิทธิภาพสูงต่อปรสิตสกุลพลาสโมเดียมอย่าง Plasmodium falciparum[8] และมีศักยภาพในการต้านมะเร็ง เนื่องจากทำให้เกิดอะพอพโทซิสของเซลล์มะเร็งปอดในหนู[9]
ดูเพิ่มเติม
[แก้]เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ Wangensteen H; Alamgir M; Rajia S; Samuelsen AB; Malterud KE (2005). "Rotenoids and isoflavones from Sarcolobus globosus". Planta Med. 71 (8): 754–758. doi:10.1055/s-2005-864182. PMID 16142641.
- ↑ Wangensteen H, Alamgir M, Duong GM, Grønhaug TE, Samuelsen AB, Malterud KE (2009). Chemical and biological studies of medicinal plants from the Sundarbans mangrove forest. In:Advances in Phytotherapy Research (M Eddouks, ed). Research Signpost,Kerala, India, pp. 59-78. ISBN 978-81-308-0223-7
- ↑ 3.0 3.1 Wangensteen H; Miron A; Alamgir M; Rajia S; Samuelsen AB; Malterud KE (2006). "Antioxidant and 15-lipoxygenase inhibitory activity of rotenoids, isoflavones and phenolic glycosides from Sarcolobus globosus". Fitoterapia. 77 (4): 290–295. doi:10.1016/j.fitote.2006.03.017. PMID 16701962. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Wang" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Arokiasamy M (1968). "Toxicity of Sarcolobus globosus as observed in a cat". Malaysian Veterin J. 4 (3): 196–199.
- ↑ Kerkhoven, R. A.; KERKHOVEN, E. J. (1883). "A Tiger Hunt in Java". Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society (12): 269–281. ISSN 2304-7534. JSTOR 41560720.
- ↑ Mustafa MR; Hadi AHA (1990). "Neuromuscular blocking activity of a glycosidic extract of the plant Sarcolobus globosus". Toxicon. 28 (10): 1237–1239. doi:10.1016/0041-0101(90)90123-O. PMID 2264070.
- ↑ Radostits OM, Arundel JH, Gay CC (2000). Veterinary Medicine: A textbook of the diseases of cattle, horses, sheep, pigs and goats (10th edn). Saunders Ltd., p. 1684. ISBN 0-7020-2777-4
- ↑ Yenesew A; Derese S; Midiwo JO; Oketch-Rabah HA; Lisgarten J; Palmer R; Heydenreich M; Peter MG; Akala H; Wangui J; Liyala P (2003). "Anti-plasmodial activities and X-ray crystal structures of rotenoids from Millettia usaramensis subspecies usaramensis". Phytochemistry. 64 (3): 773–779. doi:10.1016/S0031-9422(03)00373-X. PMID 13679101.
- ↑ Li ZG; Zhao YL; Wu X; Ye HY; Peng A; Cao ZX; Mao YQ; Zheng YZ; Jiang PD; Zhao X; Chen LJ (2009). "Barbigerone, a natural isoflavone, induces apoptosis in murine lung-cancer cells via the mitochondrial apoptotic pathway". Cell Physiol Biochem. 24 (1–2): 95–104. doi:10.1159/000227817. PMID 19590197.