ข้ามไปเนื้อหา

เตลกุปิ

พิกัด: 23°39′59″N 86°36′24″E / 23.666362°N 86.606561°E / 23.666362; 86.606561
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตลกุปิ
Old temple in front of a river
เทอุฬที่จมน้ำของเตลกุปิ
เตลกุปิตั้งอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก
เตลกุปิ
แสดงที่ตั้งภายในรัฐเบงกอลตะวันตก
เตลกุปิตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เตลกุปิ
เตลกุปิ (ประเทศอินเดีย)
ที่ตั้งตำบลรฆุนาถปุระ อำเภอปุรุลิยา
ภูมิภาครัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
พิกัด23°39′59″N 86°36′24″E / 23.666362°N 86.606561°E / 23.666362; 86.606561
ความเป็นมา
ผู้สร้างรุทรศิขร
สร้างศตวรรษที่ 11

เตลกุปิ (เบงกอล: তেলকুপি) เป็นแหล่งโบราณคดีจมน้ำในอำเภอปุรุลิยา รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย พื้นที่และโบสถ์พราหมณ์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณถูกจมน้ำในปี 1959 อันเป็นผลจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำทโมทารที่ปันเจต อำเภอธานพาท ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในรัฐพิหาร

ชื่อเดิมของเตลกุปิคือ ไตลกัมปิ (Tailakampi)[1] เป็นราชธานีในรัชสมัยของรุทรศิขร กษัตริย์ท้องถิ่นที่ครองราชย์ในสมยัศตวรรษที่ 11 ผู้ทรงช่วยกษัตริย์แห่งปาละ รามปาละ สู้รบแย่งวเรนทร คืนมาจากภีมะ พระราชพงศาวดารปัญจโกฏราชของราชวงศ์ศิขรมีกล่าวถึงรุทรศิขรว่าขึ้นสู่อำนาจในปี 1098[1]: 223  นักประวัติศาสตร์ นิหารรันชัน ราย สันนิษฐานว่ารุทรศิขรครองราชย์ในปี 1070 ถึง 1120[2] สันธยกร นันทิ เขียนไว้ในบทกวี รามจริตัม ว่ารุทรศิขรเป็นผู้ปราดเปรื่องด้านการรบประดุจไฟป่าที่แผดเผา[3]

ในปี 1878 นักโบราณคดีขาวอาร์มีเนีย-อินเดีย โยเซฟ เดวิด เบกลาร์ ได้เขียนบรรยายถึงโบสถ์พราหมณ์แห่งเตกุลปิเป็นครั้งแรกในรายงานให้กับกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย[4]: 6  ในรายงานนี้เขาระบุว่าพื้นที่ของเตกุลปิเต็มไปด้วยวิหารมากมาย มากกว่าหลายที่ในแถบที่ราบสูงโจตนาคปุระ เขาแบ่งหมู่มนเทียรเหล่านี้ออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มใหญ่สุดอยู่ทางเหนือของหมู่บ้านเตลกุปิ ใกล้กับแม่น้ำทโมทาร กลุ่มที่สองอยู่ทางตะวันตก และกลุ่มที่สามอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน[5]: 170

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Basu, Nagendranath (2004). Chowdhury, Kamal (บ.ก.). Banger Jatiyo Itihas, Rajanya Kanda (ภาษาเบงกอล). Kolkata: Dey's Publishing.
  2. Ray, Niharranjan (1976). Banglar Itihas (ภาษาเบงกอล). Kolkata: Lekhak Samabay Samity. p. 251.
  3. Nandi, Sandhyakar (1934). Vidyavinod, Ayodhyanath (บ.ก.). Ramacharitamanas (ภาษาสันสกฤต). Kolkata: Dibyasmriti Samiti. samara-parisara-visarad-ari-raja-raji-ganda-garvva-gahana-dahana-davanalas-tailakampiya-kalpa-taru-[Ru]d[r]asikharah
  4. Mitra, Debala (1969). "II". Tekupi – a submerged temple site in West Bengal. Memoirs of the Archaeological Survey of India. Vol. 76. New Delhi: Archaeological Survey of India.
  5. Beglar, Joseph David Freedone Melik (1878). "Telkupi". Report of a Tour Through the Bengal Provinces of Patna, Gaya, Mongir and Bhagalpur; The Santal Parganas, Manbhum, Singhbhum and Birbhum; Bankura, Raniganj, Bardwan and Hughli; in 1872-73. Report of the Archaeological Survey of India. Vol. VIII. Kolkata: Archaeological Survey of India.