ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสุลต่านรูม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซลจุคแห่งอานาโตเลีย)
รัฐสุลต่านรูม
سلاجقة الروم
Anadolu Selçuklu Devleti
Sultanate of Rûm

พ.ศ. 1603–พ.ศ. 1851
ธงชาติรัฐสุลต่านรูม
ธงชาติ
แผนที่อาณาจักรสุลต่านแห่งรัม ในปี พ.ศ. 1733
แผนที่อาณาจักรสุลต่านแห่งรัม ในปี พ.ศ. 1733
สถานะรัฐสุลต่าน
เมืองหลวงนิชาเพอร์
เรย์
ภาษาทั่วไปภาษาเปอร์เซีย (ทางการ)
ภาษาตุรกีอานาโตเลียโบราณ
การปกครองราชาธิปไตย
สุลต่าน 
• พ.ศ. 1603-1620
กุตาลมิต (คนแรก)
• พ.ศ. 1848-1851
เมซุดที่ 2 (คนสุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• แยกตัวออกจากจักรวรรดิเซลจุค
พ.ศ. 1603
• ล่มสลาย
พ.ศ. 1851
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเซลจุค
จักรวรรดิออตโตมัน
จักรวรรดิข่านอิล

รัฐสุลต่านรูม (อังกฤษ: Sultanate of Rûm, อาหรับ: سلاجقة الروم) เป็นรัฐสุลต่านเซลจุคตุรกี[1] ที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลียระหว่างปี พ.ศ. 1603 จนถึงปี พ.ศ. 1851 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อิซนิคและต่อมาคอนยา เนื่องจากอาณาจักรสุลต่านเป็นอาณาจักรที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอฉะนั้นเมืองอื่นเช่นเคย์เซรีและซิวาสต่างก็ได้เป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่ง ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาจักรสุลต่านแห่งรูมมอาณาบริเวณครอบคลุมกลางตุรกีตั้งแต่เมืองท่าอันทาลยา-อลันยาบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซนอพบนฝั่งทะเลดำ ทางตะวันออกอาณาจักรสุลต่านก็ผนวกรัฐต่างๆ ของตุรกีไปจนถึงทะเลสาบวาน ทางด้านตะวันตกสุดก็มีอาณาบริเวณไปจรดบริเวณเดนิซลิและบริเวณทะเลอีเจียน

ศัพทมูล

[แก้]

คำว่า “Rûm” อาหรับที่ใช้เรียกโรมัน เซลจุคเรียกอาณาจักรของตนเองว่า “รูม” เพราะกองทัพมุสลิมต่างๆ ถือว่าบริเวณนี้เคยเป็นดินแดนที่ถือว่าเป็นดินแดน “โรมัน” มาแต่โบราณหรือของจักรวรรดิโรมันตะวันออก[2] นักประวัติศาสตร์ตุรกีสมัยปัจจุบันเรียกอาณาจักรนี้ว่า “รัฐสุลต่านอานาโตเลีย” (“Anadolu Selçukluları”) หรือเมื่อไม่นานมานี้ก็เรียกว่า “เซลจุคแห่งตุรกี” (“Türkiye Selçukluları”) หรือบางครั้งก็มีบ้างที่เรียกว่า “รัฐสุลต่านคอนยา” หรือ “รัฐสุลต่านไอโคเนียม” ในบันทึกที่เขียนในตะวันตก ส่วนในประเทศไทยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกอาณาจักรนี้ว่า หรุ่ม หรือ หรุ่มโต้ระกี่[3] ตามที่ปรากฏในโคลงภาพคนต่างภาษาช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[4]

ประวัติ

[แก้]

รัฐสุลต่านรูมมีความรุ่งเรืองที่สุดในปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้น พุทธศตวรรษที่ 17 เมื่อยึดเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบนฝั่งทะเลดำจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ ภายในอานาโตเลียเซลจุคก็ทำการค้าขายโดยใช้ระบบสถานีคาราวาน (caravanserai) โดยการตั้งที่พักผู้ขนย้ายสินค้าเป็นระยะๆ ที่เป็นการช่วยให้ความสะดวกแก่การขนย้ายสินค้าจากอิหร่านและเอเชียกลางไปยังเมืองท่าต่างๆ รัฐสุลต่านรูมมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นหนากับสาธารณรัฐเจนัวก็ก่อตั้งขึ้นในสมัยนี้ ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นทำให้เซลจุคสามารถผนวกรัฐต่างๆ ในตุรกีที่ก่อตั้งขึ้นทางตะวันออกได้หลังจากยุทธการมันซิเคิร์ต (Battle of Manzikert) ที่รวมทั้งดินแดนของดานิชเมนด์ส (Danishmends), เมงกือเซ็ค (Mengücek), ซัลตุคลุ (Saltuklu) และ อาร์ตูคลุ (Artuklu) สุลต่านเซลจุคสามารถต่อต้านนักรบครูเสด แต่ในปี พ.ศ. 1786 ก็มาเพลี่ยงพล้ำต่อจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามารุกราน ในที่สุดเซลจุคก็กลายเป็นเมืองขึ้นของมองโกล และแม้ว่าชนชั้นบริหารจะพยายามรักษาความเป็นรัฐสุลต่านไว้แต่ในที่สุดอำนาจของอาณาจักรสุลต่านก็เสื่อมโทรมลงในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 17 และสลายตัวไปในสิบปีแรกของพุทธศตวรรษที่ 18

ในช่วงสิบปีสุดท้ายบริเวณรัฐสุลต่านรูมก็เป็นบ่อเกิดของราชรัฐเล็กๆ น้อยๆ ที่ก่อตัวขึ้น (Beyliks) ที่รวมทั้งออสมันกลู (Osmanoğlu) ที่รุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่เป็นจักรวรรดิออตโตมัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Seljuq Turks" in various scholastic sources
  2. Alexander Kazhdan, “Rūm” The Oxford Dictionary of Byzantium (Oxford University Press, 1991), vol. 3, p. 1816.
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548. หน้า 194
  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548. หน้า 192

ดูเพิ่ม

[แก้]