เจ้าสุริวงศ์ สว่าง
สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์พระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น (อ้างสิทธิ์เป็นพระมหากษัตริย์พระราชอาณาจักรลาว) | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2523 – ปัจจุบัน | ||||
ประสูติ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 (60 พรรษา) พระราชวังหลวงพระบาง พระนครหลวงพระบาง ประเทศลาว | ||||
คู่อภิเษก | เสด็จเจ้าจันทร์ศุกร์ สุขธารา | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ล้านช้างร่มขาว | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีมณีไลย |
ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง |
---|
|
สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง (ลาว: ສົມເດັດເຈົ້າຟ້າຊາຍ ສຸລິວົງສ໌ ສວ່າງ ; ประสูติ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2506) เป็นพระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระราชอาณาจักรลาวผลัดถิ่น ผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ลาว ปัจจุบันประทับในฐานะผู้ลี้ภัย ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส[1]
ในปัจจุบันนั้นพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุข (พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต) แห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นทำให้สถานะของพระองค์ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสังคมชาวลาวว่าพระองค์ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ลงมาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์ สว่าง ประสูติ ณ พระราชวังหลวงในเมืองหลวงพระบาง เป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าชายวงศ์สว่าง องค์มกุฎราชกุมารกับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมณีไลย องค์มกุฎราชกุมารี หลังจากการปฏิวัติของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ มีการสถาปนารัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงถูกนำไปยังค่ายสัมมนา แต่สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์ สว่างทรงสามารถหลบหนีออกมาได้พร้อมกับพระอนุชา สมเด็จเจ้าฟ้าชายธัญวงศ์ สว่าง ในปี พ.ศ. 2524 แล้วจึงเสด็จลี้ภัยไปยังกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
การศึกษา
[แก้]สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์ สว่างทรงเข้าศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลร์มองต์-เฟร์รองด์
ด้านการเมือง
[แก้]บทบาทพระประมุขแห่งรัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น
[แก้]พระองค์ได้ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นโดยทรงประทับอยู่ที่คฤหาสน์หรูส่วนที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งพระองค์ใช้ประทับเสมือนแทนพระราชวังที่นครหลวงพระบาง
ส่วนในด้านรายจ่ายส่วนพระองค์นั้นในระยะแรกแรกเริ่มของการที่พระองค์ลี้ภัยมาพำนักที่ฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสได้เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ แต่ต่อมาภายหลังนั้นทางราชวงศ์ลาวได้จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง ทางฝรั่งเศสจึงลดเงินสนับสนุนรายจ่ายของพระองค์ลง ดังนั้นพระองค์จึงทรงหันไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ส่วนพระองค์และอีกส่วนมาจากเงินบริจาคของชาวลาวโพ้นทะเลที่มีจิตศรัทธาในระบอบกษัตริย์
การก่อการร้ายที่ด่านวังเตา
[แก้]รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นได้มีก่อการร้ายเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของสปป.ลาวและฟื้นฟูระบอบกษัตริย์โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เจ้าสุลิวงศ์ สว่างได้ทรงแต่งตั้งให้ ท้าวสีสุก ไชยแสง เป็นหัวหน้ากลุ่มขบวนการต่อต้านรัฐบาลสปป.ลาว ได้นำกำลังติดอาวุธบุกยึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ประเทศลาว เมื่อเช้ามืดวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ในภารกิจดังกล่าวได้มีการจับชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวเป็นตัวประกันไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อต่อรองกับกองทัพประชาชนลาว ถือเป็นการก่อการร้ายข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ[2]
หมายเหตุ
[แก้]ในพระราชสำนักลาว มีการเรียกพระนามของพระองค์ว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์ สว่าง[ต้องการอ้างอิง]
เครื่องราชอิสรยาภรณ์
[แก้]ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2505 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'สุริวงศ์ สว่าง' รัชทายาทไร้บัลลังก์เพรียกหาประชาธิปไตยในฝัน!". สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ในเนชั่นสุดสัปดาห์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
- ↑ "ย้อนรอยขบวนการกู้ชาติลาว..."ท้าวอนุวงศ์" หนุน ขตล.บุกยึดด่านวังเตาปี 43". ผู้จัดการออนไลน์ MGR Online. 25 มกราคม 2549. สืบค้นเมื่อ 22 July 2020.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
ก่อนหน้า | เจ้าสุริวงศ์ สว่าง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จเจ้าฟ้าชายวงศ์สว่าง องค์มกุฎราชกุมาร | ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ พระมหากษัตริย์ลาว (พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่ง |