ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าชายอเมดิโอ ดยุกที่ 3 แห่งออสตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-เอออสตา, ดยุคแห่งเอออสตาที่ 3

เจ้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-ออสตา 28 ตุลาคม ค.ศ. 18981 มีนาคม ค.ศ. 1942) เป็นพระญาติของพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี และทรงเป็นดยุคแห่งเอออสตาลำดับที่ 3 พระนามหลังทรงได้รับศีลจุ่มในศาสนาคริสต์คือ "อาเมเดโอ อุมแบร์โต อิซาเบลลา ลุยจี ฟิลิปโป มาเรีย จูเซปเป โจวานนี ดี ซาวอย-เอออสตา" (Amedeo Umberto Isabella Luigi Filippo Maria Giuseppe Giovanni di Savoia-Aosta) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี (Africa Orientale Italiana)

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าชายอาเมเดโอประสูติที่เมืองโตริโน แคว้นปิเอมอนเต เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1898 โดยเป็นพระโอรสของเจ้าชายเอมมานูเอล ฟิลิแบร์โต ดยุคแห่งออสตาที่ 2 และเจ้าหญิงเอแลนแห่งออร์เลอองส์ เนื่องจากพระไปยกา (ปู่ทวด) ของพระองค์คือพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 กษัตริย์แห่งอิตาลี ทำให้พระองค์ได้นับเนื่องอยู่ในสมาชิกแห่งราชวงศ์ซาวอยด้วย เมื่อแรกประสูตินั้นพระองค์มีพระอิสริยยศเป็น "ดยุคแห่งอาปูเลีย"

เจ้าชายอาเมเดโอมีพระวรกายที่สูงมาก ครั้งหนึ่งได้มีนักข่าวกราบทูลถามถึงส่วนสูงของพระองค์ พระองค์ได้ตรัสตอบว่า "198 เซนติเมตร" (6 ฟุต 6 นิ้ว)

การศึกษาและราชการทหารช่วงแรก

[แก้]

อุปราชและข้าหลวงใหญ่

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1937 หลังจากที่อิตาลีสามารถพิชิตเอธิโอเปียได้สำเร็จจากสงครามอิตาลี-อบิสสิเนียครั้งที่สอง เจ้าชายอาเมเดโอจึงทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงใหญ่แห่งดินแดนแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี แทนจอมพลโรดอลโฟ กราซีอานี การแต่งตั้งครั้งนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการแก้ไขภาพลักษณ์ของอิตาลีให้ดีขึ้นยิ่งกว่าช่วงที่จอมพลกราซีอานีดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาก อนึ่ง ในฐานะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงใหญ่แห่งแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี พระองค์จึงทรงมีฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพอิตาลีที่อยู่ในเอริเทรีย เอธิโอเปีย และในโซมาลีแลนด์ของอิตาลีด้วยเช่นกัน

สงครามโลกครั้งที่ 2

[แก้]

เมื่ออิตาลีประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ดยุคแห่งเอออสตาจงทรงมีฐานะเป็นผู้บัญชาการกองทัพอิตาลีในการทัพแอฟริกาตะวันออก พระองค์ได้ตรวจตราการบุกขั้นต้นของกองทัพอิตาลีในซูดานและเคนยา และในเดือนสินหาคม พระองค์ก็ได้ไปตรวจการบุกของกองทัพอิตาลีในบริติชโซมาลีแลนด์[1]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 ฝ่ายบริเตนได้เปิดฉากการรุกโต้กลับ และฝ่ายอิตาลีต้องกลับมาเป็นฝ่ายป้องกันในสมรภูมิแอฟริกาตะวันออก กองทัพอิตาลีต้องทำการสู้รบอย่างตึงมือตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ทว่าหลังจากการต่อต้านอย่างดุเดือดในยุทธการแห่งเคเรน อิตาลีก็เป็นฝ่ายปราชัยในที่สุด[2] ผลของการพ่ายแพ้ทำให้ดินแดนเอริเทรียที่เหลืออยู่ซึ่งรวมถึงเมืองท่ามาสซาวาต้องแตกพ่ายทั้งหมด ในวันที่ 31 มกราคม ดยุคแห่งออสตาได้รายงานสถานการยังหน่วยเหนือว่า กำลังของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกเหลือเพียงอากาศยานที่ปฏิบัติการได้ 67 ลำ พร้อมด้วยเชื้อเพลิงจำนวนจำกัด และด้วยสถานการณ์ที่เสบียงใกล้จะหมดและหมดหนทางที่จะหามาเพิ่มเติมได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะทุ่มเทเสบียงเหล่านี้ให้แก่กองกำลังอิตาลีที่เหลืออยู่ในที่มั่นสำคัญหลายแห่ง อันได้แก่ที่เมืองกอนดาร์, อัมบา อลางี, เดสซี, และจิมมา โดยพระองค์เองได้บัญชาการทหารอิตาลี 7,000 อยู่ที่ป้อมปราการบนภูเขาในเขตเมืองอัมบา อลางี กองกำลังของพระองค์ถูกกองกำลังบริเตน 9,000 นาย และกองทัพกบฏชาวเอธิโอเปียอีกกว่า 20,000 ปิดล้อมและเข้าโจมตี ทำให้พระองค์และกองทัพอิตาลีต้องยอมจำนนในสมรภูมิอัมบา อลางี เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 การยอมจำนนในวันนั้นกองทัพบริเตนได้จัดให้เป็นการยอมจำนนอย่างมีเกียรติเพื่อเป็นการยกย่องการต่อสู้อย่างกล้าหาญของกองทัพอิตาลีในอัมบา อลางี[3]

มรณกรรม

[แก้]

ไม่นานนักหลังจากพระองค์ยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตร ดยุคแห่งออสตาได้ทรงถูกกักกันที่ค่ายเชลยศึกในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา พระองค์ได้ถูกจัดให้อยู่ร่วมกันกับเพื่อนนักโทษร่วมชาติ ทว่าพระองค์ไม่มีโอกาสที่จะได้ทอดพระเนตรจุดจบของสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะหลังจากที่ทรงถูกควบคุมตัวไว้ไม่นานก็ได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1942 ในค่ายกักกันแห่งนั้นเอง รายงานกล่าวว่าสาเหตุของการสิ้นพระชนม์มาจากทั้งโรคมาเลเรียและวัณโรค[4] ตำแหน่งดยุคแห่งออสตาจึงสืบทอดแก่เจ้าชายไอโมเนผู้เป็นพระอนุชา

ครอบครัว

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

ลำดับสายสกุล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]