เจ้าชายวูนา ตากีตากีมาโลฮี
เจ้าชายวูนา ตากีตากีมาโลฮี | |||||
---|---|---|---|---|---|
มกุฎราชกุมารตองงา | |||||
เจ้าชายวูนากับพระราชบิดาและพระราชมารดา | |||||
มกุฎราชกุมารตองงา | |||||
ดำรงตำแหน่ง | 1845–1862 | ||||
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง | ||||
ถัดไป | เจ้าชายเตวิตา อูงา | ||||
พระมหากษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 | ||||
พระราชสมภพ | ประมาณปี 1844 | ||||
สวรรคต | มกราคม 1862 พระราชวัง, นูกูอาโลฟา, ตองงา | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตูโปอู | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีซาโลเต ลูเปเปาอู | ||||
ศาสนา | เมโทดิสต์ |
เจ้าชายเซียโอซี วูนา ตากีตากีมาโลฮี (ประมาณปี 1844 – มกราคม 1862) เป็นเจ้าชายแห่งตองงา พระองค์ทรงพระราชสมภพในช่วงประมาณปี 1884 และเป็นพระราชโอรสตามกฎหมายที่มีพระชนม์ชีพเพียงพระองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีซาโลเต ลูเปเปาอู พระองค์มีพระเชษฐาคือเจ้าชายตูอูกีเตา ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี 1842 เมื่อมีพระชนมายุ 4 พรรษา[1] พระนามของพระองค์ เซียโอซี หรือ จอร์จ เป็นการตั้งตามพระราชบิดา ที่ตั้งพระนามเพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ขณะที่พระราชมารดาของพระองค์ตั้งพระนามว่า ซาโลเต หรือ ชาร์ล็อต ตามสมเด็จพระราชินีชาร์ล็อต[2] ส่วนพระพี่น้องต่างพระมารดาของเจ้าชายวูนาอันได้แก่ เตวิตา อูงา และซาโลเต มาฟีเลโอ ปีโลเลวู ได้ถูกบอกตัดขาดจากพระราชบิดาของพระองค์ให้เป็นโอรสนอกกฎหมาย พร้อม ๆ ไปกับพระมารดาของพระพี่น้องดังกล่าว เนื่องจากมีสถานะเป็นมเหสีรอง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พระราชบิดาอภิเษกสมรสตามประเพณีคริสต์กับพระราชมารดาของเจ้าชายวูนา[3] ซึ่งพระราชมารดาของพระองค์เคยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าเลาฟีลีโตงา ตูอิโตงาพระองค์สุดท้าย นอกจากนี้พระมารดาของพระอัยยิกาของพระองค์ยังเคยมีสถานะสูงถึงตูอีโตงาเฟฟีเน[4]
เมื่อมีพระชนมายุได้ 17 ถึง 18 พรรษา เจ้าชายวูนาสิ้นพระชนม์เมื่อเดือนมกราคม 1862 ไม่ได้อภิเษกสมรส ส่งผลให้พระราชบิดาไร้รัชทายาท[5] การสิ้นพระชนม์ของพระองค์สร้างความโศกเศร้าให้กับพระชาชนตองงา โดยในพิธีพระศพ พระมหากษัตริย์ได้อนุญาตให้รื้อฟื้น ตูกูโอโฟ ซึ่งเป็นพิธีกรรมดั้งเดิมที่จะมีการมอบเสื่อและอาหารให้กับผู้วายชนม์ การกระทำดังกล่าวทำให้ผู้รับผิดชอบพิธีอย่างวิลเลียม จอร์จ ริชาร์ด สเตฟินสัน ตำหนิพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและอบรมผู้เข้าร่วมพิธีชาวพื้นเมือง อันนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างพระมหากษัตริย์กับเวสเลยันเชิร์ช[5] ลำดับการสืบสันตติวงศ์ว่างลงเป็นระยะเวลา 13 ปี จนกระทั่งมีการสถาปนารัฐธรรมนูญตองงาฉบับแรกขึ้นในปี 1875 ซึ่งทำให้สถานะของพระพี่น้องของเจ้าชายวูนาเป็นพระโอรสและธิดาตามกฎหมาย เจ้าชายเตวิตา อูงา พระเชษฐาต่างพระมารดาของพระองค์จึงขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารตองงา[6] ทว่าสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 1 มีพระชนมายุยืนยาวกว่าพระราชโอรสและพระราชนัดดาทั้งหมด ทำให้พระราชปนัดดาเป็นผู้สืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wood-Ellem 1999, p. 320.
- ↑ Wood-Ellem 1999, p. 318.
- ↑ Wood-Ellem 1999, p. 19.
- ↑ Wood-Ellem 1999, p. 312.
- ↑ 5.0 5.1 Rodman & Rutherford 2007, p. 26-27.
- ↑ Spurway 2015, p. 155.
บรรณานุกรม
[แก้]- Rodman, Margaret; Rutherford, Noel (2007). Rutherford: Shirley Baker/Tonga. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1856-2.
- Spurway, John (2015). Ma'afu, Prince of Tonga, Chief of Fiji: A Life of Fiji's First Tui Lau. Canberra: Australian National University Press. ISBN 978-1-925021-18-9. OCLC 879538614. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-16. สืบค้นเมื่อ 2015-07-16.
- Wood-Ellem, Elizabeth (1999). Queen Sālote of Tonga: The Story of an Era 1900-1965. Auckland, N.Z: Auckland University Press. ISBN 978-0-8248-2529-4. OCLC 262293605.
ก่อนหน้า | เจ้าชายวูนา ตากีตากีมาโลฮี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประเดิมตำแหน่ง | มกุฎราชกุมารตองงา (1845–1862) |
เจ้าชายเตวิตา อูงา |