ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าคณะอรัญวาสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าคณะอรัญวาสี
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระไม่ได้กำหนด
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระพุฒาจารย์
สถาปนาพ.ศ. 2394
คนสุดท้ายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ ติสฺสเทโว)
ตำแหน่งที่มาแทนเจ้าคณะใหญ่หนกลาง

เจ้าคณะอรัญวาสี คือเจ้าคณะใหญ่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะสงฆ์อรัญวาสี เจ้าคณะอรัญวาสีรูปสุดท้ายคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ ติสฺสเทโว) ภายหลังจากพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชก็มิได้มีพระสงฆ์รูปใดได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคณะอรัญวาสีอีก คงมีแต่ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลางเท่านั้น

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมมาตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะเป็นตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น แบ่งการปกครองคณะสงฆ์เป็น 3 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ และคณะอรัญวาสีโดยมีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะใหญ่ ดังนี้

  1. สมเด็จพระวันรัตน์ เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ
  2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะใต้
  3. สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะอรัญวาสี (ตำแหน่งนี้ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา)

ในครั้งนั้นแต่ละคณะต่างปกครองโดยไม่ขึ้นแก่กัน สำหรับคณะอรัญวาสีนั้นไม่มีวัดขึ้นในปกครอง เพราะวัดอรัญวาสีที่อยู่ในฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ก็รวมขึ้นอยู่ในปกครองของเจ้าคณะนั้น ๆ แต่ยังคงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีไว้เพราะมีหน้าที่ต้องตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดิน

มาในรัชกาลที่ 3 ทรงตั้งคณะกลางขึ้นเป็นคณะพิเศษขึ้นต่อกรมหมื่นนุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ที่สมเด็จพระสังฆราชและสิ้นพระชนม์ในรัชกาลนั้น[1]

ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา พระพรหมมุนี (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะกลาง ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะอรัญวาสี จึงเป็นอันยกเลิกไปตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ก็เป็นตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะกลางตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา[2]

รายนามเจ้าคณะอรัญวาสี

[แก้]

คณะอรัญวาสีเป็นคณะสงฆ์ดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา และมีเจ้าคณะปกครองมาแต่อดีต เจ้าคณะอรัญวาสีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีดังนี้

ลำดับ รูป รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ วัด
1 สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2363 วัดราชสิทธาราม
2 พระญาณสังวรเถร (ด้วง) พ.ศ. 2369 พ.ศ. 2379 วัดราชสิทธาราม
3 พระญาณสังวรเถร (บุญ) พ.ศ. 2388 พ.ศ. 2397 วัดราชสิทธาราม
4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) พ.ศ. 2397 พ.ศ. 2403 วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
5 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) พ.ศ. 2407 พ.ศ. 2415 วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
6 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) พ.ศ. 2422 พ.ศ. 2427 วัดศาลาปูนวรวิหาร
7 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ) พ.ศ. 2430 พ.ศ. 2437 วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
8 หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) พ.ศ. 2437 พ.ศ. 2443 วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
9 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร พ.ศ. 2444 พ.ศ. 2444 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
10 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) พ.ศ. 2445 พ.ศ. 2448 วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
11 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ) พ.ศ. 2448 พ.ศ. 2453 วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
12 พระพุฒาจารย์ (มา อินฺทสโร) พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2457 วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
13 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2466 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
14 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ ติสฺสเทโว) พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2472 วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จารึกสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย". กรมศิลปากร. 2555. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรเถระ ป.ธ.๙)". วัดสัมพันธวงศาราม. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-26. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)