เหตุเครื่องบินชนกันบนทางวิ่งท่าอากาศยานฮาเนดะ พ.ศ. 2567
ซากเครื่องบินแอร์บัส เอ350-941 ลำที่เกิดเหตุ หนึ่งวันหลังการชนกัน | |
สรุปอุบัติเหตุ | |
---|---|
วันที่ | 2 มกราคม ค.ศ. 2024 |
สรุป | การชนกันบนทางวิ่ง; อยู่ระหว่างการสืบสวน |
จุดเกิดเหตุ | ทางวิ่ง 34R ท่าอากาศยานฮาเนดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 28°28′54″N 16°20′18″W / 28.48165°N 16.3384°W |
เสียชีวิต | 5 คน |
บาดเจ็บ | 12 คน |
รอดชีวิต | 380 คน |
อากาศยานลำแรก | |
JA13XJ แอร์บัส เอ350-900 ของเจแปนแอร์ไลน์ 5 เดือนก่อนเกิดเหตุ | |
ประเภท | แอร์บัส เอ350-900 |
ดําเนินการโดย | เจแปนแอร์ไลน์ |
หมายเลขเที่ยวบิน IATA | JL516 |
หมายเลขเที่ยวบิน ICAO | JAL516 |
รหัสเรียก | JAPAN AIR 516 |
ทะเบียน | JA13XJ |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ ซัปโปโระ ประเทศญี่ปุ่น |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานฮาเนดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
จำนวนคน | 379 คน |
ผู้โดยสาร | 367 คน |
ลูกเรือ | 12 คน |
เสียชีวิต | 0 คน |
บาดเจ็บ | 14 คน |
รอดชีวิต | 379 คน |
อากาศยานลำที่สอง | |
JA722A ดีเอชซี-8-315 ของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นลำที่เกิดเหตุ ถ่ายที่ท่าอากาศยานฮาเนดะใน ค.ศ. 2023 | |
ประเภท | เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-8-315 |
ชื่อ | Mizunagi |
ดำเนินการโดย | หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น |
ทะเบียน | JA722A |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานฮาเนดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานนีงาตะ นีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น |
จำนวนคน | 6 คน |
ลูกเรือ | 6 คน |
เสียชีวิต | 5 คน |
บาดเจ็บ | 1 คน |
รอดชีวิต | 1 คน |
เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2024 เวลาประมาณ 17:47 น. (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) เกิดการชนกันบนทางวิ่งระหว่าง เจแปนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 516 แอร์บัส เอ350 และ JA722A ดีเอชซี-8-315 ของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น เดิมเครื่องบินของเจแปนแอร์ไลน์มีแผนจะบินภายในประเทศจากท่าอากาศยานชินชิโตเซะใกล้กับซัปโปโระ ประเทศญี่ปุ่น ไปยังท่าอากาศยานฮาเนดะในโตเกียว ขณะที่เครื่องบินเที่ยวบินที่ 516 กำลังแล่นลงจอดที่ท่าอากาศยานฮาเนดะ เครื่องบินทั้งสองลำชนกันและเกิดไฟลุกไหม้บนเครื่องบินของเจแปนแอร์ไลน์[1][2][3][4] จากเหตุการชนกัน ทำให้เกิดลูกเรือห้าจากหกคนบนเครื่องบินของหน่วยยามฝั่งเสียชีวิต โดยผู้โดยสารทั้ง 367 คนพร้อมลูกเรือ 12 คนอพยพออกจากเครื่องบินโดยไม่มีผู้เสียชีวิต[5][6]
เครื่องบินทั้งสองลำได้รับความเสียหายจากเพลิงโหมไหม้หลังจากการชนกัน[7] นับเป็นอุบัติเหตุทางการบินร้ายแรงครั้งแรกของแอร์บัส เอ350 และเป็นเหตุการณ์อุบัติเหตุที่ตัวเครื่องไม่สามารถกลับมาให้บริการหรือซ่อมแซมได้ (hull loss) นับตั้งแต่การเปิดตัวในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 รวมถึงยังเป็นอุบัติเหตุครั้งแรกของเครื่องบินที่มีส่วนประกอบของวัสดุคอมโพสิต[8][9] อีกทั้งยังเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงถึงแก่ชีวิตครั้งแรกที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินของเจแปนแอร์ไลน์นับตั้งแต่เที่ยวบินที่ 123 ในปี ค.ศ. 1985
เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เจแปนแอร์ไลน์เสียเครื่องบินไปเป็นลำที่ 11 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 เป็นต้นมา และนับเป็นเหตุการณ์ที่เจแปนแอร์ไลน์เกิดอุบัติเหตุแต่ไม่มีใครเสียชีวิตบนเครื่องบินแม้แต่คนเดียวอีกครั้งหนึ่ง[10]
อุบัติเหตุ
[แก้]เที่ยวบิน 516 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานชินชิโตเซะ เวลา 16:27น. ตามเวลาท้องถิ่น (07:27น. เวลาสากล) โดยเมื่อเวลาประมาณ 17:47น. ขณะพยายามลงจอดที่ทางวิ่ง 34ขวาของท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว เที่ยวบินที่ 516 ชนกับเครื่องบินดีเอชซี-8-315 ของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น[12][13] ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนบนเที่ยวบิน 516 สามารถอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย[14][15][16]
มีรายงานว่าเครื่องบินของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นพร้อมลูกเรือ 6 คนกำลังเตรียมส่งเสบียงไปยังนีงาตะหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น[17]ในหนึ่งวันก่อนหน้า หลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้มีรายงานว่ากัปตันสามารถหลบหนีออกมาได้ ในขณะที่ลูกเรือสองคนเสียชีวิตและอีกสามคนกำลังระบุตัวตนโดยฝ่ายดับเพลิงโตเกียว[18][19][20]
เครื่องบิน
[แก้]เครื่องบินของเจเอแอลที่เกิดเหตุคือเครื่องบินแอร์บัส เอ350-900 ทะเบียน JA13XJ และหมายเลขสายการผลิตที่ 512 เครื่องบินลำนี้ใช้เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรนต์เอกซ์ดับเบิลยูบี โดยเครื่องบินมีอายุ 2.3 ปี ณ วันเกิดเหตุและถูกส่งมอบให้เจแปนแอร์ไลน์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021[21]
เครื่องบินของหน่วยยามฝั่งที่เกิดเหตุคือเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-8-315 ทะเบียน JA722A และหมายเลขสายการผลิตที่ 656 และได้ส่งมอบให้หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009[22]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ถึงแม้ผู้โดยสารและลูกเรือของเที่ยวบินที่ 516 สามารถอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย แต่เครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างหนักเกินกว่าที่ซ่อมแซมได้ เครื่องบินที่บินตามหลังเที่ยวบิน 516 คือโบอิง 737-800 ของเจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 166 ซึ่งกำลังจะลดระดับและลงจอดที่ทางวิ่ง 34R ได้ทำการกลับบินขึ้นใหม่ที่ความสูง 1,150 ฟุต (350 เมตร) และเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดที่ท่าอากาศยานนาริตะแทน เครื่องบินลำอื่นๆ ที่กำลังจอดรอขึ้นบินต้องกลับมาจอดที่อาคารผู้โดยสารอีกครั้งหลังการปิดทางวิ่งของท่าอากาศยาน[23]
หลังเกิดเหตุ ท่าอากาศยานฮาเนดะได้มีการยุติการดำเนินงานเป็นการชั่วคราว[24] เที่ยวบินส่วนมากได้เปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดที่ท่าอากาศยานนาริตะ ,ท่าอากาศยานชูบุเซ็นแทรร์, หรือท่าอากาศยานคันไซแทน[25][26] และยกเลิกเที่ยวบินที่จะเดินทางเข้า-ออกจากท่าอากาศยานฮาเนดะไป[27][28] โดยออล นิปปอน แอร์เวย์ ยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศกว่า 112 เที่ยวบิน[29] และเจเอแอลยกเลิกไปกว่า 116 เที่ยวบิน เมื่อเวลาประมาณ 21.30น. ตามเวลาท้องถิ่น ได้มีรายงานจาก MLIT ถึงการเปิดทางวิ่งที่เหลือของท่าอากาศยานฮาเนดะ[30]
รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลที่ศูนย์บริหารจัดการสาธารณภัยที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น[31]
ในบ่ายวันที่ 4 มกราคม ได้มีการเริ่มขนย้ายซากเครื่องบินของหน่วยยามฝั่ง ตามด้วยของเที่ยวบิน 516 ในเช้าวันที่ 5 มกราคม การดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 7 มกราคม[32] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เทตสึโอะ ไซโตะ กล่าวว่า เขาคาดว่าทางวิ่งที่ได้รับผลกระทบจะเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 8 มกราคม[33] ส่วนระบบแสงสว่างที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์นี้คาดว่าจะได้รับการซ่อมแซมภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024
ปฏิกิริยา
[แก้]นายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิต โดยมีการกล่าวถึงการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น[34]
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศโพสต์ข้อความผ่านเอ็กซ์ แสดงความเสียใจต่อผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำ อีกทั้งแสดงความเสียใจต่อเหตุแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่นอีกด้วย[35]
แอร์บัสได้ทำแถลงการณ์ยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและกำลังสื่อสารกับสายการบิน รวมถึงจะเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อได้รับมา[36][37] และจะส่งผู้เชี่ยวชาญาร่วมกับการสืบสวนอีกด้วย
เจแปนแอร์ไลน์ได้ทำแถลงการณ์ยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งคำแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตทุกคน และได้ทำการขอโทษทุกคนๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ รวมถึงแสดงเจตจำนงที่จะให้ความร่วมมือในการสืบสวนในครั้งนี้[38] เจเอแอลได้มีข้อเสนอที่จะคืนเงินให้เต็มจำนวนและการจองใหม่ฟรีจนถึงวันที่ 31 มกราคมตามความต้องการของผู้โดยสารที่จองเที่ยวบินตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมถึง 1 เมษายน ค.ศ. 2024[39]
การสืบสวน
[แก้]คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการขนส่งของญี่ปุ่นประกาศว่าได้กู้คืนข้อมูลจากกล่องดำทั้งหมดของเครื่องบินหน่วยยามฝั่งแล้ว ในขณะที่การค้นหากล่องดำเครื่องบินเจเอแอลยังดำเนินอยู่[40]
สำนักงานสอบสวนและวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยในการบินพลเรือนของฝรั่งเศส (BEA) ได้ประกาศผ่านเอ็กซ์ ว่าร่วมมือกับแอร์บัสในระหว่างการสอบสวน[41][42] นอกจากนี้จะส่งทีมงานไปตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวที่ประเทศญี่ปุ่น[43]
หลังจากการชนกัน MLIT รายงานว่าก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศได้อนุญาตให้เครื่องบินของเจเอแอลให้ลงจอดบนรันเวย์ 34R[44] ในขณะที่เครื่องบินของหน่วยยามฝั่งได้รับคำสั่งให้จอดอยู่บริเวณทางขับที่จะเข้าทางวิ่ง[45] อย่างไรก็ตามเอ็นเอชเคอ้างแหล่งข่าวภายในของหน่วยยามฝั่งว่านักบินของเครื่องบินยามหน่วยยามฝั่งอ้างว่าได้รับการอนุญาตให้ขึ้นบินได้[46] นอกจากนี้ได้รายงานด้วยว่าอาจมีการสอบสวนสาเหตุเหตุการณ์นี้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยประมาทเลินเล่อทางวิชาชีพ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "First Airbus A350 Hull-Loss After Haneda Runway Incursion". Aviation Week Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "Japan Airlines plane collides with Coast Guard aircraft registration JA722A; in flames on Haneda airport runway". Vanguard. 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "All 379 people escape burning Japan Airlines plane on Tokyo runway". BBC. 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ Hradecky, Simon (2024-01-02). "Accident: JAL A359 at Tokyo on Jan 2nd 2024, collided with Coast Guard DH8C on runway and burst into flames". The Aviation Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "JAL plane on fire at Haneda Airport after colliding with Japan Coast Guard plane". NHK WORLD (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Rich, Motoko; Ueno, Hisako (2 January 2024). "Plane Explodes in Flames While Landing at Airport in Tokyo". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ Lee, Danny (2 January 2024). "Japan Airlines Evacuates All 379 Passengers After Plane Fire". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ SATOH, RYOHTAROH; KITADO, AKIRA (2 January 2024). "Japan Airlines plane burns up at Tokyo airport after collision". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ Hamilton, Scott (2024-01-02). "JAL A350 ground collision is first hull loss by damage and fire of an all-composite airplane". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-03.
- ↑ Japan Air Lines Flight 472
- ↑ "Japan jet crash: How crew pulled off flawless evacuation from plane inferno" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-01-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-03.
- ↑ "Japan Airlines flight JL516". Flightradar24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "A Japan Airlines aircraft on fire at Tokyo's Haneda Airport". NHK World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "Japan Airlines plane in flames on the runway at Tokyo's Haneda Airport". BBC. 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "Plane in flames on runway of Tokyo airport". Sky News (ภาษาอังกฤษ). 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "Japan Airlines jet bursts into flames after collision at Tokyo Haneda airport". CNN. 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "【速報】羽田空港で日本航空機と接触した海上保安庁の航空機から 1人が脱出 5人安否不明". FNN プライムオンライン. 2 January 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "Alle 379 inzittenden van brandend vliegtuig in Tokio geëvacueerd, toestel botste op ander vliegtuig". NU.nl (ภาษาดัตช์). 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "【速報】羽田空港で日本航空機と接触した海上保安庁の航空機から 1人が脱出 5人安否不明". FNN プライムオンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2 January 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "【【速報】海保の航空機の乗員6人のうち2人死亡 機長は重体 衝突とみられる日本航空新千歳発羽田行き516便も羽田空港で炎上 乗客は全員避難との情報". Yahoo Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2 January 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "JA13XJ Japan Airlines Airbus A350-941". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-02.
- ↑ "JA722A Japan Coast Guard De Havilland Canada DHC-8-315Q MPA". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-02.
- ↑ Lomas, Chris (2024-01-02). "Japan Airlines Airbus A350 collides with aircraft on landing in Tokyo". Flightradar24 Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "【中継・速報】日本航空の機体炎上"全員脱出"海保機は不明も". NHK. 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ 日本放送協会 (2024-01-02). "【速報中】日本航空の機体炎上"全員脱出" 海保機の5人死亡 | NHK". NHKニュース.
- ↑ "Passengers escape blaze on Japan Airlines plane after collision at Tokyo's Haneda airport". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-02. ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "【中継・速報】日本航空の機体炎上"全員脱出"海保機は不明も" [[Relay/Breaking News] Japan Airlines plane caught in flames, "everyone evacuated", Coast Guard aircraft unknown]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "Passengers escape blaze on Japan Airlines plane after collision at Tokyo's Haneda airport". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 2 January 2024. ISSN 0585-3923. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "Five dead, hundreds evacuated after Japanese airliner collides with coast guard aircraft on runway". France 24. 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ 日本放送協会 (2024-01-02). "羽田空港 事故のあったC滑走路を除き閉鎖解除 国交省 | NHK". NHKニュース.
- ↑ 日本放送協会 (2024-01-02). 【中継・速報】日本航空の機体炎上“全員脱出”海保機は不明も. NHKニュース. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "Work starts to remove JAL passenger jet debris from Haneda airport runway". NHK. 5 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2024. สืบค้นเมื่อ 5 January 2024.
- ↑ "Haneda's Runway C likely to reopen on Monday after accident". NHK. 5 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2024. สืบค้นเมื่อ 5 January 2024.
- ↑ "Japan Airlines plane fire: Five dead on coastguard plane after crash with jet on Haneda Airport runway". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Twitter / X - IATA". X (Twitter.com). Jan 2, 2024. สืบค้นเมื่อ Jan 2, 2024.
- ↑ "Japan Airlines plane fire: Five dead on coastguard plane after collision with jet on Haneda Airport runway". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
Airbus, the maker of the A350 passenger plane which caught fire after colliding with the coastguard aircraft, has released a statement saying it is in contact with the operator Japan Airlines. The statement adds that Airbus will "communicate further details when available".
- ↑ "Airbus statement on Flight JAL516". www.airbus.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "Collision Incident Involving Japan Airlines Flight JAL516 and Japan Coast Guard Aircraft". Japan Airlines. 2 Jan 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 Jan 2024.
- ↑ "Special measures for air tickets following the collision between Japan Airlines Flight JL516 and a Japan Coast Guard aircraft". Japan Airlines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-03.
- ↑ "Japan begins probing cause of JAL jet collision at Tokyo airport". Kyodo News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 3 January 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2024. สืบค้นเมื่อ 3 January 2024.
- ↑ @BEA_Aero (2 January 2024). "⚠️ Accident to the @Airbus #A350 #JapanAirlines registered JA13XJ on 02/01/24 at @Haneda_official / @BEA_Aero is participating in the investigation opened by Japan #JTSB / 4 @BEA_Aero investigators will be on site tomorrow joined by 5 @airbus technical advisors" (ทวีต). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2024 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "事故調査支援へ専門家チーム=日航機炎上で派遣―エアバス". 時事通信ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "Airbus, French government to send teams to help probe Haneda airport collision". NHK (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 3 January 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2024. สืบค้นเมื่อ 3 January 2024.
- ↑ Maruyama, Mayumi; Rebane, Teele; Hardingham-Gill, Tamara; Jozuka, Emiko (2024-01-02). "Japan Airlines jet bursts into flames after collision with earthquake relief plane at Tokyo Haneda airport". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ 日本放送協会 (2024-01-03). "羽田空港事故 管制官 "日航機に進入許可 海保機は手前まで"". NHKニュース. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ "Japan investigators probe conflicting reports on fiery Tokyo crash". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 3 January 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2024. สืบค้นเมื่อ 3 January 2024.