ข้ามไปเนื้อหา

เจดีย์ก้องมุดอ

พิกัด: 21°55′57.92″N 95°56′16.63″E / 21.9327556°N 95.9379528°E / 21.9327556; 95.9379528
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจดีย์ก้องมุดอ
ရာဇမဏိစူဠာ ကောင်းမှုတော်
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ที่ตั้ง
ที่ตั้งซะไกง์ ภาคซะไกง์ พม่า
เจดีย์ก้องมุดอตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เจดีย์ก้องมุดอ
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์21°55′57.92″N 95°56′16.63″E / 21.9327556°N 95.9379528°E / 21.9327556; 95.9379528
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าตาลูน
เสร็จสมบูรณ์23 กรกฎาคม พ.ศ. 2179
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2191 (เสร็จสิ้น)

เจดีย์ก้องมุดอ (พม่า: ကောင်းမှုတော် ဘုရား, ออกเสียง: [káʊ̯ɰ̃.m̥ṵ.dɔ́ pʰə.já]) หรือ ยาซะมะนิซูลา ก้องมุดอ (พม่า: ရာဇမဏိစူဠာ ကောင်းမှုတော်; บาลี: Rājamaṇicūḷā) เป็นเจดีย์พุทธขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เขตชานเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของซะไกง์ ตอนกลางประเทศพม่า จำลองตามเจดีย์รุวันแวลิแสยะ ในประเทศศรีลังกา[1] เจดีย์ก้องมุดอเป็นที่รู้จักจากรูปทรงโอคว่ำ[2] ซึ่งโดดเด่นกว่าเจดีย์พม่าทรงแหลมสูงแบบดั้งเดิม ชื่อทางการของเจดีย์คือ ยาซะมะนิซูลา หมายถึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในกรุพระธาตุ แต่เป็นที่รู้จักในชื่อที่นิยมกันคือ ก้องมุดอ (แปลว่า บำเพ็ญพระราชกุศล) เป็นสถานที่แสวงบุญและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของซะไกง์  

การก่อสร้าง

[แก้]

การก่อสร้างเริ่มในสมัยพระเจ้าตาลูน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2179 กรุพระธาตุเจดีย์ได้อุทิศเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2179[3] เจดีย์สร้างเสร็จในอีกสิบสองปีต่อมา ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2191 ปลายรัชสมัยพระเจ้าตาลูน[4]

สถาปัตยกรรม

[แก้]
มุมมองทางอากาศของเจดีย์ก้องมุดอ

เจดีย์มีความสูง 46 เมตร (151 ฟุต) และมีเส้นรอบวง 274 เมตร (899 ฟุต) ยอดฉัตรสูง 7.92 เมตร (26.0 ฟุต) หนัก 3.5 กิโลกรัม (7.7 ปอนด์) เจดีย์นี้แตกต่างจากโครงสร้างพม่ารูปแบบดั้งเดิม โดยเป็นโดมมีห้องอยู่ตรงกลางฐาน ภายในห้องประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่สูง 7.3 เมตร (24 ฟุต) ซึ่งแกะสลักจากหินอ่อนสีขาวเนื้อแข็ง เศียรของพระพุทธรูปเพียงอย่างเดียวมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2.4 เมตร (7 ฟุต 10 นิ้ว) เชื่อกันว่าโดมถูกสร้างขึ้นครอบในภายหลังพระพุทธรูปขนาดใหญ่นี้[5]

ฐานชั้นล่างสุดของเจดีย์ประดับด้วยนะและเทวดา 120 องค์ ล้อมรอบด้วยโคมหิน 802 ต้น ซึ่งแกะสลักพร้อมจารึกพุทธประวัติสามภาษาได้แก่ พม่า, มอญ และไทใหญ่ เป็นตัวแทนของสามภูมิภาคหลักสมัยอาณาจักรตองอูยุคฟื้นฟู

โดมของเจดีย์ได้รับการทาสีขาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ตามประเพณีของชาวศรีลังกา

ตามตำนานท้องถิ่น กรุพระธาตุประกอบด้วยพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว[2] พระเกศาสิบเอ็ดองค์ บาตร พระพุทธรูป เจดีย์เล็ก และพระธาตุอื่น ๆ

ข้อโต้แย้ง

[แก้]

รัฐบาลทหารพม่าได้ริเริ่มโครงการทาสีโดมด้วยสีทอง ซึ่งได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนในท้องถิ่นและชาวพม่าอื่น ๆ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Myo Aung, Craft, Chapter: Sagaing
  2. 2.0 2.1 เจดีย์กองมูดอ, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  3. Hmannan, Vol. 3, p. 234
  4. Hmannan, Vol. 3, p. 245
  5. Hardiman, p. 191
  6. Ne Yee Lin Latt. "Locals Unhappy About Ancient Pagoda's Golden Facelift". The Irrawaddy. IPG.
  • Hmannan Yazawin (ภาษาBurmese). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar. 1829.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Hardiman, John Percy (1900). James George Scott (บ.ก.). Gazetteer of Upper Burma and the Shan States, Volume 2, Part 1. Rangoon: Government Printing, Burma.
  • Myo Aung; H. Craft. Upper Myanmar Mandalay Pyin Oo Lwin Sagaing Monywa Mingun Mogok Shwebo'. Books on Asia.
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจดีย์ก้องมุดอ