ซะไกง์
ซะไกง์ စစ်ကိုင်းမြို့ | |
---|---|
นคร | |
สะพานอิรวดีข้ามแม่น้ำอิรวดี | |
พิกัด: 21°52′56″N 95°58′43″E / 21.88222°N 95.97861°E | |
ประเทศ | พม่า |
ภาค | ซะไกง์ |
ประชากร (ค.ศ. 2014) | 307,194 คน |
ประชากรศาสตร์ | |
• ศาสนา | พุทธ |
เขตเวลา | UTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
ซะไกง์[1] หรือ สะกาย[1] (พม่า: စစ်ကိုင်း; เอ็มแอลซีทีเอส: cac kuing:, ออกเสียง: [zəɡáɪɰ̃]) หรือที่ไทยเรียกว่า จักกาย และ สะแคง เป็นเมืองในภาคซะไกง์ ประเทศพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี ตรงข้ามกับเมืองอังวะ เมืองซะไกง์มีวัดทางพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่ง เมืองสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซะไกง์ (ค.ศ. 1315–1364) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรเล็ก ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม
ปัจจุบันเมืองซะไกง์มีประชากรประมาณ 70,000 คน มีเขตติดต่อใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,022,000 คน ทำให้เมืองซะไกง์มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่รองรับประชากรจากมัณฑะเลย์
ชื่อ
[แก้]ชื่อเดิมของซะไกง์คือ เซยาปูระ (ဇေယျာပူရ; บาลี: ชยปุระ) ซึ่งหมายถึง "นครแห่งชัยชนะ"[2]
ประวัติ
[แก้]เมืองซะไกง์เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซะไกง์ (ค.ศ. 1315–1364) หนึ่งในอาณาจักรขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม ก่อตั้งโดย อะทินคะยา พระราชโอรสองค์หนึ่งในพระเจ้าสีหตู[3]: 227 ต่อมาในสมัยอังวะ (ค.ศ. 1364–1555) นครนี้กลายเป็นที่ดินศักดินาของมกุฎราชกุมารหรือเจ้าชายอาวุโส หลังจากนั้นจึงกลายเป็นเมืองหลวงของพม่าระหว่าง ค.ศ. 1760–1763 ในรัชสมัยของพระเจ้ามังลอก และเคยเป็นเมืองที่ได้จัดให้ชาวอยุธยาซึ่งถูกกวาดต้อนมาหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มาลงหลักปักฐาน
ณ วันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ซะไกง์เป็นพื้นที่ประท้วงที่จบลงด้วยการสังหารหมู่ ซึ่งมีพลเมืองถูกสังหารราว 300 คน[4]
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของซะไกง์ (1991–2020) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.5 (85.1) |
32.6 (90.7) |
36.4 (97.5) |
38.3 (100.9) |
36.0 (96.8) |
34.4 (93.9) |
33.7 (92.7) |
33.0 (91.4) |
33.2 (91.8) |
32.8 (91) |
31.4 (88.5) |
29.2 (84.6) |
33.4 (92.1) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 22.0 (71.6) |
24.5 (76.1) |
28.6 (83.5) |
31.4 (88.5) |
30.9 (87.6) |
30.3 (86.5) |
29.9 (85.8) |
29.5 (85.1) |
29.4 (84.9) |
28.5 (83.3) |
25.9 (78.6) |
22.6 (72.7) |
27.8 (82) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 14.5 (58.1) |
16.5 (61.7) |
20.8 (69.4) |
24.6 (76.3) |
25.8 (78.4) |
26.2 (79.2) |
26.2 (79.2) |
25.9 (78.6) |
25.5 (77.9) |
24.2 (75.6) |
20.4 (68.7) |
16.0 (60.8) |
22.2 (72) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 5.0 (0.197) |
3.5 (0.138) |
5.4 (0.213) |
40.6 (1.598) |
148.6 (5.85) |
82.1 (3.232) |
66.2 (2.606) |
126.2 (4.969) |
158.9 (6.256) |
134.3 (5.287) |
28.4 (1.118) |
4.8 (0.189) |
804.0 (31.654) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 0.6 | 0.4 | 0.6 | 3.2 | 9.5 | 6.8 | 5.9 | 9.3 | 11.0 | 8.5 | 2.6 | 0.7 | 59.0 |
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[5] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Hardiman, John Percy (1901). Gazetteer of Upper Burma and the Shan States (ภาษาอังกฤษ). Superintendent, Government Printing, Burma.
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of south-east Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Irrawaddy article 1997 เก็บถาวร 2010-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "World Meteorological Organization Climate Normals for 1991–2020". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 16 October 2023.