ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องหมายประจำจังหวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องหมายประจำจังหวะ คือ เครื่องหมายในสัญกรณ์ดนตรีที่ใช้สำหรับกำหนดอัตราจังหวะของเพลง โดยใช้ตัวเลขเป็นเครื่องหมายเพื่อบอกค่าของจังหวะต่าง ๆ จะบันทึกไว้ตอนหน้าของบทเพลง เป็นเลข 2 ตัว คือมีตัวบน และตัวล่าง

เลขตัวบน หมายถึง อัตราจังหวะใน 1 ห้องว่าจะมีทั้งตัวโน้ตหรือตัวหยุดเมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับตัวเลขตัวนี้พอดีต่อ 1 ห้อง ส่วนเลขตัวล่าง หมายถึง ค่าของตัวโน้ตที่กำหนดว่าตัวโน้ตตัวใดจะมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ คือนับเป็น 1 จังหวะ รวมทั้งตัวหยุดประจำตัวโน้ตตัวนั้นด้วย โดยมีการกำหนดดังนี้

  • โน้ตตัวกลม แทนด้วยตัวเลข 1
  • โน้ตตัวขาว แทนด้วยตัวเลข 2
  • โน้ตตัวดำ แทนด้วยตัวเลข 4
  • โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น แทนด้วยตัวเลข 8
  • เน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น แทนด้วยตัวเลข 16
  • โน้ตตัวเขบ็ต 3 ชั้น แทนด้วยตัวเลข 32
  • โน้ตตัวเขบ็ต 4 ชั้น แทนด้วยตัวเลข 64

ตัวโน้ตอื่น ๆ ก็จะมีการบวกตัวเลขขึ้นไปทีละเท่าตัวไปตามลำดับ