ข้ามไปเนื้อหา

โน้ตดนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตัวโน้ต)
โน้ต เอ หรือ ลา

โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี

ชื่อโน้ตดนตรี

[แก้]
เสียงต่างๆ I II III IV V VI VII
เนเชอรัล C D E F G A B
ชาร์ป C D F G A
แฟลต D E G A B
เนเชอรัล (ยุโรปเหนือ) C D E F G A H
ชาร์ป (ยุโรปเหนือ) Cis Dis Fis Gis Ais
แฟลต (ยุโรปเหนือ) Des Es Ges As B
ชื่ออื่นๆ (ยุโรปเหนือ) - - - - - - - - - - Bes B

แบบ moveable(ascending)

Do Di Re Ri Mi Fa Fi Sol Si La Li Ti
แบบ moveable (descending) Do Ra Re Me Mi Fa Se Sol Le La Te Ti
ยุโรปใต้ Do Re Mi Fa Sol La Si
ชื่ออื่นๆ Ut - - - So - Ti
แบบอินเดีย Sa Re Ga Ma Pa Da Ni
แบบเกาหลี Da Ra Ma Ba Sa Ga Na
ความถี่เสียงโดยประมาณ (เฮิรตซ์) 262 277 294 311 330 349 370 392 415 440 466 494
หมายเลขโน้ต MIDI 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
ชื่อไทยที่นิยม #ด #ร #ฟ #ซ #ล

ชื่อเรียกตัวโน้ตในบันไดเสียงไดอาโทนิก

[แก้]
  • โน้ตตัวที่ 1 เรียกว่า โทนิก (Tonic)
  • โน้ตตัวที่ 2 เรียกว่า ซุปเปอร์โทนิก (Supertonic)
  • โน้ตตัวที่ 3 เรียกว่า มีเดียน (Mediant)
  • โน้ตตัวที่ 4 เรียกว่า ซับโดมิแนนท์ (Subdominant)
  • โน้ตตัวที่ 5 เรียกว่า โดมิแนนท์ (Dominant)
  • โน้ตตัวที่ 6 เรียกว่า ซับมีเดียน (Submediant)
  • โน้ตตัวที่ 7 เรียกว่า ลีดดิ้งโน้ต หรือลีดดิ้งโทน (Leading note or Leading tone)

ตัวโน้ตที่ใช้เขียน

[แก้]

ตัวโน้ตหนึ่งตัวที่ใช้สำหรับบันทึกบทเพลงจะมีค่าของโน้ตหนึ่งค่า นั่นคือระยะเวลาในการออกเสียงของตัวโน้ต เช่น ตัวดำ ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น เป็นต้น เมื่อตัวโน้ตต่างๆ ถูกเขียนลงบนบรรทัดห้าเส้น ตัวโน้ตแต่ละตัวจะถูกวางไว้บนตำแหน่งที่แน่นอนตามแนวตั้ง (คาบเส้นบรรทัดหรือระหว่างช่องบรรทัด) และกำหนดระดับเสียงที่แน่นอนด้วยกุญแจประจำหลัก เส้นแต่ละเส้นและช่องว่างแต่ละช่องถูกตั้งชื่อตามเสียงของโน้ต ซึ่งชื่อเหล่านี้เป็นที่จดจำโดยนักดนตรี ทำให้นักดนตรีทราบได้ว่าจุดใดควรจะเล่นเครื่องดนตรีด้วยระดับเสียงใด ตามตำแหน่งหัวของโน้ตบนบรรทัด ตัวอย่างเช่น

บันไดเสียง C major
บันไดเสียง C major

บรรทัดห้าเส้นด้านบนแสดงให้เห็นถึงเสียงโน้ต C4, D4, E4, F4, G4, A4, B4, C5 ตามตัวโน้ตที่วางอยู่บนตำแหน่งต่างๆ แล้วจากนั้นไล่ระดับเสียงลง โดยไม่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหรือเครื่องหมายแปลงเสียง

ภาพ ชื่อตัวโน้ต จังหวะ
(ในอัตราจังหวะ 4/4)
thumbnill โน้ตตัวกลม 4 จังหวะ
thumbnill โน้ตตัวขาว 2 จังหวะ
thumbnill โน้ตตัวดำ 1 จังหวะ
thumbnill โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น ครึ่งจังหวะ

โน้ตตัวกลม ( Whole Note ) 1 ตัว = ตัวขาว 2 ตัว (half notehalf note) หรือตัวดำ 4 ตัว (quarter notequarter notequarter notequarter note)

โน้ตตัวขาว ( Half Note ) 1 ตัว = ตัวดำ 2 ตัว (quarter note quarter note)

โน้ตตัวดำ ( Quarter Note ) 1 ตัว = ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว (eighth note eighth note)

โน้ตตัวเขบ็ต ( Eighth Note ) 1 ตัว = ตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัว (sixteenth note sixteenth note)

ความถี่ของโน้ต

[แก้]

ในทางเทคนิค ดนตรีสามารถสร้างขึ้นได้จากโน้ตที่มีความถี่ของเสียงใดๆ ก็ได้ เนื่องจากเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุและวัดได้ในหน่วยเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่ง 1 เฮิรตซ์เท่ากับการสั่นครบหนึ่งรอบต่อวินาที ตั้งแต่สมัยก่อนมีเพียงโน้ตที่มีความถี่คงตัวแค่ 12 เสียงเท่านั้นโดยเฉพาะดนตรีตะวันตก ซึ่งความถี่เสียงคงตัวเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ต่อกัน และถูกนิยามไว้ที่โน้ตตัวกลาง A4 (เสียงลา อ็อกเทฟที่สี่) ซึ่งเป็นสาเหตุที่เสียงลาเริ่มต้นเขียนแทนด้วยอักษร A ปัจจุบันโน้ต A4 มีความถี่อยู่ที่ 440 เฮิรตซ์ (ไม่มีเศษทศนิยม)

หลักการตั้งชื่อโน้ตจะระบุเป็นอักษรละติน เครื่องหมายแปลงเสียง (ชาร์ป/แฟลต) และหมายเลขอ็อกเทฟตามลำดับ โน้ตทุกตัวจะมีเสียงสูงหรือต่ำกว่า A4 เป็นจำนวนเต็ม n ครึ่งเสียง นั่นหมายความว่าโน้ตที่มีเสียงสูงกว่า n จะเป็นจำนวนบวก หากเสียงต่ำกว่า n จะเป็นจำนวนลบ ความถี่ f ของโน้ตตัวอื่นเมื่อเทียบกับโน้ต A4 จึงมีความสัมพันธ์ดังนี้

ตัวอย่างเช่น เราสามารถคำนวณหาความถี่ของโน้ต C5 ซึ่งเป็นโน้ต C ตัวแรกที่อยู่สูงกว่า A4 และโน้ตดังกล่าวมีระดับเสียงที่สูงกว่า A4 เป็นจำนวน 3 ครึ่งเสียง (A4 → A4 → B4 → C5) จะได้ n = +3 ดังนั้นความถี่ของโน้ต C5 คือ

หรืออย่างโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า A4 เช่น โน้ต F4 มีระดับเสียงต่ำกว่า A4 เป็นจำนวน 4 ครึ่งเสียง (A4 → A4 → G4 → G4 → F4) จะได้ n = −4 ดังนั้นความถี่เสียงของ F4 คือ

และสุดท้าย สูตรดังกล่าวสามารถใช้เปรียบเทียบความถี่ของโน้ตชื่อเดียวกันแต่ต่างอ็อกเทฟได้ ซึ่ง n จะกลายเป็นพหุคูณของ 12 ถ้ากำหนดให้ k เป็นจำนวนอ็อกเทฟส่วนต่างที่มากกว่าหรือน้อยกว่า A4 เช่นโน้ต A5 จะได้ k = +1 หรือโน้ต A2 จะได้ k = −2 เป็นต้น สามารถลดรูปสูตรได้เหลือเพียง

ทำให้เกิดผลว่า สำหรับโน้ตที่ชื่อเดียวกันในหนึ่งช่วงอ็อกเทฟ โน้ตในระดับสูงกว่าจะมีความถี่เป็นสองเท่าของโน้ตในระดับต่ำกว่า หรือด้วยอัตราความถี่ 2:1 และหนึ่งช่วงอ็อกเทฟมี 12 ครึ่งเสียง

นอกจากนี้ความถี่ของเสียงมีการวัดโดยละเอียดเป็นหน่วยเซนต์ (cent) โดยหนึ่งครึ่งเสียงจะมีค่าเท่ากับ 100 เซนต์ นั่นหมายความว่า 1200 เซนต์จะเท่ากับ 1 อ็อกเทฟ และตัวคูณ 1 เซนต์บนความถี่เสียงจะมีค่าเท่ากับรากที่ 1200 ของ 2 หรือเท่ากับประมาณ 1.0005777895

สำหรับการใช้กับระบบ MIDI มาตรฐาน ความถี่เสียงของโน้ตจะจับคู่กับหมายเลข p ตามสูตรนี้

ทำให้โน้ต A4 จับคู่อยู่กับโน้ตหมายเลข 69 ในระบบ MIDI และทำให้เติมเต็มช่วงความถี่อื่นๆ ที่ไม่ตรงกับความถี่สากลมาเป็นหมายเลขของโน้ตได้อีกด้วย


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]