เครื่องผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร
เครื่องทดลองผลิตออกซิเจนจากการใช้ทรัพยากรณ์บนดาวอังคาร | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ มาร์ส 2020 | |
ชื่ออื่น | ม๊อคซี่ |
ประเภท | การใช้ทรัพยากรณ์บนดาวดวงอื่น |
ผู้ผลิต | นาซา,สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย,ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น,สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์,หอดูดาวเฮย์สแตคก์ |
รายละเอียดทางวิศวกรรม | |
ขนาด | 24 × 24 × 31 cm |
ประวัติการบิน | |
วันที่ส่งขึ้น | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 11:50:00 UTC |
ฐานส่ง | แหลมคะแนเวอรัล, SLC-41 |
เครื่องทดลองผลิตออกซิเจนจากการใช้ทรัพยากรณ์บนดาวอังคาร (อังกฤษ: Mars Oxygen In-Situ Resource Utilization Experiment) หรือที่เรียกสั้นๆว่า ม็อกซี่ (อังกฤษ: MOXIE) เป็นอุปกรณ์ที่นาซาร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และหอดูดาวเฮย์สแตคก์ ผลิตขึ้นเพื่อทดลองผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร เพื่อเตรียมการสำหรับส่งมนุษย์ไปดาวอังคารในอนาคต โดยอาศัยการดึงเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากบนดาวอังคารมาเปลี่ยนเป็นแก๊สออกซิเจนโดยการแยกด้วยไฟฟ้า โดยม็อกซี่ถูกติดตั้งไว้ที่ยานเพอร์เซอเวียแรนซ์
หลักการทำงาน
[แก้]ม็อกซี่ ทำงานโดยการดูดเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากบนดาวอังคาร จากนั้นแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการใช้เซลล์ไฟฟ้าเคมี ได้เป็นแก๊สออกซิเจน และแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ จากนั้นแก๊สออกซิเจนจะุถูกวิเคราะห์เพื่อหาความบริสุทธิ์ ก่อนจะถูกปล่อยขึ้นสู้ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารพร้อมกับแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์และไอเสียอื่นๆ[1]
ผลการทดลอง
[แก้]ในวันที่ 20 เมษายน 2564 นาซาได้ประกาศว่า ม็อกซี่ สามารถผลิตออกซิเจนได้ 5.37 กรัม ในเวลา 1 ชั่วโมง จากที่คาดว่าจะสามารถผลิตได้สูงสุด 10 กรัมต่อชั่วโมง และหลังจากนั้นทางนาซาก็ได้ทดลองซ้ำอีกหลายรอบในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน จนกระทั่งปี 2565 นาซาได้ประกาศว่า ม็อกซี่สามารถผลิตออกซิเจนได้ 50 กรัม ซึ่งสามารถใช้ในการหายใจได้ 100 นาที[2] [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ MOXIE for Scientists, NASA,สืบค้นเมื่อ 16/12/2565.
- ↑ NASA’s Perseverance Mars Rover Extracts First Oxygen from Red Planet,NASA,สืบค้นเมื่อ 16/12/2565.
- ↑ นาซาผลิตออกซิเจนบนดาวอังคารสำเร็จ งวดแรกใช้หายใจได้ 100 นาที,BBC News, สืบค้นเมื่อ 16/12/2565.