ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง
"ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง (ยุนหวิ่งกวองกวัยเฮิงก๋ง) 願榮光歸香港" | |
---|---|
เพลง | |
ภาษา | กวางตุ้ง อังกฤษ |
เขียนเมื่อ | มิถุนายน–สิงหาคม พ.ศ. 2562 |
เผยแพร่ | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 |
บันทึกเสียง | 28–29 สิงหาคม พ.ศ. 2562 |
แนวเพลง | |
ความยาว | 1:45 |
ผู้ประพันธ์ดนตรี | Thomas dgx yhl |
ผู้ประพันธ์เนื้อเพลง |
|
ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง | |||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 願榮光歸香港 | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | ขอความรุ่งเรืองจงมาสู่ฮ่องกง | ||||||||||||||||||
|
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
"ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง" ที่ยูทูบ | |
"ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง" ฉบับภาษาอังกฤษ ที่ยูทูบ | |
"ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง" ฉบับออร์เคสตราและร้องประสานเสียง ที่ยูทูบ |
"ย่วนหรงกวงกุยเซียงกั่ง (ยุน หวิ่ง กวอง กวัย เฮิง ก๋ง)" (จีน: 願榮光歸香港; Jyutping: jyun6 wing4 gwong1 gwai1 hoeng1 gong2; Cantonese Yale: Yuhn Wìhnggwōng Gwāi Hēunggóng; "ขอความรุ่งเรืองจงมาสู่ฮ่องกง") เป็นเพลงปลุกใจในภาษาจีนกวางตุ้ง เนื้อร้องและทำนองประพันธ์โดยนักดนตรีที่ใช้นามสมมติว่า "Thomas dgx yhl" ร่วมกับพลเมืองเครือข่ายชาวฮ่องกงจากฟอรัม LIHKG ในระหว่าง การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562 เพลงดังกล่าวยังขับร้องอย่างแพร่หลายในฐานะเพลงประจำกลุ่มผู้ประท้วง และบางส่วนถึงกับเรียกเพลงดังกล่าวว่าเป็น "เพลงชาติแห่งฮ่องกง" อีกด้วย[2][3]
นับตั้งแต่มีการชุมนุมประท้วงในฮ่องกงได้ปะทุขึ้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ได้มีบทเพลงที่แสดงถึงประชาธิปไตย เข่นเพลง "ดูยูเฮียร์เดอะพีเพิลซิง?" จากภาพยนตร์เพลง เล มิเซราบล์ ต่อมามีการปรับเปลี่ยนในบทเพลงโดยผู้ประท้วงต่าง ๆ กลุ่ม[4] เพื่อสร้างกำลังใจของผู้ประท้วงและสร้างความสามัคคีด้วย[5] นับแต่ที่บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ออกไป ได้มีการขับร้องขึ้นเป็นบทเพลงปลุกใจหรือในฐานะ "เพลงชาติใหม่ของฮ่องกง" อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจะใช้เป็นบทเพลงประจำ มีการเริ่มตระเวนร้องตามห้างสรรพสินค้ารอบเมือง รวมถึงการแข่งขันฟุตบอล[6] นอกจากนี้ยังได้มีการขับร้องเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก[7]
เนื้อร้อง
[แก้]ภาษาจีน[8] | ภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย[ต้องการอ้างอิง] |
---|---|---|
何以 這土地 淚再流
|
We pledge: No more tears on our land,
|
เหตุใดยังน้ำตารินลงแดน ขุ่นแค้นร้าวระทมสับสนวุ่นวาย หยัดยืนลุกขึ้นมา กู่ก้องร้องท้าทาย ขอเสรีหวนคืนผองชน
|
การขับร้องในที่สาธารณะ
[แก้]เพลงนี้ถูกนำไปขับร้องหลายครั้งโดยชาวฮ่องกงในที่สาธารณะทั่วเมือง[10] เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562 ประชาชน 200 คนเข้าร่วมการประท้วงโดยการนั่งที่สถานีพรินซ์เอดเวิร์ด โดยเรียกร้องให้เอ็มทีอาร์ ส่งภาพเหตุการณ์ทำร้ายผู้โดยสารที่ดำเนินการโดยตำรวจเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม นอกจากการป่าวร้องคำขวัญแล้ว ผู้ประท้วงยังได้ร้องเพลงนี้และเพลง "ดูยูเฮียร์เดอะพีเพิลซิง?"[11] ต่อมาในวันที่ 9 กันยายน ผู้ประท้วงประมาณร้อยคนร้องเพลงนี้ร่วมกันที่อาคารซิตีพลาซา (太古城中心)[12] วันที่ 10 กันยายน ผู้ชมการแข่งขันฟุตบอลชาวฮ่องกงร้องเพลงนี้ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกระหว่างฮ่องกงกับอิหร่าน และแสดงอาการไม่พอใจต่อเพลงชาติจีน[13] ในเวลา 20:31 น. ของคืนเดียวกันเพลงนี้ถูกร้องในที่สาธารณะโดยกลุ่มคนจำนวนมากที่ห้างสรรพสินค้ากว่าสิบแห่งทั่วฮ่องกง โดยกล่าวถึงการโจมตีของตำรวจเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม และคำตัดสินของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ (NPCSC) ที่ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดขอบเขตสำหรับการเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง[14][15] ในวันที่ 11 กันยายน ผู้คนราว 100 คนร่วมกันร้องเพลงนี้ในการชุมนุมเพื่อไว้อาลัยผู้ประท้วงหญิงซึ่งฆ่าตัวตายโดยกระโดดจากอพาร์ตเมนต์ในเมืองฝันเหล็ง (粉嶺)[16] นักเรียนประมาณ 500 คนจากโรงเรียนมัธยม 10 แห่งในเขตกุ๊นถ่อง, เจิ่งกวันโอ่ และเก๋าหล่งเส่ง ได้ร้องเพลงนี้และจัดขบวนโซ่มนุษย์ขึ้น[17] ในคืนนั้นผู้คนราว 1,000 คนร้องเพลงนี้ร่วมกันในห้างสรรพสินค้านิวทาวน์พลาซา (新城市廣場) ในเขตซาถิ่น โดยมีผู้คนจำนวนมากร้องเพลงนี้ในห้างสรรพสินค้าอื่น ๆ ทั่วฮ่องกงเช่นกัน[9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thompson, Brian C. "Opinion: What's in a song? For the people of Hong Kong, the idea of nationhood". The Globe and Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2019.
Culture and identity are also at the heart of the conflict, and it’s revealed through the languages of these two anthems. The people of Hong Kong are deeply attached to Cantonese language and to the use of classical Chinese characters. They have seen the Central Government funnel Mandarin-speaking immigrants into Hong Kong, and designer stores cater to Mainland visitors with signage written in simplified characters. Singing Glory to Hong Kong in Cantonese affirms a sense of identity that demands fighting for.
- ↑ Leung, Hillary (10 กันยายน 2019). "Listen to the Song That Hong Kong's Youthful Protesters Are Calling Their 'National Anthem'". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2019.
- ↑ Victor, Daniel (12 กันยายน 2019). "Hong Kong Protesters, Without an Anthem to Sing, Create One Online". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2019.
- ↑ "Do you hear the people sing? 7 Hong Kong protest anthems". South China Morning Post. 12 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2019.
- ↑ "Who wrote Glory to Hong Kong?". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2019.
- ↑ "ม็อบฮ่องกงโห่เพลงชาติจีนศึกบอลโลก". เดลินิวส์. 10 กันยายน 2019.
- ↑ "How Hong Kong got a new protest song". BBC. 14 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2019.
- ↑ "(ฟัง) วงออร์เคสตร้าใต้หน้ากากแก๊ส บรรเลง "เพลงชาติใหม่" ของผู้ประท้วงฮ่องกง". ผู้จัดการออนไลน์. 12 กันยายน 2019.
- ↑ 9.0 9.1 《願榮光歸香港》再響遍多區商場 千人迫爆新城市廣場. Stand News. 11 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2019.
- ↑ "Beijing is making Hong Kong's property tycoons sweat bricks – it was long overdue". South China Morning Post. 14 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2019.
- ↑ 少女太子站跪求公開 8.31 CCTV 逾百市民加入 港鐵:片段會保留 3 年. Stand News (ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน). 6 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2019.
- ↑ 反送中》震撼!數百港人於太古城中心高唱《願榮光歸香港》. Liberty Times Net (ภาษาจีนตัวเต็ม). 9 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2019.
- ↑ Law, Violet. "Hong Kong: Demonstrators boo Chinese anthem at football qualifier". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2019.
- ↑ 【願榮光歸香港】大埔、沙田、油塘多區居民晚上接力大合唱. HK01 (ภาษาChinese (Hong Kong)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2019.
- ↑ 抗爭歌《願榮光歸香港》8時31分響遍全港勿忘受傷示威者. Radio France Internationale (ภาษาจีนตัวเต็ม). 11 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2019.
- ↑ 粉嶺女子上周墮樓亡 百名街坊追思悼念. Stand News (ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน). 11 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2019.
- ↑ 【逃犯條例.多圖】聯校中學生九龍塘築人鏈爭取五大訴求. Ming Pao (ภาษาจีนตัวเต็ม). 11 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาจีนกวางตุ้ง)
- ข้อมูลเผยแพร่โดยผู้ประพันธ์เพลง (ในภาษาจีนกวางตุ้ง)