เกาะคอมโซโมเลตส์
ชื่อท้องถิ่น: остров Комсомолец | |
---|---|
ภาพจากดาวเทียมเทอร์รา-โมดิส ของเกาะคอมโซโมเลตส์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | ดินแดนครัสโนยาสค์, รัสเซีย |
พิกัด | 80°29′03″N 94°59′47″E / 80.48417°N 94.99639°E |
กลุ่มเกาะ | เซเวียร์นายาเซมเลีย, รัสเซีย |
พื้นที่ | 9,006 ตารางกิโลเมตร (3,477 ตารางไมล์) |
ระดับสูงสุด | 935 ม. (3068 ฟุต) |
การปกครอง | |
รัสเซีย | |
แคว้น | ดินแดนครัสโนยาสค์ |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 0 |
เกาะคอมโซโมเลตส์ (อังกฤษ: Komsomolets Island; รัสเซีย: остров Комсомолец) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางเหนือที่สุดในกลุ่มเกาะเซเวียร์นายาเซมเลียในอาร์กติกของรัสเซีย และเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามในกลุ่มเกาะนี้ นอกจากนี้ยังเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 82 ของโลก เกาะนี้มีพื้นที่ประมาณ 65% ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง ซึ่งรวมถึงธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียอย่าง ธารน้ำแข็งสถาบันวิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
[แก้]เกาะคอมโซโมเลตส์ถูกแยกจากเกาะออกโทเบอร์เรโวลูชันทางทิศใต้ด้วยช่องแคบเรดอาร์มี และจากเกาะไพโอเนียร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ด้วยช่องแคบยูนีย์[1] จุดเหนือสุดของเกาะนี้คือแหลมอาร์กติก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจขั้วโลกหลายครั้ง
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะในส่วนกลางและตอนใต้ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ชื่อ ธารน้ำแข็งสถาบันวิทยาศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอ่าวเครนเคลทางตะวันออกและอ่าวซูราฟเลฟทางตะวันตก[2] ส่วนทางตอนเหนือของเกาะส่วนใหญ่ไม่มีธารน้ำแข็ง พื้นที่ของเกาะนี้มีประมาณ 9,006 ตร.กม.2 และมีความสูงถึง 780 เมตร เกาะคอมโซโมเลตส์ยังเป็นที่ตั้งของธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในรัสเซีย คือ ธารน้ำแข็งสถาบันวิทยาศาสตร์[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Proliv Yunyy". Mapcarta. สืบค้นเมื่อ 26 November 2016.
- ↑ "Lednik Akademii Nauk". Mapcarta. สืบค้นเมื่อ 24 December 2016.
- ↑ "Severnaya Zemlya 1999-2000". Ecoshelf. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2012. สืบค้นเมื่อ March 14, 2012.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|publisher=