ข้ามไปเนื้อหา

ฮ้อป่าวิลลา

พิกัด: 01°17′03″N 103°46′56″E / 1.28417°N 103.78222°E / 1.28417; 103.78222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮ้อป่าวิลลา
ชื่อเดิม สวนไทเกอร์บาล์ม
มุม เมืองไทย ในฮ้อป่าวิลลา
ที่ตั้ง262 ถนนปาซีร์ปันจัง ประเทศสิงคโปร์ 118628
สถานะเปิดบริการ
เปิดกิจการ1937; 88 ปีที่แล้ว (1937)
เจ้าขององค์การการท่องเที่ยวสิงคโปร์
ผู้ดำเนินการเจอร์นีส์ ไพรเวต ลิมิเต็ด
(ตั้งแต่ปี 2015)
รูปแบบปรัมปราจีน
พื้นที่8.5 เฮกตาร์ (21 เอเคอร์)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
พิกัด01°17′03″N 103°46′56″E / 1.28417°N 103.78222°E / 1.28417; 103.78222

ฮ้อป่าวิลลา (จีน: 虎豹別墅; เป่อ่วยยี: hó͘ pà pia̍t-sú) หรือที่นิยมเรียกทับศัพท์อิงภาษาอังกฤษว่า ฮอว์พาร์วิลลา (อังกฤษ: Haw Par Villa) เป็นสวนสนุกบนถนนปาซีร์ปันจัง ประเทศสิงคโปร์ ภายในประกอบด้วยประติมากรรมมากกว่า 1,000 ชิ้น และฉากจำลองขนาดใหญ่กว่า 150 ฉาก ที่แสดงเรื่องราวจากปรัมปราจีน, ศาสนาพื้นบ้านจีน, ศาสนาพุทธ, ศาสนาเต๋า และลัทธิขงจื๊อ ระหว่างทศวรรษ 1970 ถึง 1980 สวนนี้เป๋นสถานที่ท่งอเที่ยวที่สำคัญ ปัจจุบันมียอดเข้าชมมากกว่า 1 คนต่อปี[1] และได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ[2] ณ ปี 2018 บริษัทผู้บริหารสวน เจอร์นีส์ ไพรเวต ลิมิเต็ด (Journeys Pte Ltd) มีความพยายามในการฟื้นฟูสวนซึ่งยังคงดำเนินต่อไปด้วยการจัดกิจกรรมตามธีมต่าง ๆ[3] และการวางแผนและก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เสริม[4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พี่น้องชาวจีน-พม่า อ๋อ บุ๋น หอ และ อ๋อ บุ๋น ป่า ผู้พัฒนายาหม่องตราเสือ ย้ายธุรกิจจากพม่ามายังสิงคโปร์ในปี 1926 สถานที่ตั้งของสวนซึ่งในตอนนั้นอยู่หน้าเนินเขาเล็ก หันหน้าออกสู่ช่องแคบสิงคโปร์ ถือว่าถูกต้องตามศาสตร์ฮวงจุ้ย[2] ที่ดินดังกล่าวถูกซื้อในปี 1935 และเริ่มการก่อสร้างฮ้อป่าวิลลาในระยะเวลาสองปี[5] ออกแบบโดยหอ กว่อง ยู ด้วยศิลปกรรมแบบอาร์ตเดโก[5][6] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สวนถูกญี่ปุ่นทิ้งระเบิด[7] และเข้ายึดครอง[6] ก่อนจะถูกรื้อถอนหลังสงครามสิ้นสุด[6] ระหว่างปี 1937 จนเสียชีวิตในปี 1954 บุ๋น หอ ได้จ้างช่างสร้างรูปปั้นและฉากจำลแงในสวนที่จะใช้สอนคุณค่าแบบจีนธรรมเนียม[2] ผู้ใหญ่ชาวสิงคโปร์จำนวนมากในผลการสำรวจปี 1995 ระบุว่ามีความทรงจำเคยมายังฮ้อป่าวิลลาเมื่อตอนตนเป็นเด็กและได้เรียนรู้เรื่องราววัฒนธรรมจีนและจริยศาสตร์จีน[2]

ในทศวรรษ 1980 กรมการท่องเที่ยวสิงคโปร์เริ่มทำการฟื้นฟูสวนในฐานะส่วนหนึ่งของการผลักดันสิงคโปร์ในฐานะจุดหมายปลายทาง “ความปริศนาของโลกตะวันออก” (oriental mystique) ซึ่งดำเนินไปพร้อมกับการฟื้นฟูย่านไชนาทาวน์ และ ลิตเติลอินเดีย[2] ในปี 1988 กรมการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนชื่อสวนจากสวนไทเกอร์บาล์มซึ่งตั้งชื่อตามผลิตภัณฑ์ยาหม่องตราเสือ เป็นชื่อ "โลกมังกรฮ้อป่าวิลลา" โดย หอ ป่า มาจากชื่อพี่น้องตระกูลอ๋อ และยังมีความหายถึงเสือโคร่งและเสือดาว ตามลำดับ[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lin, Melissa (2015-09-27). "Haw Par Villa looks set for another makeover". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Teo, Peggy; Yeoh, Brenda S.A. (1997-01-01). "Remaking local heritage for tourism". Annals of Tourism Research (ภาษาอังกฤษ). 24 (1): 192–213. doi:10.1016/S0160-7383(96)00054-0. ISSN 0160-7383.
  3. Raguraman, Anjali (2016-05-16). "Haw Par Villa launches adventure game to attract young visitors". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
  4. Zaccheus, Melody (2017-10-28). "Peep into Haw Par Villa's death museum". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
  5. 5.0 5.1 "HOUSE-WARMING BY AW BROTHERS". eresources.nlb.gov.sg (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Why Tiger Balm is the secret behind this Singapore theme park". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  7. "Conservation Portal -". www.ura.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  8. "Tiger Balm Gardens". National Library Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Haw Par Villa