ยาหม่องตราเสือ
ยาหม่องตราเสือ (จีน: 虎標萬金油; พินอิน: Hǔbiao Wànjīnyóu; เป่อ่วยยี: Hó͘-phiau Bān-kim-iû; Tiger Balm) เป็นยาหม่องแก้ปวดชนิดร้อน ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ ฮ้อป่าเฮลธ์แคร์ ใช้งานสำหรับแก้ปวดภายนอก
ประวัติศาสตร์
[แก้]ผลิตภัณฑ์เดิมก่อนที่จะเป็นยาหม่องตราเสือ มีชื่อว่า บันกิมอิ๋ว (Ban Kin Yu; จีน: 萬金油; แปลตรงตัว: "น้ำมันหมื่นทอง") ซึ่งพัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1870 ในย่างกุ้ง แคว้นพม่าในอาณานิคมอังกฤษ โดยหมอยาสมุนไพร อ๋อ ชู่ คิม[1] บุตรของหมอยาสมุนไพรชาวฮักกาจากจงชวน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน[2] เขาถูกบิดาส่งมาย่างกุ้งในคริสต์ทศวรรษ 1860 เพื่อช่วยงานในร้านยาสมุนไพรของลุง อ๋อ ชู่ คิม ต่อมาได้ก่อตั้งบริษัท อิ๊ง อัน ต๋อง (Eng Aun Tong 永安堂; "โถงแห่งสันติสุขนิรันดร์") เมื่อกำลังจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1908 เขาได้ขอให้บุตรทั้งสอง อ๋อ บุ๋น หอ และ อ๋อ บุ๋น ป่า พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้จนสมบูรณ์แบบ ในปี ค.ศ. 1918 ได้เปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์เป็น "ยาหม่องตราเสือ" เพื่อให้เป็นที่นิยมในวงกว้างขึ้น[2] ภายในปี ค.ศ. 1918 ตระกูลอ๋อได้กลายมาเป็นหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในย่างกุ้ง[3] และภายในคริสต์ทศวรรษ 1920 พี่น้องคู่นี้ได้ผลักดันบริษัท อึ๊ง อัน ต๋อง จนกลายมาเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ผลิตและวางายผลิตภัณฑ์ยาซึ่งรวมถึงยาหม่องตราเสือด้วย[4] ยาหม่องตราเสือขายดีในพม่า รวมถึงส่งออกไปจำหน่ายในจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]
พี่น้องอ๋อได้ย้ายมายังสิงคโปร์ในคริสต์ทศวรรษ 1920 เนื่องจากปัญหากับรัฐบาลเจ้าอาณานิคมอังกฤษ[5] และเปิดสาขาแรกบนถนนอาโมย ก่อนย้ายไปถนนเซซิล และยังอาคารเลขที่ 89 ถนนนีล ตระกูลอ๋อยังก่อตั้งสวนไทเกอร์บาล์มขึ้นในฮ่องกง สิงคโปร์ และที่มณฑลฝูเจี้ยนในจีน ในปี ค.ศ. 1935, 1937 และ 1946 ตามลำดับ[6] เพื่อใช้สนับสนุนการขายผลิตภัณฑ์ บุ๋น หอ ยังก่อตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นในจีนกับสิงคโปร์ ลูกสาวของเขาเคยกล่าวว่าบิดาเสียเงินโฆษณาไปเยอะมากจนถึงขั้นที่ "เขาคิดว่าการเปิดหนังสือพิมพ์เองสักสองสามหัวน่าจะประหยัดกว่า"[7]
ณ ปี ค.ศ. 2018 ยาหม่องตราเสือผลิตสินค้า 10 ชนิดในชื่อการค้าของตราเสือ[8] วางจำหน่ายในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก[9] และมีรายได้ S$152 ล้าน (US$110.56 ล้าน) ณ ปี ค.ศ. 2015[10] โดยยอดขายในอินเดียประเทศเดียวอยู่ที่ ₹85 โคร (US$12.43 ล้าน) ณ ปี ค.ศ. 2018[11] ยาหม่องตราเสือในประเทศอินเดียผลิตในเมืองไฮเดอราบัด[12] และวางขายโดยอัลเคมแลบอราทอรีส์[13]
ส่วนประกอบ
[แก้]ส่วนประกอบ | สูตรสีแดง[14] | สูตรสีขาว[15] |
---|---|---|
เมนทอล | 10% | 8% |
การบูร | 11% หรือ 25% | 11% หรือ 25% |
น้ำมันมินต์ | 6% | 16% |
น้ำมันเขียว | 7% | 13% |
น้ำมันกานพลู | 5% | 1.5% |
องค์ประกอบส่วนที่เหลือของทั้งสองสูตรคือเยลลีปิโตรเลียม และ พาราฟีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Marks, Ben (2016-06-29). "Singapore's Beloved and Creepy Wonderland, Built on the Healing Powers of Tiger Balm". Collectors Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ 2.0 2.1 Seng, Alan Teh Leam (2020-01-28). "Tiger balm, the panacea for all ills". New Straits Times. Kuala Lumpur. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ Ting, Kennie (2019). "Advertisement signboard for Tiger Balm Ten Thousand Golden Oil, Singapore, c. 1970s" (PDF). Cultural Connections. Culture Academy Singapore. 4: 58. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ Huang, Jianli; Hong, Lysa (2006-12-11). "Chinese Diasporic Culture and National Identity: The Taming of the Tiger Balm Gardens in Singapore". Modern Asian Studies. Cambridge University Press. 41 (1): 47. doi:10.1017/S0026749X05002349.
- ↑ 5.0 5.1 Pwint, Zon Pann (2019-11-15). "Tiger Balm – from Yangon to the world". Myanmar Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ Ford, Peter (2018-09-07). "Why Tiger Balm is the secret behind this Singapore theme park". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ Berfield, Susan (1999-02-12). "Fall of the House of Aw". Asiaweek. Time Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10.
- ↑ DeWolf, Christopher (2018-02-17). "The Tiger Balm story: how ointment for every ailment was created, fell out of favour, then found new generation of users". South China Morning Post. Alibaba Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ Singh, Rajiv (2018-02-25). "Can iconic Tiger Balm makers be third-time lucky in India?". The Economic Times. Bennett, Coleman & Co. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ "Tiger Balm: Roaring back to success" (PDF). Perspectives@SMU. Singapore Management University. 2016-05-25. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
- ↑ Tiwari, Ashish K (2018-02-14). "Tiger Balm-maker targets Rs 200 crore in India revenues". Daily News & Analysis. Diligent Media Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ Datta, Jyothi (2018-02-13). "A balm for smart-gadget users". The Hindu Business Line. Mumbai: The Hindu Group.
- ↑ "Alkem to market Tiger Balm range of products in India". The Financial Express. New Delhi: Indian Express Limited. Press Trust of India. 2017-02-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ "Tiger Balm Red - Summary of Product Characteristics". Electronic Medicines Compendium. Datapharm. 2020-03-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
- ↑ "Tiger Balm White - Summary of Product Characteristics". Electronic Medicines Compendium. Datapharm. 2021-04-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.